Category Archives: Posts in Thai / โพสต์ภาษาไทย

อุซเบกิสถาน => จาก Samarkand (ซาร์มาคัน) ผ่าน Fergana Valley (เฟอร์กานา วัลเล่)

บล๊อคนี้อาจจะยาวหน่อย เพราะสะสมมาหลายวัน (อีกแล้ว) ขอสรุปตั้งแต่ปั่นออกจากซาร์มาคันผ่านทางสวยเข้าจิสสัค Jizzakh – ปั่นหลงไปยางกิเยอ Yangiyer – เข้าเขตอุตสาหกรรมที่โอมาลึค Olmaliq – ผ่านเข้าไปเขตเฟอร์กานา วัลเล่ Fergana Valley เข้าเมืองโคคัน Kokand – อันเกรียน Angren และอดิจอน Adijon ที่มีภูเขาล้อมรอบ

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม เราได้ประทับตราออกจากประเทศอุซเบกิสถาน ผ่านชายแดนเข้าประเทศคีร์ซกิสถาน อุซเบกิสถานเป็นประเทศที่ยาวพอ ๆ กับสวีเดน พูดถึงเราและบาเทคเพื่อนคนโปแลนด์เป็นส่วนน้อยที่ปั่นจากชายแดนด้านตะวันตกตัดมาถึงชายแดนด้านตะวันออกผ่านเขต “เฟอร์กานา วัลเล่” ซึ่งเป็นเขตทีี่มีเรื่องการเมืองกระทบกระทั่งกันบ่อยเพราะเป็นเขตติดชายแดน เหมือนภาคใต้บ้านเรา และด้วยระยะทางทั้งหมดประมาณ 2000 กม. เราใช้เวลาปั่น 18 วัน (นับเองยังตกใจ เท่ากับเราปั่นกันวันละร้อยนิด ๆ) และพักอีก 10 วัน รวม 28 วันที่อยู่ในประเทศอุซเบกฯ นานพอ ๆ กับตอนที่ปั่นในตุรกีเลย เรื่องปั่นไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับเราถึงแม้ว่าจะร้อนขนาดไหน แต่เรื่องที่เราต้องหาโรงแรมเพื่อลงทะเบียนทุก ๆ 3 วันนี่สิ ทำให้เรารู้สึกตึงเครียด เพราะระยะทางตั้งแต่ชายแดนระหว่างคาซัคสถานและอุซเบกิสถาน เราต้องปั่นผ่านทะเลทรายประมาณ 500 กม. ปั่นภายใน 3 วัน กว่าจะถึงเมืองที่มีโรงแรมและที่มีใบอนุญาติลงทะเบียนให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ และอีกหลาย ๆ ครั้งที่เราต้องคอยเช็คและถามคนท้องถิ่นตลอดเวลาว่าเมืองนั้น ๆ มีโรงแรมมั้ย? ลงทะเบียนได้มั้ย? นี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้เราไม่รู้สึกผ่อนคลายกับการเดินทาง และอีกอย่างคือตำรวจและทหารที่นี่ขึ้นชื่อว่าคอร์รัปชั่นมาก ๆ ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราเป็นกังวลเวลาปั่นผ่านด่านตรวจ แต่เราก็ยังไม่เคยเจอตำรวจที่ไม่น่ารักนะ มีแค่ครั้งหนึ่งที่ต้องผ่านด่านของทหารในเขตเฟอร์กานา วัลเล่ มีทหารนายหนึ่งเห็นถุงมือปั่นจักรยานของเวช เขาทำท่าเหมือนขอดู แต่ดันจะลองใส่ จะบ้ารึ? มือเราเล็กนิดเดียว (ถ้าเปรียบเทียบกับมือเขา) ส่วนมือเจ้าทหารนั่นใหญ่อย่างกับใบลาน ตอนนั้นไม่สนละว่าใครเป็นใคร ดึงถุงมือกลับมาเลย นายนั่นยังบอกให้เราไปกินข้าวกันก่อนแล้วปั่นกลับมากางเต้นท์นอนแถวด่านก็ได้ เพราะเขามีสนามหญ้า เชอะ!! จ้างให้ก็ไม่กลับไปหรอก ไหนจะต้องปั่นย้อน แถมขึ้นเขาอีก และเราไม่คิดว่าที่นั่นจะปลอดภัยมากกว่าร้านน้ำชาร้านอาหารข้างทางได้หรอก!!! ถ้าถึงขนาดเอาถุงมืออันเล็กนิดเดียวไปลองใส่มีหวังได้ขอโน่นขอนี่ขอลองปั่นจักรยานของโจคิมแน่ถ้าเรากลับไป ทั้งทริปในอุซเบกฯ ก็มีแค่นายคนนี้แหละที่ทำให้เรารู้สึกไม่ค่อยดี

เวชคิดว่าเหตุการณ์เหล่านี้ สภาพอากาศและความตึงเครียดที่ทำให้เราฟิวส์ขาด พอหลังจากที่เราปั่นข้ามทะเลทรายที่คาซัคฯ 500 กว่าโล ปั่นกัน 5 วันครึ่ง ต่อด้วยทะเลทรายที่อุซเบกฯ เกือบ 500 โลปั่นกัน 3 วันเต็ม ๆ วันแรก 120 โล วันที่สอง 190 โล วันที่สาม 150 โล ที่ต้องปั่นภายใน 3 วันก็เพราะเรื่องลงทะเบียนอย่างที่เล่าให้ฟังข้างต้น ที่คาซัคฯเขาไม่เข้มงวดเท่าที่อุซเบกฯ หลังจากนั้นระยะทางที่ปั่นไปคีวา บูคารา ซาร์มาคัน ก็มีทะเลทรายมาคั่นรายการตามทางประมาณ 20-30 กม. เตือนความทรงจำบ่อย ๆ แต่เท่าที่ปั่นในทะเลทราย มีแต่ความร้อนเท่านั้นที่เตือนว่าเราปั่นอยู่ในทะเลทราย แต่สภาพแวดล้อมยังไม่ใช่ทะเลทรายอย่างที่เคยจินตนาการ อยากเห็นทะเลทรายที่มีแต่ทราย แต่เท่าที่ผ่านมาจะเห็นพุ่มไม้ ต้นไม้เตี้ย ๆ หวังว่าคงได้เห็นที่จีน

เป็นทะเลทรายผสมมีพุ่มไม้เล็ก ๆ คือยังไม่ใช่ทะเลทราย 100% มีแต่ความร้อนที่ทำให้รู้ว่ายังงัยมันก็คือทะเลทราย

เป็นทะเลทรายผสมมีพุ่มไม้เล็ก ๆ คือยังไม่ใช่ทะเลทราย 100% มีแต่ความร้อนที่ทำให้รู้ว่ายังงัยมันก็คือทะเลทราย

มาถึงคีวาเรายังมีสภาพที่ค่อนข้างโอเค พักตามที่เราเคยวางแผน ปั่นออกมาจากคีวาไปบูคารา มีทะเลทรายแซม ๆ บ้าง ร้อนสุด ๆ เพื่อนคนนิวซีแลนด์ไม่ไหวต้องโบกรถ ส่วนเราก็พยายามปั่นกันมาให้ถึงภายใน 3 วัน ที่บูคารานี่เอง เราเริ่มมีอาการหมดเรี่ยวหมดแรง ตั้งใจว่าจะพัก 3 วันแต่กลายเป็น 4 วันเพราะโจคิมเริ่มมีอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อ เขาเคยมีอาการอย่างนี้มาก่อนเมื่อตอนที่เรามาถึงบูคาเรสต์ แต่พอเริ่มปั่นอาการนั้นก็หายไป แต่วันนี้ที่บูคารา เราลองปั่นออกไปเผื่อว่าอาการจะหายไป อ่า…เปล่าค่ะ ยังเจ็บและเจ็บแบบต่อเนื่อง เราเลยปั่นกลับมาที่เกสต์เฮาส์ขออยู่ต่ออีกเพื่อดูอาการ และติดต่อกับเพื่อนทั้งสองคน สองคนนั้นแหละที่เคยเมลย์ไปถามเขาตอนที่เวชเจ็บหัวเข่า มีเพื่อนเป็นหมอก็ดีเช่นนี้แล สอบถามโดยตรงได้ 😉 ทั้งสองคนบอกให้พักผ่อน คาดว่ากล้ามเนื้อถูกใช้งานหนักไปหน่อย กินยาและเอาผ้าพันไว้คืนหนึ่ง ได้ผลนะ วันรุ่งขึ้นอาการดีขึ้นเยอะ แต่ยังรู้สึกตึง ๆ ที่กล้ามเนื้อส่วนนั้น เราพยายามจอดเพื่อยืดกล้ามเนื้อเหมือนคราวที่เวชเจ็บเข่า ครั้งนี้ก็เหมือนกัน แล้วเราก็สามารถดิ้นรนปั่นต้านลม ขึ้นเนิน สมบุกสมบันกับถนนที่แย่ ๆ เป็น 10 โล จนมาถึงซาร์มาคัน และที่ซาร์มาคันเราจะพักกัน 3 วัน แต่กลายเป็น 5 วัน เพราะเช้าวันที่จะออกเดินทางต่อท้องไส้โจคิมเริ่มปั่นป่วน เอ..ชักไม่ดี ส่วนเวชไม่รู้เป็นอะไร พอได้หยุดทีไรจะรู้สึกตัวบวม ๆ โดยเฉพาะขาและเท้า มันบวมเป่งเลยแหละ รู้สึกแน่น ๆ เหมือนมีใครมาเป่าลมเข้าไปที่เท้า นี่น่าจะเป็นสัญญาณเตือนเรา ว่าร่างกายเราเริ่มไม่ไหวอยากพักผ่อนมากขึ้นหรือเปล่า? แต่เรายังไม่สามารถพักนานได้ เพราะเรื่องวีซ่าที่เรามีเวลาจำกัดและไม่สามารถต่ออายุได้ จึงเปลี่ยนแผนการเดินทางใหม่ โดยค่อย ๆ ปั่นไม่รีบร้อน ออกกันเช้าหน่อย พักตอนที่ร้อนจัด ๆ และช่วงนี้คือเราเริ่มปั่นกันเองสองคน เพราะฉนั้นเราไม่ต้องคอยนัดกับใครหรือรอใครหรือตามใจใคร กลุ่มเราเริ่มแยกกันไปที่ซาร์มาคันนั่นเอง ทุกคนจะเดินทางต่อไปประเทศทาจิกิสถาน พาร์มีไฮเวย์ มีแต่บาเทคคนโปแลนด์ที่ปั่นล่วงหน้าไปก่อนเรา

จิสสัค (Jizzakh)

เส้นทางที่จะปั่นไปจิสสัค สวยมาก ได้ชมวิวทิวทัศน์ที่แปลกตาไป

เส้นทางที่จะปั่นไปจิสสัคส์ สวยมาก ได้ชมวิวทิวทัศน์ที่แปลกตาไป

กว่าเราจะร่ำลากับเพื่อน ๆ ที่ปั่นกันมานานกว่า 6-7 อาทิตย์ รู้สึกเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ช่วยเหลือกันช่วงที่ปั่นข้ามทะเลทราย เศร้านิด ๆ มีพบก็ต้องมีจาก เราติดต่อกันทางเมลย์เวลาที่ใครมีข้อมูลใหม่หรือเจอะเจอกับเพื่อนที่แยกย้ายกันไปก่อนหน้านี้ก็จะส่งข่าวบอกกัน และหวังว่าสักวันหนึ่งเราคงจะมาพบปะกันหลังจากจบทริป คงจำกันไม่ได้ถ้าไม่ได้ใส่ชุดสำหรับปั่นจักรยาน เพราะเสื้อผ้าที่เราปั่นนั้น ไม่ค่อยมีให้เปลี่ยนบ่อยนัก

เกือบจะ 11 โมงก็ได้เวลาออกจากเกสต์เฮาส์ แดดเริ่มร้อน ลมเริ่มแรง ดีที่แรงโจคิมกลับมาเหมือนเดิม เลยปล่อยให้ลากไป เพราะลมพัดแซกหน้ามาเลย เราค่อย ๆ ปั่นไปเรื่อย ๆ ปั่นมาได้แค่ 8 กม.แวะกินข้าวเที่ยง ยืดกล้ามเนื้อและดื่มน้ำ เวลาเราจอดเข้าไปที่ร้านซื้อน้ำสั่งอาหาร เราจะกลายเป็นตัวประหลาดไปทันที แล้วอีกสักพักคนก็กรูกันเข้ามา ถามคำถามเดิม ๆ ที่เราได้ยินมาตั้งแต่เข้าคาซัคสถานเลยว่า มาจากไหน จะไปไหน???? จากที่ไม่เข้าใจคำถาม จนเดากันออกว่าเขาหมายถึงอะไร 😉

คนตรงกลางคือแม่ค้า วัยรุ่นนะมี give me five ด้วยอ่ะ อายุน้อยกว่าเวช 2 ปีคนที่นี่เขาชอบถามเรื่องอายุกัน

คนตรงกลางคือแม่ค้า วัยรุ่นนะมี give me five ด้วยอ่ะ อายุน้อยกว่าเวช 2 ปีคนที่นี่เขาชอบถามเรื่องอายุกัน

มีช่วงหนึ่งที่เรากำลังปั่นขึ้นเนินที่ลาดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เห็นรถคันหนึ่งจอดอยู่ข้างทาง ทักทายกันโดยที่เราไม่หยุดจอด สักพักรถคันเดิมขับมาชลอข้าง ๆ เรา เมินเขามาทีนึงละเลยคุยกับเขาเสียหน่อย เนินนั้นก็ยังลาดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุยไปคุยมา ข้าพเจ้าเริ่มเหนื่อยนะเว้ย เลยเงียบไป เขาคงรู้เลยยื่นผลไม้มาให้ มือเดียวเลยรับมาได้ 2 ลูก แต่ 2 ลูกนี้ก็เพิ่มพลังให้เราปั่นไปได้อีกหน่อย

นักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย จอดคุยทักทายกัน

นักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย จอดคุยทักทายกัน

อีกครั้งหนึ่งที่ประทับใจมาก คือรถตู้ขับความเร็วปกติ แล้วมาชลอข้างเรา เขาไม่ได้ถามอะไรเลย แต่มีมือยื่นไอติมออกมา 2 ถ้วย เราปฏิเสธ ไม่อยากหยุดเพราะเริ่มมองหาที่พักกัน เขาตะโกนกลับมาว่านี่ซื้อมาให้ (เดาเอา) จ้า..ขอบคุณค่ะ พอเรารับไอติมมาแล้ว ก็เห็นว่ารถตู้กลับรถและขับกลับไป โห..นี่เขาตั้งใจซื้อไอติมมาให้เราโดยเฉพาะจริง ๆ หรือนี่ เหตุการณ์นี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นที่ตุรกี ทั้ง ๆ ที่คิดว่าคนตุรกีน่ารักสุด ๆ แล้วนะ เราชอบเวลาที่คนอุซเบกฯ ทักทายเราจากรถใหญ่รถตู้ โอเค..เขากดแตรเหมือนประเทศอื่น ๆ แต่การแสดงออกของเขามันทำให้เราสดชื่นและมีกำลังใจ เพราะหลังจากที่เขากดแตร เขาจะยกนิ้วให้ โบกมือให้ หรือไม่ก็เอามือประสานกันแล้วยกขึ้นเหนือหัวและยิ้มกว้าง ๆ ไปด้วย

ความเยือกเย็นของไอติมที่กำลังต้องการ

ความเยือกเย็นของไอติมที่กำลังต้องการ

เราเช็คแผนที่ในกูเกิ้ลมันบอกให้เราตรงขึ้นเขาไปเมืองจิสสัค แต่พอเราไปถึงตรงจุดนั้น เห็นป้ายบอกให้เลี้ยวขวาลอดใต้สะพานทางหลวงไปจิสสัค ว้าว..ดีใจ เพราะทางเขานั่นชันเชียวแหละ พอเลี้ยวเข้าเส้นทางไปจิสสัควิวเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เรียบแม่น้ำ มีภูเขาสองข้างทาง เราปั่นเข้าเมือง ปั่นเพลินเข้าผิดเส้นทางเลยหาโรงแรมที่นักปั่นชาวสวิสฯ เคยบอกให้มาพักไม่เจอ เราเข้ามาลึกไปหน่อย เลยมาเจออีกโรงแรมหนึ่ง ระดับ 3 ดาวในเมืองเล็ก ราคาแพงกว่านิดหน่อย ยิ่งพอมาเห็นห้อง ยิ่งรู้สึกพอใจ คุ้มจริง ๆ มีห้องน้ำที่ไม่เปียก น้ำไหลตามปกติ กระดาษทิชชู่นุ่ม ๆ มีสบู่ยาสระผมให้ แถมมีทีวีที่มีช่องภาษาอังกฤษด้วย วันนั้นเราเลยได้ฟังรายงานข่าวเกี่ยวกับ ”สโนเดน” ที่ออกมาแฉความลับของเมกา ขณะที่เขียนอยู่ยังคงติดค้างอยู่ในสนามบินที่รัสเซีย รายงานซ้ำไปซ้ำมา ปิดไปดีกว่า

ด้านในโรงแรมสามดาว แทบจะไม่อยากจะออกจากห้องกันเลย

ด้านในโรงแรมสามดาว แทบจะไม่อยากจะออกจากห้องกันเลย

ยางกิเยอ (Yangiyer)

กินอาหารเช้าที่โรงแรมเสร็จเราก็ออกเดินทางต่อ ใช้เวลาอยู่เหมือนกันนะในการหาทางเข้า-ออกแต่ละเมือง หาทางถามทางกันมาเรื่อย ปั่นมาเจอตลาดศูนย์รวมทุกอย่างละมั้ง ถ้าไม่ติดอะไรไม่เคยคิดว่าจะจอดในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านเยอะแยะ ไม่ใช่ว่ากลัวอะไร แต่รู้ว่าหยุดเมื่อไหร่ ชาวบ้านก็จะเข้ามาทีละคนสองคนสามคน จนกระทั่งเราอยู่ในวงล้อมพวกเขา

”อุชเบกฯมุง” มุงคนประหลาด การปั่นจักรยานเป็นการเดินทางที่ค่อนข้างซอกแซก เราใช้เส้นทางเล็ก ๆ รอง ๆ ลงมา ทำให้เข้าถึงคนท้องถิ่นได้ง่าย

”อุชเบกฯมุง” มุงคนประหลาด การปั่นจักรยานเป็นการเดินทางที่ค่อนข้างซอกแซก เราใช้เส้นทางเล็ก ๆ รอง ๆ ลงมา ทำให้เข้าถึงคนท้องถิ่นได้ง่าย

ตรงนี้จำเป็นต้องหยุดเพื่อแลกเงิน ที่อุซเบกฯ นี่ถ้าเอาเงินไปแลกที่แบงค์จะได้น้อยกว่าที่ตลาดมืดตั้ง 30% เลยลองแวะเข้าไปถาม แลกไป 50 ดอลลาร์ ได้มา 135000 ซอม

ตรงนี้จำเป็นต้องหยุดเพื่อแลกเงิน ที่อุซเบกฯ นี่ถ้าเอาเงินไปแลกที่แบงค์จะได้น้อยกว่าที่ตลาดมืดตั้ง 30% เลยลองแวะเข้าไปถาม แลกไป 50 ดอลลาร์ ได้มา 135000 ซอม

ดูจากแผนที่ที่เราเช็คมา ปั่นบนทางหลวงน่าจะไวกว่าและถนนน่าจะดีกว่าถนนเส้นรอง พอเราเห็นป้ายให้เลี้ยวขวาไปเมืองกุลลิสตัน (Guliston) ที่เราตั้งใจไว้ อ้าว..เห็นป้ายบอกทางให้เลี้ยวเราก็เลี้ยวสิ แต่พอเลี้ยวปุ๊บ รู้สึกไม่แน่ใจขึ้นมาทันที ลองถามคนเขาก็บอกว่าใช่ อ้าว..ใช่ก็ไปต่อ ปั่นต่อมาก็เห็นป้ายบอกให้เลี้ยวซ้าย เลี้ยวปุ๊บถนนเริ่มแย่แต่ก็แค่ช่วงสั้น ๆ เราพลาดเลี้ยวซ้ายสุดท้าย เลยไปไม่ถึงเมืองกุลลิสตันที่ตั้งใจไว้ อ้อมไปเมืองยางกิเยอแทน 50 กว่าโล หงุดหงิด เพราะเราเคยคุยกันว่าถ้ามีเวลาเราอาจจะปั่นเลยเมืองกุลลิสตันไปเพื่อให้ได้ระยะทาง ช่วงนี้เราต้องเร่งนิดหน่อยเพราะเหลืออีกแค่ 7 วันก่อนที่วีซ่าจะหมดอายุ เราไม่อยากจะไปอยู่ที่ชายแดนระหว่างอุซเบกิสถานและคีร์ซกิสถานในวันที่มันหมดอายุพอดี เผื่อไว้หน่อย เกิดเหตุขัดข้องจะได้มีเวลาเหลือ

ในแผนที่มีหลายเส้นทางที่สามารถปั่นไปเมืองกุลลิสตัน คือเมืองที่อยู่มุมขวามือของแผนที่

ในแผนที่มีหลายเส้นทางที่สามารถปั่นไปเมืองกุลลิสตัน คือเมืองที่อยู่มุมขวามือของแผนที่

พอปั่นออกมาจากถนนเส้นรองจะเข้าถนนใหญ่ เราเห็นรถยนต์จอดอยู่ข้างทางเลยคิดว่าไปถามดูหน่อยว่าอีกกี่กิโลถึงเมืองกุลลิสตัน เพราะถ้าไม่ไกลมาก เราอาจจะฮึดขึ้นมาแล้วปั่นต่อไปอีกหน่อย แต่พอเข้าไปใกล้อีกหน่อย ปรากฎว่าที่เบาะหลังรถ เห็นผู้หญิงกำลังก้มหน้าก้มตาจุ๊บ ๆ กับผู้ชายที่เธอนั่งอยู่บนตัก อ้าว..เวรกรรม ท่าจะไม่ดี ไม่อยากไปเป็นก้างขวางคอเขา เลยปั่นต่อไป นี่ถ้าไม่เริ่มเย็นจะไปนั่งแอบดูอยู่อีกฝั่งหนึ่ง เรามีกล้องส่องทางไกลมาด้วยนิ มีประโยชน์ก็ตอนนี้ เฮ้อ..แต่ก็ไม่ได้ใช้อยู่ดี อิอิ ปั่นต่อไปขึ้นสะพานแยกเข้าถนนใหญ่ เห็นมีอีกคันหนึ่งแต่คันนี้จอดลึกเข้าไปจากข้างทางหน่อย ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ว่าในรถนั้นมีกิจกรรมเหมือนกับคนแรกหรือเปล่า ไม่รู้ว่าเป็นหนุ่มสาวที่ไม่สามารถหาที่ที่เป็นส่วนตัวได้หรือแอบใครที่บ้านมามีอะไรกับใครคนอื่น!!! แหม…เกือบได้ดูหนังสดสะแล้ว

อีกด้านหนึ่งของสะพานนี่คือที่ที่เราเห็นรถยนต์จอดอยู่ข้างทางที่กำลังทำกิจกรรมกันอยู่

อีกด้านหนึ่งของสะพานนี่คือที่ที่เราเห็นรถยนต์จอดอยู่ข้างทางที่กำลังทำกิจกรรมกันอยู่

ปั่นมาเจอด่านตำรวจ ทักทายกันพยายามเป็นมิตรกับเขาหน่อย ถามเขาเรื่องโรงแรม ตำรวจว่าปั่นไปอีก 3 กม.เลี้ยวขวาก็ถึง โอเค.. 3 โลก็ไม่ไกลเท่าไหร่ ปั่นไปตามที่เขาบอก ไม่เห็นมีโรงแรม ถามที่ร้านอาหารตรงหัวมุม เขาพูดภาษาอังกฤษได้และบอกว่าปั่นไปอีกหน่อย เฮ้อ..หลายหน่อยแล้วนะ ชักหงุหงิ ต้องปั่นไปอีกตั้งหลายโลกว่าจะถึง แถมหายากอีก เฮ่อ..กว่าจะถึง เวชเข้าไปคุยกับเจ้าของ เขาว่าคนละ 10 ดอลลาร์ พอเราอาบน้ำแต่งตัวเสร็จจะออกไปกินข้าว เด็กที่ร้านอาหารที่เราถามทาง เขามารับเราไปกินข้าวร้านเขา แต่โดนเจ้าของที่พักไล่ตะเพิดไป เราก็ไม่รู้ว่าเขาคุยอะไรกัน เหนื่อยก็เหนื่อย ไม่อยากยุ่งด้วย เจ้าของที่พักเขากลับมาบอกเราว่าให้เราอยู่ฟรีแต่ต้องไปกินอาหารที่ร้านเขา โอเค ๆ ไม่มีปัญหา เราก็ขี้เกียจเดินไกลอยู่แล้ว ตกลงเราจ่ายค่าอาหารแค่ 10 ดอลลาร์ลดไปครึ่งหนึ่ง ค่อนข้างแพงแต่ถ้าไม่ต้องจ่ายค่าห้องก็โอเค ดีเหมือนกัน เจ้าของที่พักนี่เขามีญาติที่ย้ายไปอยู่ที่อิสราเอล โชคดีของเราที่ตอนนั้นเขาอยู่ด้วยพูดภาษาอังกฤษได้คล่องมาก เขาช่วยเราสั่งอาหาร เพราะเมนูเป็นภาษารัสเซีย แต่อาหารของอุซเบกฯ ไม่ค่อยมีอะไรมาก หลัก ๆ คือ skrewer ชัสลิค คือเนื้อหมู เนื้อวัว ไก่เอามาเสียบเหล็กแล้วย่าง อีกจานคือ Lagman รัคมาน คล้าย ๆ ข้าวซอยบ้านเรา จานยอดนิยมอีกจานคือซอมซ่า Comsa คือกะหรี่ปั๊บบ้านเราแต่เอาไปอบแทน

โรงแรมโรซ่ามีอยู่ 4 ห้องแชร์ห้องน้ำ เราต้องยกจักรยานขึ้นไปตามบันไดนี่และอีกช่วงหนึ่ง เวลาพักตามโรงแรมจะเบื่อก็ตอนนี้แหละที่ต้องแบกทุกอย่างไปที่ห้อง

โรงแรมโรซ่ามีอยู่ 4 ห้องแชร์ห้องน้ำ เราต้องยกจักรยานขึ้นไปตามบันไดนี่และอีกช่วงหนึ่ง เวลาพักตามโรงแรมจะเบื่อก็ตอนนี้แหละที่ต้องแบกทุกอย่างไปที่ห้อง

โอมาลึค (Olmaliq)

เรากินขนมปังและครีมช๊อคโกแลตรองท้องก่อน คิดว่าจะไปกินที่ตลาด แต่มันอยู่อีกฝั่งหนึ่ง ขี้เกียจข้ามถนน กว้างด้วย เลยปั่นเลยไปจนมาเจอร้านขายของข้างทางริมทางรถไฟ เหมือนเมืองไทยเลย กินเสร็จเขาเอาไอติมมาให้กินฟรีอีก น่ารักจริง ๆ

ร้านข้างทางริมทางรถไฟ

ร้านข้างทางริมทางรถไฟ

วันนี้ร้อนมาก เส้นทางระหว่างยางกิเยอและโอมาลึคไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยสักเท่าไหร่ ปั่นมาเรื่อย ๆ กำลังจะหมดหวังก็มาเจอร้านข้างถนนนี่ ที่เขาทำไอรันขาย (ไอรันคือส่วนผสมของโยเกิร์ตครึ่งหนึ่งและน้ำครึ่งหนึ่ง ใส่เกลือนิดหน่อย ที่อุซเบกฯ บางทีเขาใส่เครื่องเทศเช่น ดิล กลิ่นฉุน ๆ) และที่ตรงนั้นมีน้ำไหลมาจากภูเขาด้วยเลยพักกัน มีคนเดินทางผ่านแวะล้างหน้าล้างตากันที่แหล่งน้ำนี่ บ้างก็ซื้อนมเปรี้ยวที่เขาทำกันเองและเอามาวางขาย เราก็ฉวยโอกาสนี้ซักถุงมือถุงแขน เวลาที่ผ้าพวกนี้เปียก ปั่น ๆ ไปจะช่วยคลายร้อนได้ แต่มันแห้งเร็วมากเลยช่วงนี้

แวะล้างหน้าล้างตากัน น้ำเย็นเจี๊ยบเลย

แวะล้างหน้าล้างตากัน น้ำเย็นเจี๊ยบเลย

ปั่นมาถึงเมืองโอมาลึค (Olmaliq) เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่่ค่อนข้างใหญ่ มีกองของเสียจากโรงงานเป็นภูเขาเลย กว่าจะเข้ามาถึงใจกลางเมือง พอหาโรงแรมเจอก็แพง มีคนแนะนำไปอีกรร.นึง แต่ยิ่งแพงเข้าไปอีก เราเริ่มเหนื่อยและอยากพักเต็มที แพงก็แพง เราจ่ายไปคนละ 60000 ซอม 2 คนเป็น 120000 ซอม จ่ายขนาดนี้แต่ขอโทษในห้องน้ำไม่มีอะไรให้เลย หงุดหงิด ในห้องก็ไม่มีเน็ต ต้องลงไปที่ล๊อบบี้ อาหารเช้าก็ไม่มี วัยรุ่นเซ็งและหงุดหงิดมากมาย

โรงงานที่ตั้งอยู่นอกเมือง

โรงงานที่ตั้งอยู่นอกเมือง

อันเกรียน (Angren)

หนทางสู่เมืองนี้ไม่ง่ายเหมือนที่ผ่าน ๆ มา อากาศร้อนแน่นอน แต่มีทางชันที่เข้ามาเพิ่มรสชาติความลำบาก ช่วงเช้ายังมีเมฆมาบังแดดให้ แต่พอสายหน่อย ลมไม่มีแต่เมฆสามารถเคลื่อนที่หายไป หรือมันละลายไปใต้แสงอาทิตย์ ปั่นขึ้นเขาแดดเปรี้ยง ๆ ไม่มีลม หง่า…แทบ (อยาก) จะเป็นลม (เสียเอง) 😉 และก่อนที่ลมจะหมด ขอพักเติมพลังสักหน่อย ด้วยข้าวซอยแบบฉบับอุซเบกฯ มันเหมือนมาก เขาเรียกมันว่า รัคมาน (Lagman) เป็นอาหารที่เรากินบ่อยแต่จานนี้เป็นจานแรกที่เรารู้สึกว่ามันอร่อยที่สุดแถมเสริฟพร้อมพริกที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน อาจจะเป็นตำหรับเฉพาะของท้องถิ่นนี้

วิธีทำซอสใส่ในรัคมาน ที่เห็นแดง ๆ นั่นคือซอสมะเขือเทศเข้มข้น

วิธีทำซอสใส่ในรัคมาน ที่เห็นแดง ๆ นั่นคือซอสมะเขือเทศเข้มข้น

ดูหน้าตาสิ เหมือนข้าวซอยบ้านเรามั้ย? ถ้าได้เส้นก๋วยเตี๋ยวแฮนด์เมดที่ทอดกรอบ ๆ ละก็ใช่เลยล่ะ

ดูหน้าตาสิ เหมือนข้าวซอยบ้านเรามั้ย? ถ้าได้เส้นก๋วยเตี๋ยวแฮนด์เมดที่ทอดกรอบ ๆ ละก็ใช่เลยล่ะ

จากที่เราพักกิน ”ข้าวซอย” กันพักผ่อนรอแดดร่มออกเดินทางต่อประมาณสี่โมงเย็น ทางยังคงลาดขึ้นนิด ๆ อีกประมาณ 30 กม.เราจะต้องปั่นข้ามเขาลูกหนึ่ง ซึ่งความสูง 2206 เมตร

ชันจริงแต่วิวสวยมากจริง ๆ เช่นกัน คุ้มที่พยายามปั่นขึ้นไป

ชันจริงแต่วิวสวยมากจริง ๆ เช่นกัน คุ้มที่พยายามปั่นขึ้นไป

ชมวิวระหว่างทางจากเมืองอันเกรียนไปเมืองโคคันที่มีขุนเขาล้อมรอบ ช่วงนี้เราเริ่มเข้าเขตเฟอร์กานาวัลเล่

SONY DSC

SONY DSC

เหมือนปั่นอยู่บนเขาที่ภาคเหนือของไทยเลย

เหมือนปั่นอยู่บนเขาที่ภาคเหนือของไทยเลย

วิวจากร้านอาหารบนภูเขาที่เราขอเขานอนค้างคืน

วิวจากร้านอาหารบนภูเขาที่เราขอเขานอนค้างคืน

ที่นอนเรา สำหรับเวชยาวกำลังพอดี แต่สำหรับโจคิมต้องนอนตะแคงห่อตัวเพื่อให้อยู่ภายในที่นั่งนั่น

ที่นอนเรา สำหรับเวชยาวกำลังพอดี แต่สำหรับโจคิมต้องนอนตะแคงห่อตัวเพื่อให้อยู่ภายในที่นั่งนั่น

แวะร้านข้างทางซื้อนมเปรี้ยวที่แม่ทำแล้วให้ลูกออกมานั่งขาย

แวะร้านข้างทางซื้อนมเปรี้ยวที่แม่ทำแล้วให้ลูกออกมานั่งขาย

เป้าหมายต่อไปคืออีก 75 กม.ที่เมืองโคคัน

เป้าหมายต่อไปคืออีก 75 กม.ที่เมืองโคคัน

SONY DSC

SONY DSC

ขึ้นก็ใช้กำลังไปมาก ขาลงนี่สนุกมาก แซงรถใหญ่ ๆ มาตั้งหลายคัน หลังจากที่เขาแซงเราตอนขาขึ้น แวะกินอะไรก่อนเสียหน่อย บรรยากาศในร้านอาหาร แถบเอเชียกลางชอบนั่งกันแบบนี้

ขึ้นก็ใช้กำลังไปมาก ขาลงนี่สนุกมาก แซงรถใหญ่ ๆ มาตั้งหลายคัน หลังจากที่เขาแซงเราตอนขาขึ้น แวะกินอะไรก่อนเสียหน่อย บรรยากาศในร้านอาหาร แถบเอเชียกลางชอบนั่งกันแบบนี้

ลงจากเขามาก็เข้าเมืองโคคัน บางครั้งมีความรู้สึกว่าเราเข้าเมืองแต่เราไม่มีแรงที่จะออกไปดูอะไรในเมือง เพราะกว่าจะเช็คอิน เอากระเป๋าขึ้นห้อง พักผ่อน อาบน้ำ พอพร้อมที่จะออกไปข้างนอกหาอะไรกินกันก็ค่ำ ทุกอย่างปิดหมดแล้ว ยังดีที่ร้านอาหารไม่ปิดเร็ว มันน่าจะกลับกันนะ ว่าร้านอาหารปิดเร็ว ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวปิดดึก 😉 ทีนี้ก็อดทั้งสองอย่าง 🙂

หลังจากที่เราเช็คอินแล้ว เด็กที่เคาน์เตอร์บอกเราว่าวันรุ่งขึ้นเราจะได้สลิปลงทะเบียนจากโรงแรม ได้!! แต่ 7 โมงเช้านะ ห้ามสายกว่านี้ ไม่อย่างนั้นเราลำบากเพราะอากาศเริ่มร้อน พอเราลงมา 7 โมงเป๊ะ โน..ไม่มีสลิป ไม่มีตราประทับเพราะเจ้าของเอาเก็บล๊อคไว้ในตู้ เด็กคนเดิมบอกว่า ”ขอโทษ..ผมลืม” ได้ให้อภัย แต่จัดการเร็วหน่อย เอ..มันไม่เกิดอะไรขึ้นเลยนะ นี่คืออาการที่หลังจากถูกรัสเซียควบคุม เป็นคอมมิวนิสต์มานาน การให้บริการเป็นอะไรที่ใหม่สำหรับเขา จากที่พูดกับเขาเย็น ๆ เนิบ ๆ จนเริ่มทนไม่ไหว ต้องขึ้นเสียง นั่นแหละถึงจะเห็นความแตกต่าง เริ่มวิ่ง นี่ถ้าไอ่สลิปนี่ไม่จำเป็น เราไม่รอเด็ดขาด เสียเวลาไปตั้งชั่วโมงเศษ เราต้องปั่นประมาณ 120 กม.กว่าจะถึงชายแดน ฮึ่ม..อยากจะบีบคอทั้งไอ่เด็กคนนั้นและเจ้าของเลย เพราะท่าทางที่เขาเดินมาหาตราประทับนั่น ไม่แสดงอาการเร่งรีบใด ๆ เลย น่าบีบคอมั้ยล่ะ???

โมโหไปก็เท่านั้นแหละเนอะ เสียสุขภาพจิตเปล่า ๆ ข้าวเช้าก็ยังไม่ได้กินปั่นออกมาได้หน่อย พอรู้ว่าจะไปทางไหนแล้วก็เลยแวะกินชาและขนมปังกันก่อน

นี่คือบรรยากาศร้านอาหารข้างทางนอกเมืองหน่อย

นี่คือบรรยากาศร้านอาหารข้างทางนอกเมืองหน่อย

เม่ือคืนเราตัดสินใจปั่นเป็นเส้นตรงจากโคคันไปอดิจอน (Adijan) จะสั้นกว่าปั่นผ่านเมืองเฟอกาน่า ตั้งอยู่ทางใต้ของเส้นทางที่เราตัดตรง แต่ทางค่อนข้างน่าเบื่อเท่านั้นเอง ได้ยินมาว่าเมืองเฟอร์กานาสวย เวลาเราเหลือน้อยลง ต้องเก็บไว้โอกาสหน้า เราอยากกลับมาเที่ยวแถวนี้อีก เพราะชอบคนแถบนี้นะ รู้สึกว่าจะใจดีกว่าภูมิภาคอื่น วันนี้ทำควมเร็วได้ดีหน่อย เฉลี่ยประมาณ 23 กม./ชม. เส้นทางตรงสะไม่มี ปั่นจนง่วงตาจะปิดเลย

เราเลือกที่จะปั่นตรง แทนที่จะปั่นผ่านเมืองเฟอร์กานาที่อยู่ด้านล่างเส้นทางที่เราเลือก เพราะต้องการประหยัดเวลาและพลังงาน ;-)

เราเลือกที่จะปั่นตรง แทนที่จะปั่นผ่านเมืองเฟอร์กานาที่อยู่ด้านล่างเส้นทางที่เราเลือก เพราะต้องการประหยัดเวลาและพลังงาน 😉

2-3 วันนี้ร้อนมาก เหงื่อแตกเหมือนเส้นแสดงแม่น้ำในแผนที่เลย ไหลเป็นทาง แถมไหลเข้าตาอีก อืม… ข้างเดียวยังพอทำเนา ถ้าทั้งสองข้างนี่ต้องจอดเลย แสบตา กระพริบยังงัยก็ไม่หายแสบ บางครั้งร้อนมาก ๆ จนขนลุก แปลก!!! มานึกเปรียบเทียบกับตอนที่ปั่นในพายุหิมะแถวฮังการี, โรมาเนียและบัลแกเลีย ที่หนาวจนนิ้วมือนิ้วเท้าชาไปหมด เคยรู้สึกว่าจมูกเต้นได้้ด้วย 🙂 เพราะชีพจรมาเต้นอยู่ตรงปลายจมูกนั้น รู้สึกแปลก ๆ ดี อยู่สวีเดนหนาว ๆ ยังไม่เคยลิ้มรสความรู้สึกนี้เลย

เราปั่นผ่านตลาดนัด น่าจะเป็นตลาดนัดแตงโม แคนตาลูปนะ เพราะเห็นรถแต่ละคันที่แซงเราไปมีแต่แตงโมเต็มรถเต็มหลังคาไปหมด มีรถตู้คันหนึ่งขับช้า ๆ คุยกับเรา บางคันเราพยายามบอกว่าเราไม่เข้าใจภาษา เขาก็พยายามอีกหน่อย แล้วก็บ๊ายบายกันไปแต่คันนี้พยายามอย่างเยอะ ส่วนใหญ่เราไม่จอดคุย เราจะปั่นไปคุยไป ไม่อย่างนั้นคงไปไม่ถึงไหนแน่ เพราะไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมาที่นี่สักเท่าไหร่พวกเขาเลยตื่นเต้นเวลาเห็นพวกเรา ก็เพราะรัฐบาลเขานั่นแหละที่ทำเรื่องยุ่งยากเกี่ยวกับการลงทะเบียนเข้าพักตามโรงแรมทุก ๆ 3 วัน มิเช่นนั้นจะถูกปรับ ไม่แน่ใจว่าเท่าไหร่ แต่มากโขอยู่

คันนี้เป็นคันแรกที่เข้ามาคุยกับเวชก่อนที่จะขับไปหาโจคิม

คันนี้เป็นคันแรกที่เข้ามาคุยกับเวชก่อนที่จะขับไปหาโจคิม

เมื่อวันสุดท้ายที่อดิจอน เรายังได้ทำความรู้จักกับครอบครัวหนึ่งมีคุณปู่และหลานชายออกมาเดินเล่นตอนเย็นกัน เดินมาเจอเราตอนที่เราจะไปขอนอนค้างคืนที่ร้านอาหารข้างทาง เขาเข้ามานั่งคุย เจ้าเด็กน้อยอายุแค่ 12 ปีแต่พูดภาษาอังกฤษได้คล่อง เขาอยากฝึกพูดภาษาอังกฤษ เลยนั่งคุยอยู่กับเราจนดึกไม่ยอมกลับบ้าน จนเราไม่สามารถปกปิดความง่วงและเพลียได้ เขาเลยขอตัวกลับไป คุณปู่รู้จักกับเจ้าของร้านเป็นอย่างดี เราตั้งใจว่าจะขอนอนตรงที่เรานั่งกินอาหารนั่นแหละ แต่เจ้าของร้านชี้ไปที่ห้องส่วนตัวอีกมุมหนึ่งแล้วบอกให้คุณปู่พาไปดูห้องนอน ห้องน้ำ แกบอกว่าดูไม่น่าสะดวกนะ ไปนอนบ้านเขาดีกว่ามั้ย เราก็เกรงใจที่ร้าน ขอเขาไว้แล้วเลยไม่อยากจะเปลี่ยนที่ ถ้าอย่างนั้นพรุ่งนี้เช้าแกจะมาบอกลาเราตอน 7 โมงเช้า น่ารักจริง ๆ 7 โมงกว่า ๆ แกก็เดินมาแต่เจ้าเด็กน้อยตื่นไม่ไหว ชวนเราไปดื่มกาแฟที่บ้าน เราไม่ค่อยกล้าปฏิเสธ เพราะดูจากท่าทางที่แกถามเราดูแกก็เกรง ๆ ว่าเราจะไม่ไป วันนี้เราไม่รีบร้อน ไปเยี่ยมบ้านแกเสียหน่อย พอตอบตกลงปุ๊บหน้าตาแกเบิกบานอย่างเห็นได้ชัดเลย เกือบไปแล้ว เกือบทำให้คนแก่เสียใจ

คุณปู่คุณย่าและคุณแม่ของเจ้าตัวเล็ก 12 ขวบ

คุณปู่คุณย่าและคุณแม่ของเจ้าตัวเล็ก 12 ขวบ

พี่สาวอายุ 15 ปีส่วนพี่สาวอีกสองคนแต่งงานไปแล้ว อายุแค่ 21 เองแต่งแล้วและกำลังจะคลอดลูกด้วย ไวจริง ๆ

พี่สาวอายุ 15 ปีส่วนพี่สาวอีกสองคนแต่งงานไปแล้ว อายุแค่ 21 เองแต่งแล้วและกำลังจะคลอดลูกด้วย ไวจริง ๆ

อุซเบกิสถาน => จาก Bukhara (บุคารา) ไป Samarkand (ซาร์มาคัน)

จากบุคาราเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่เส้นทางสายใหม ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญที่กระจายอารยธรรมโบราณของจีนไปสู่ตะวันตก และเป็นสะพานเชื่อมในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับตะวันตกด้วย เริ่มรู้สึกว่าได้ปั่นเข้ามาในเส้นทางสายประวัติศาสตร์ก็ต่อเมื่อมาเห็นสุเหร่า มัสยิด โมเสกสีฟ้าตั้งตระหง่านตั้งแต่ที่คีวามาเลย ตื่นเต้นพอสมควร เหมือนได้เหยียบย่างเข้ามาในโลกของอลาดินนั่งพรมลอยฟ้า อืม..ยังเคยเห็นป้ายที่เขาเขียนไว้ที่ประตูทางเข้าร้านนะว่า “Flying carpet” นี่ถ้าไม่ได้ปั่นจักรยานมาจะซื้อแล้วเหาะกลับบ้านแทน 🙂

เมื่อเปรียบเทียบทะเลทรายที่คาซัคสถานและอุซเบกิสถาน คิดว่าวิวทิวทัศน์ที่คาซัคฯ ยังมีการเปลี่ยนแปลง คือมีเขาบ้าง ขึ้น ๆ ลง ๆ เล็กน้อย มีม้ามีอูฐให้เห็นประปราย ไม่รู้ว่าพวกมันมีเจ้าของหรือเปล่า? แต่ที่แย่คือถนนโดยเฉพาะเส้นที่เราปั่นผ่านกันมา คาซัคฯ ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่แพงที่สุดในเขตเอเชียกลางนี้เพราะเขาขุดน้ำมันได้ และเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าสเตปป์ ที่ราบทุ่งหญ้ากว้างที่ไม่มีต้นไม้และกินเนื้อที่ถึง 1 ใน 3 ส่วนของประเทศ

SONY DSC

ส่วนอุซเบกิสถานเป็นประเทศหนึ่งในสองที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลและถูกล้อมรอบทุกด้านถึงสองประเทศ ซึ่งมีผลต่อการค้าและการขนส่งที่ต้องพึ่งชายฝั่งของประเทศเพื่อนบ้านถึงสองแห่ง และอีกประเทศหนึ่งที่มีลักษณะเดียวกันคือ ประเทศลิกเตนสไตน์ Liechtenstein ส่วนทะเลทรายที่เราปั่นผ่านกันมามันดูน่าเบื่อมาก ราบเรียบ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นทรายปนต้นไม้มีหนามเตี้ย ๆ มันไม่เหมือนทะเลทรายในความคิดของเราที่มีแต่ทรายล้อมรอบ มีแต่ความร้อนที่เตือนเราให้รู้ว่านี่คือทะเลทราย ภูมิประเทศระหว่างบุคารากับซาร์มาคันมีช่วงหนึ่งที่เป็นทะเลทรายประมาณ 30-35 กม. และโดยส่วนใหญ่ร้านค้าข้างทางจะมีน้อยลงไปตามลำดับ เราตุนน้ำอย่างน้อย 2-3 ลิตร เจอร้านที่ไหนต้องซื้อเพิ่มและเติมจากที่ดื่มไป น้ำในขวดจากที่เย็น ๆ แต่พอปั่นไปสักพักที่เย็น ๆ กลายเป็นอุ่น มีเพื่อนชาวนิวซีแลนด์เอาถุงชาใส่ลงไปในขวดน้ำเลย เพราะมันอุ่นกำลังดื่มเลย 🙂 มีช่วงหนึ่งที่เราคิดว่าไม่ต้องแบกน้ำกันล่ะ แต่เผอิญว่าหาร้านขายของรายทางไม่เจอเลย ถาม ๆ กันว่าใครมีกี่ลิตรเหลือกันสักเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่เราจะถามหาที่นอนจากร้านขายของข้างทาง ถ้าหาไม่เจอก็ต้องกางเต้นท์กันและทำอาหารกันเองซึ่งต้องใช้น้ำ สรุปทุกคนมีน้ำพอ ๆ กัน ช่วย ๆ กันไป พอเรากางเต้นท์กินมื้อเย็นกันเสร็จมีเพื่อนเยอรมันคนหนึ่งบอกว่าเขามีไพ่มาด้วยนะถ้าอยากจะมีอะไรทำ เล่นกินเงินอุซเบกฯนี่แหละทีละ 1000 ซอม (ซอม = สกุลเงินของอุซเบกฯ) แต่เวชเสนอว่าใครแพ้จ่ายเป็นน้ำ 1 ถ้วยดีกว่า ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวว่า “ไม่เอามันแพงเกิน” 🙂 🙂

ผู้หญิงที่นี่เขาแต่งตัวกันสวยดีนะ อยากไปหาซื้อมาใส่บ้างจะได้ เข้าใจเลยว่าทำไมเขาถึงชอบใส่อะไรบาง ๆ บาน ๆ เพราะมันร้อน

ผู้หญิงที่นี่เขาแต่งตัวกันสวยดีนะ อยากไปหาซื้อมาใส่บ้างจะได้ เข้าใจเลยว่าทำไมเขาถึงชอบใส่อะไรบาง ๆ บาน ๆ เพราะมันร้อน

จากที่เราปั่นกันกลุ่มใหญ่ 7 คนจากเมืองบาคุที่ประเทศอัซเซอร์ไบจาน – ข้ามเรือแฟรี่มาอัคเทาที่คาซัคสถาน – (มาโกะจากสโลเวเนียแยกไปก่อน ก่อนที่จะเข้าอุซเบกิสถาน) – เราเหลือกัน 6 คน ปั่นผ่านทะเลทรายมาถึงนูกุสที่อุซเบกิสถานกลุ่มเราเริ่มแตกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือ เราสองคน, บาเทคจากโปแลนด์และไซมอนจากนิวซีแลนด์ กลุ่มที่สองคือซีมอนและโทมัสจากเยอรมัน เพราะสองคนนี้เขาชอบตื่นสาย ๆ เราแยกกัน 2 วัน และมาเจอกันอีกทีที่คีวา ระหว่างทางจากคีวา-บุคารา-ซาร์มาคัน เราปั่นกันสองกลุ่มจนมาเจอกันอีกทีที่ซาร์มาคัน ช่วงที่ปั่นในทะเลทรายเราช่วยเหลือกันดี ใครปั่นช้าใครมีปัญหาก็รอกัน แต่พอเริ่มเข้าสู่เขตที่มีคนอยู่หนาแน่นขึ้น จึงไม่มีความจำเป็นที่มารอกัน และต่างคนต่างหาลู่ทางหากลุ่มของตนเอง และเราเองก็อยากปั่นกันเองสองคนบ้าง โดยที่ไม่ต้องมาคอยถามหรือรอถามว่าจะพักตรงไหนจะจอดตรงไหนจะรอกันที่กม.ไหน

ก่อนออกเดินทางต่อก็ขอตุนขนมเสริมพลังงานเสียหน่อย เป็นพวกผลไม้ตากแห้ง ถั่วต่าง ๆ

ก่อนออกเดินทางต่อก็ขอตุนขนมเสริมพลังงานเสียหน่อย เป็นพวกผลไม้ตากแห้ง ถั่วต่าง ๆ

จากบุคารากลุ่มเริ่มแตกกระจาย บาเทคคนโปแลนด์ไปกับเพื่อนใหม่จากสวิสเซอร์แลนด์สองคน เราสองคนปั่นกันเอง ซีมอนกับโทมัสแยกกันปั่น ไซมอนปั่นคนเดียว บาเทคและเพื่อนใหม่ชาวสวิสฯ ปั่นกันช้าเลยเลือกที่จะปั่น 3 วันจากบุคาราไปซาร์มาคันในระยะทาง 268 กม. ส่วนเราสองคนคิดว่าถ้าเราเริ่มปั่นกันแต่เช้าน่าจะใช้เวลา 2 วัน จริง ๆ แล้วเราตั้งใจจะพักที่บุคารา 2 วันแต่เผอิญว่าโจคิมเกิดมีอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อต้นขา เคยเจ็บมาก่อนแต่พอเริ่มออกปั่นอาการก็หายไป แต่ครั้งนี้ถึงแม้ว่าจะยืดกล้ามเนื้อหรือปั่นช้าลงก็ยังเจ็บอยู่ เราเลยตัดสินใจปั่นกลับไปที่เกสต์เฮาส์และพักต่ออีกหนึ่งคืน และเริ่มติดต่อเพื่อนที่เป็นหมอ ซึ่งเขาลงความเห็นว่าควรพักผ่อน เอาผ้าพันกล้ามเนื้อตรงที่เจ็บและกินยาแก้ปวดน่าจะช่วยได้ วันรุ่งขึ้นโจคิมรู้สึกดีขึ้นเราเลยเริ่มปั่นกันช้า ๆ อุ่นเครื่องกันและคอยดูอาการ สักพักก็สามารถปั่นได้ความเร็วตามปกติ

เกสต์เฮาส์ที่บุคารา

เกสต์เฮาส์ที่บุคารา

ช่วงนี้เรามักจะลืมเช็คพยากรณ์อากาศ เช็คสักหน่อย เพราะเริ่มรู้สึกว่าลมแรงขึ้นเรื่อย ๆ ปรากฎว่าวันที่เราจะปั่นออกจากบุคาราจะทวนลมนิด ๆ แต่มันไม่นิดสักหน่อยเลย ยิ่งสายลมยิ่งแรง เนื่องจากความล้า ร้อนและลมแรง ทำให้เรายิ่งปั่นช้าลง จนกระทั่งมีรถแลนด์โลเวอร์มาจอดข้างหน้าเรา เราเลยจอดคุยกับเขา ได้น้ำเย็น ๆ ดื่ม ชื่นใจจริง ๆ เป็นคู่สามี-ภรรยาจากฝรั่งเศส หลังจากที่ปลดเกษียณแล้ว พวกเขาอยากท่องเที่ยวกลับไปออสเตรเลียที่เขาเคยทำงานมา 35 ปี และอยากทำก่อนที่จะไม่มีแรงหรือแรงกระตุ้น แต่ก่อนที่จะมาขับรถเที่ยวกันเขาก็เคยปั่นจักรยานท่องเที่ยวเหมือนเรา และนี่เป็นเหตุผลที่เขาอยากหยุดและคุยเกี่ยวกับทริปของเรา แถมยังชวนเราให้ไปเที่ยวบ้านเขาซึ่งอยู่ใกล้ ๆ ชายแดนสเปน แถบเทือกเขาพิเรนีส (Pyrenees) ถ้าเขายังไม่กลับจากท่องเที่ยวรอบโลก เราสามารถยืมบ้านเขาอยู่ได้อีกต่างหาก น่ารักจริง ๆ มีเรื่องให้คุยกันมากมายเราคุยกันเกือบชม.เลยต้องขอตัว ปั่นมาได้นิดหน่อย เจอด่านตำรวจ ตำรวจเรียกให้เข้าไปกินน้ำ วันนี้โชคดีได้ดื่มน้ำเย็น ๆ

สองสามีภรรยาชาวฝรั่งเศสขับแลนด์โลเวอร์จากฝรั่งเศสไปออสเตรเลีย

สองสามีภรรยาชาวฝรั่งเศสขับแลนด์โลเวอร์จากฝรั่งเศสไปออสเตรเลีย

ปั่นต่อมาได้สัก 90 กม. มาเจอเพื่อนคนเยอรมัน “ซีมอน” ซึ่งปั่นออกมาก่อน เขามานอนพักเอาแรงที่ร้านอาหารของโรงแรมที่สนามบินใกล้เมืองนาวอย หลังจากหลุดออกมาจากทะเลทรายในช่วงประมาณ 30 กม. ซึ่งร้อนและลมแรงมาก หมดแรงกันไปหมด ถ้าพักได้อยากจะพักกันเสียตรงนี้เลย แต่เราพยายามที่จะให้ถึงซาร์มาคันในอีกวันรุ่งขึ้น เพราะฉนั้นกัดฟันลุกขึ้นมาปั่นกันต่อไปอีกสัก 40 โล แต่เราหยุดพักกันนานไปหน่อย ปั่นได้ไม่มากเวลาเริ่มมืดเลยต้องมอง ๆ หาที่พักกัน ก็มาเจอจุดจอดพักรถใหญ่ มีห้องน้ำห้องอาบน้ำ มีชาให้ดื่ม เราเลือกที่จะนอนบนห้องเป็นการตอบแทนเขาหน่อย และเขาก็ให้ราคาพิเศษแก่เราสองคน 5 $ คืนนั้นก็นอนร้อน ๆ อีก ตามเคย อิจฉาเพื่อนคนเยอรมัน ที่นอนนอกตึกคงเย็นสบาย

ที่พักรถใหญ่ และส่วนใหญ่เราสามารถขออาศัยนอนได้

ที่พักรถใหญ่ และส่วนใหญ่เราสามารถขออาศัยนอนได้

วันแรกเราควรจะปั่นให้ได้สัก 130-140 กม. แต่เราทำได้แค่ 120 เพราะฉนั้นยังเหลืออีกประมาณ 140 กว่ากม. เราเลยตกลงกันว่าพรุ่งนี้ออกกันแต่เช้า ที่นี่สว่างตอนตีห้า เราควรจะออกปั่นตั้งแต่สว่าง เริ่มปั่นกันตอน 5:50 น. ทางไปซาร์มาคันมีสแงเส้นทาง คือทางหลวงและทางเก่า ตามธรรมดาเราขอบที่จะปั่นทางชนบท และลองถามคนท้องถิ่นดูว่าถนนดีมั้ย เขาว่าดี โอเค ถ้าดีเราก็ไปกัน เราแวะพักดื่มชากันแป๊บหนึ่ง เราเลี้ยวขวาเขาทางชนบท แรก ๆ ก็คิกว่าสนุกดีมีขึ้นเขาขึ้นเนินบ้าง ถนนช่วงแรกยังดีอยู่ ปั่น ๆ ไป ลมชักแรงขึ้นเรื่อย ๆ แถมพัดเอาลมร้อน ๆ มาอืกต่างหาก ขึ้นเนินแถมต้านลมนี่เป็นส่วนผสมที่ไม่ค่อยน่าอภิรมณ์เลย พอขึ้นมาถึงยอดของเนินหนึ่งเห็นเขาขายแตงโม เวลาก็ใกล้เที่ยงเลยจอดแวะหาอะไรกินกัน ร้านที่เห็นจากไกล ๆ นั่นเป็นปั้มน้ำมันและไม่มีอะไรขายด้วย เราเลยย้ายไปนั่งใต้ต้นไม้กัน ซื้อแคนตาลูปมากิน คนที่อยู่ที่ปั้มเดินเอามะเขือเทศและแตงกวามาให้ คิดว่าจะพักหลบร้อนและเอนหลังกันเสียหน่อย พอคิดว่าได้เวลาลมก็ยิ่งพัดแรงกว่าเดิม เห็นร่มอันใหญ่ที่เขากางไว้ตรงที่ขายของ เอียงไปอีกด้านหนึ่ง เลยตัดสินใจรออีกหน่อยจะดีกว่า ตอนนั้นเราปั่นมาได้ 90 กม.ยังเหลืออีก 65 กม.ตามที่เขาบอก ลมเริ่มอ่อนแรงแต่ก็ยังพอมีลมกระโชกอยู่บ้าง ถ้ามีเวลาคงนอนรอต่อ ไปดีกว่าจะได้ไปเจอเพื่อน ๆ ที่น่าจะถึงที่หมายกันแล้ว

เรานอนพักกันที่นี่ รอให้ลมอ่อนแรง ถัดไปทางซ้ายมือมีสายยางน้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลตลอด บางครั้งรู้สึกเสียดายน้ำที่เขาปล่อยให้มันไหลทิ้งไปเฉย ๆ แต่ก็เห็นรถบรรทุกน้ำมาลองน้ำใส่แท้งส์ รถยนต์แวะจอดเติมน้ำใส่ขวด รถบรรทุกมาลองน้ำแล้วราดลงที่เครื่องยนต์เพื่อให้มันคลายร้อน

เรานอนพักกันที่นี่ รอให้ลมอ่อนแรง ถัดไปทางซ้ายมือมีสายยางน้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลตลอด บางครั้งรู้สึกเสียดายน้ำที่เขาปล่อยให้มันไหลทิ้งไปเฉย ๆ แต่ก็เห็นรถบรรทุกน้ำมาลองน้ำใส่แท้งส์ รถยนต์แวะจอดเติมน้ำใส่ขวด รถบรรทุกมาลองน้ำแล้วราดลงที่เครื่องยนต์เพื่อให้มันคลายร้อน

ออกมาจากตรงที่นอนพักได้หน่อย ถนนเริ่มแย่รถเริ่มมากขึ้น ไม่เพียงแต่เราเท่านั้นที่พยายามหลบหลีกถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ พวกรถยนต์ก็เช่นกัน เราจึงต้องระวังทั้งหลุมทั้งรถ ช่วง 10 กว่าโลในสภาพแบบนี้รู้สึกเมื่อย ๆ ข้อมือเลย เกร็งมากไปหน่อย และช่วงนี้เองที่ทำให้เรารู้สึกว่าไม่น่าเลือกเส้นทางเก่า จริง ๆ วิวทิวทัศน์น่าดูอยู่ (ได้เงยหน้าขึ้นมาชมบ้างในบางครั้งที่โอกาสอำนวย) ถ้าถนนดีหรือลมไม่แรงนัก เคยคิดว่าจะโบกรถด้วยถ้าถนนยังคงแย่แบบนี้แถมมีเนินเล็กเนินน้อย ทำให้เราปั่นได้แค่ 10 กม./ชม. อีกตั้ง 65 โล กว่าจะถึงคงดึกมืดสนิท พอเริ่มบ่นหนัก ๆ เข้าเหมือนรู้ว่าเราไม่อยากปั่นแล้วนะ ถนนเริ่มเรียบสภาพดีขึ้น ปั่นได้เร็วขึ้นมาอีกหน่อย แต่ความร้อนยังคงร้อนสม่ำเสมอ สำหรับเราสองคนไม่มีปัญหาเรื่องนี้ แต่เพื่อนเราซิ “ซีมอน” ดูเขาอ่อนเปลี้ยเพลียแรงไปมาก ถึงขนาดไล่ให้เราไปก่อนไม่ต้องรอเขา จะทำได้อย่างไร ถ้าทิ้งเขาไว้เขาคงไม่มีแรงมาถึงซาร์มาคันวันนั้นแน่ เราเลยหยุดพักผ่อน 2 ครั้งแบบสั้น ๆ หลังจากเบรคครั้งล่าสุด อากาศเริ่มคลายร้อนมีลมพัดเย็น ๆ สดชื่น จึงเร่งเครื่องนิดหน่อย พอเห็นป้ายเมืองซาร์มาคัน เรายังต้องปั่นไปอีก 10 กว่าโล 🙁 และพอได้เห็นรอบนอกเมือง ก็ยังต้องปั่นไปอีก 5 โลกว่าจะถึงเกสต์เฮาส์ที่เรานัดกับเพื่อน ๆ ไว้ 🙁 🙁 จะไม่ไหวแล้วนะ แต่ในที่สุดเราก็มาถึงหน้าประตูเกสต์เฮาส์มืดพอดี สองทุ่มครึ่ง วันนี้เป็นวันแรกที่ปั่นกันถึง 9 ชม.ระยะทาง 155 กม. เพื่อนคนอื่นที่ปั่นกันมาถึงก่อนคงจะลุ้นกันน่าดูว่าเราอยู่ตรงไหนกัน พอเรามาถึงก็เฮกันเข้ามาถาม ช่วยเข็นช่วยแบกกระเป๋าให้ มันน่าดีใจตรงนี้แหละที่มีเพื่อนรอรับและเป็นห่วงเป็นใย สุดยอด 🙂 🙂

ในที่สุดก็มาถึงซาร์มาคัน แต่จากตรงนี้ต้องปั่นกันเข้าเมืองอีกสิบกว่าโล

ในที่สุดก็มาถึงซาร์มาคัน แต่จากตรงนี้ต้องปั่นกันเข้าเมืองอีกสิบกว่าโล

Toothpaste quiz

(ดูภาษาไทยข้างล่าง)

On April 10th we opened a new standard size (160 gram) tube of Sensodyne toothpaste. We didn’t know how long it would last and we thought it would be fun to let the followers of our blog guess. The award for the the best guess would be a postcard from the town where the tube finally got empty.

We got a number of predictions and first to drop out was Iain who guessed Samsun in Turkey. Then we passed a number of locations where our readers had guessed we would run out of toothpaste.

We have discussed among ourselves who we thought would be the lucky winner and if there would be any postcards for sale there. This problem is now solved since we today ran out of toothpaste in Uzbekistan’s most touristy town which is….

S A M A R K A N D

There were a few guesses in Uzbekistan and around but there was one guess that was spot on and that was made by Ryszard from Chelmno who predicted we would finish the tube in Samarkand.

Wej and Ryzsard outside the hotel where we stayed and where he works.

Wej and Ryzsard outside the hotel where we stayed and where he works.

Ryzsard works at the hotel in the little nice town of Chelmno in northern Poland and we met him briefly on March 3rd outside the hotel when we were about to leave and he was coming to work. We only had a short conversation for 3-4 minutes but have stayed in touch ever since. Ryszard is also one of the most ardent followers of our blog and has e-mailed us many questions and advices about the areas we are riding through. We remember that Ryzsard once told us both his family and his collegues follow this blog and Wej and I usually refer to them as our “Chelmno Fan Club”

We would like to congratulate Ryszard and the rest of the Chelmno fan club for making such a spot on guess and we ask you to quickly send an e-mail with your address so that we can send the postcard to you tomorrow.

Wej with the empty toothpaste tube outside Samarkand's most famous landmark - the Registan

Wej with the empty toothpaste tube outside Samarkand’s most famous landmark – the Registan

ปริศนายาสีฟัน 😉

เมื่อวันที่ 10 เมษายน เราเปิดใช้ยาสีฟันเซนโซไดน์หลอดใหม่ขนาด 160 กรัม เราไม่รู้ว่าหลอดนี้จะหมด เมื่อไหร่ เลยคิดว่าน่าจะลองให้เพื่อน ๆ ที่ติดตามบล๊อคของเราทายกันเข้ามา และรางวัลสำหรับผู้ที่ทายถูกคือโปสการ์ดจากเมืองนั้น เมืองที่ยาสีฟันหลอดนั้นหมดเกลี้ยง

มีเพื่อน ๆ หลายคนทายกันเข้ามา และเพื่อนคนแรกที่หลุดออกจากเกมส์นี้คือ เอียน ที่เดาว่ามันจะหมดที่เมืองซัมซุนที่ประเทศตุรกี หลังจากนั้นเราปั่นผ่านหลาย ๆ สถานที่ที่เพื่อน ๆ เดากันมาโดยที่ยาสีฟันหลอดนั้นก็ยังไม่หมด

จนกระทั่งเราคุยกันเองว่าถ้ายาสีฟันหลอดนี้หมดที่ไหน เราจะหาซื้อโปสการ์ดที่เมืองนั้นได้หรือไม่ เพราะแต่ละที่ที่เราปั่นผ่าน ในช่วง 3-4 อาทิตย์ที่ผ่านมา เราอยู่ในทุ่งทะเลทรายหรือไม่ก็ตามชนบทนอกเมือง แต่ไม่มีปัญหาแล้วค่ะ เพราะยาสีฟันหลอดนี้มาหมดที่เมืองที่มีนักท่องเที่ยวมาจากทั่วทุกมุมโลกที่ประเทศอุซเบกิสถาน และสถานที่นั่นก็คือ…..

ซาร์มาคัน

มีเพื่อน ๆ หลายคนที่เดาว่าหลอดนี้จะหมดที่ประเทศนี้ แต่มีแฟนคลับของเราคนหนึ่งที่ทายได้ถูกเป๊ะและผู้โชคดีผู้นั้นคือ ริซาร์ด จาก เชลม์โน ที่ประเทศโปแลนด์

อยากจะแนะนำแฟนคลับของเราคนนี้ให้ทุกคนทราบนะค่ะ ริซาร์ดทำงานที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองเล็ก ๆ ที่ชื่อว่าเชลม์โนทางเหนือของประเทศโปแลนด์ เราได้พบกับเขาตอนเช้าด้านนอกโรงแรม ขณะที่เรากำลังเตรียมตัวออกเดินทางต่อ เราคุยกันไม่กี่นาทีแต่ได้เขียนเมลย์คุยกันตลอด

ขอแสดงความยินดีกับริซาร์ดด้วยที่ทายได้ถูกต้อง

อุซเบกิสถาน => จาก Khiva (คีวา) ไป Bukhara (บุคารา)

ช่วงที่ออกจากคีวาเราได้เพื่อนชาวเยอรมันอีกคน (ยูฮันเนส) ที่เคยเจอกันที่ทิบลิซิ, บาคุ และก็มาเจอกันอีกทีที่คีวา เราสามคนปั่นด้วยกันเกือบตลอดเส้นทาง แต่ยูฮันเนสปั่นเร็วกว่าเราหน่อยนึง แต่เขาไม่ค่อยมีเทคนิคในการปั่นร่วมกัน เพราะหลายครั้งเขาเข้ามาใกล้เกิน มาชนที่บังโคลนเวชครั้งหนึ่ง เฉี่ยวโจคิมครั้งหนึ่ง และเคยชนกระเป๋าเพื่อนอีกคนหนึ่ง แต่เขาเป็นคนน่ารัก พูดคุยหัวเราะเก่ง เข้าได้กับทุกคน วันนี้ทั้งวันเราปั่นอยู่บนถนนเส้นที่เขาเพิ่งสร้างเสร็จ โดยยังไม่ได้เปิดให้รถวิ่ง เราเลยฉวยโอกาสเรียกถนนเส้นนั้นว่าไบค์เลน แล้วเราก็ปั่นกันเป็นหน้ากระดานเลย ทำได้เพราะตามลม 🙂

คุณพี่ใจดี เข้ามาพยายามถามเป็นภาษาอังกฤษ สักพักเอาขนมปังมาให้กิน พอกินกันเสร็จช่วยพาเราไปซื้อน้ำ ซื้อเสร็จยังถามเราอีกว่าจะเข้าห้องน้ำมั้ย? ปฏิเสธไป เพราะไม่รู้ว่าเขาจะไปสอนทำธุระด้วยหรือเปล่านะสิ :-)

สุสานดิน

ภูเขาทรายหน้าตาประหลาด

เขื่อนกลางทะเลทราย

และอาหารจานนี้น่าจะมาจากแม่น้ำสายนี้

แม่น้ำกลางทะเลทราย แม่น้ำอามูดาร์ยา

ถนนหนทางเริ่มดีขึ้น อีกหน่อยเดินทางสะดวกขึ้น

ถนนดีอย่างไร ร่มเงาก็ไม่ได้ดีขึ้น เพราะต้นไม้สูงคงไม่สามารถขึ้นที่นี่ได้แน่ ต้นเตี้ยยังหาแทบไม่มี ก็เลยหาที่ร่มจากใต้ท้องรถนี่แหละ ขนาดพอดีมุด ตอนนั้นปั่นกับเพื่อนเยอรมันอีกคนที่เคยเจอกันที่บาคุ และแยกกันและมาเจอกันอีกทีที่คีวา

ช่วงนี้หาร้านขายน้ำขายของกินไม่ค่อยมี ที่จริงเราอยากหาที่ร่มหลบนอนกัน รอให้แดดร่มลงหน่อย แต่ตรงนี้ไม่มีที่ทางให้ได้นอนแผ่กันเลย เรานั่งหลับกันตรงโต๊ะในร้านนั่นแหละ

วันนั้นเองที่อากาศร้อนจัด วัดได้ช่วงหนึ่ง 50 องศา ตอนปั่นก็ร้อนแต่ยังพอมีลมมาปะทะบ้าง พอหยุดปุ๊บเหงื่อไหลทันที ยูฮันเนสเล่นชะโลมตัวให้เปียกไปทั้งตัว แต่ไม่ถึงครึ่งชม.ก็แห้งสนิท น้ำในแท้งส์น้อย ๆ นั่นร้อนมาก เพราะมันตั้งอยู่กลางแดดมาทั้งวัน

ออกจากร้านขายของที่นั่งหลับกันที่โต๊ะแล้ว เราตั้งใจจะปั่นกันอีกสัก 50 โล เรามักจะเช๊คกับคนท้องถิ่นว่าทางต่อไปข้างหน้าจะมีร้านขายของขายน้ำมั้ย? และคำตอบที่ได้ส่วนใหญ่ หาความแน่นอนไม่ได้ บางคนบอกอีกร้อยโลไปไม่มีร้านอะไรเลย บางคนว่ามีร้านแต่อีก 70 โล เราไม่แน่ใจ พอปั่นมาได้แค่ 20 กม.มาเห็นร้านขายของซึ่งด้านหน้าร้านมี Yurt (เยิร์ต) ให้เช่า พวกเราสองคนเคยนอนในเยิร์ตมาก่อนแล้วแต่เพื่อนคนอื่น ๆ โดยเฉพาะซีมอน ที่เคยฝันอยากนอนในเยิร์ตมานานหลายปี ไม่อยากปั่นต่ออีกเพราะเขาอยากนอนที่นี่ อีกเหตุผลหนึ่งคือเช้าวันรุ่งขึ้นเป็นวันเกิดของเขา นั่นคือการนอนในเยิร์ตจะกลายเป็นของขวัญพิเศษสำหรับเขาเลย

เยิร์ต คือกระโจมซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราว สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย

ด้านในเยิร์ต

เราเอาจักรยานทั้ง 6 คันเข้าไปจอดด้านใน โดยเลิกผ้าที่ปูบนพื้นออก

ระหว่างทางไม่มีอะไรเลย จำได้ว่ามีลุงขับรถคนหนึ่งบอกว่าจากตรงที่เรานั่งพักกันนั้น ห่างออกไป 70 กม.จะมีร้านอาหารข้างทาง เมื่อคืนเราปั่นมา 20 กม.จอดพักแรมที่เยิร์ตพอปั่นมาสักเกือบ 50 กม.ก็มาเจอร้านนี้ ถูกของแกครึ่งหนึ่ง ช่วงที่ปั่นมาตรงนี้ค่อนข้างเหนื่อยใจ เพราะลมแรงพัดมาข้าง ๆ เสียงดังกรอกหูตลอดทาง แถมยังพัดเอาทรายข้ามฝากจากซ้ายไปขวาอีก แต่ดูสวยดี เห็นทรายเป็นริ้ว ๆ พัดข้ามถนนไป บางช่วงถนนก็ขรุขระมาก หลังจากกินอาหารง่าย ๆ และพักผ่อนกันที่ร้านนี้ เราก็ได้ยินเสียงจั๊ก ๆ ๆ ฝนตกหรือ? ใช่อ่ะ ตกหนักด้วย เราเลยต้องรอให้ฝนซาลงสักหน่อยก่อน ฝนตกในทะเลทรายครั้งที่สอง หลังจากคืนที่เรากางเต้นท์ที่คาซัคสถาน

ในร้านเป็นแบบง่าย ๆ วันนั้นเหนื่อยกันมาก โดยเฉพาะยูฮันเนส เพราะเขาเริ่มปวดท้องเหมือนอาหารเป็นพิษ กินกันเสร็จก็เอนกันหมด

เจ้าของร้านเสียงดังมาก คนทางขวานั่นแหละ และเพิ่งเห็นร้านนี้ร้านแรกที่มีแต่พ่อครัวสองคนช่วยกันทำอาหาร รู้สึกรอนานมากกว่าจะได้ชิมฝีมือเขา :-)

เพื่อนอีก 3 คนอยากเข้าเมือง Gazli ไปซื้ออาหารและเครื่องดื่ม เพราะเราจะฉลองวันเกิดของซีมอนกัน คืนนั้นเรากางเต้นท์กันและคิดว่าจะเป็นคืนสุดท้ายที่จะกางเต้นท์ในอุซเบอกิสถาน เพราะเส้นทางต่อจากนี้ไปบุคาราและซาร์มาคันมีหมู่บ้านแน่นขนัด อาจจะหาที่กางเต้นท์ได้ยากหน่อย และอีกอย่างคือเรื่องลงทะเบียนเข้าพักตามโรงแรมที่จำกัดจำนวนวันกางเต้นท์ของเรา

ในที่สุดก็เห็นป้ายบอกทางไปบุคารา

จุดกางเต้นท์ของเรา ในทะเลทราย ไม่ได้กางเต้นท์กันมานานเหมือนกัน คิดถึงการอาบน้ำในทะเลทรายที่ต้องประหยัดน้ำ, ต้องเดินไปไกล ๆ หน่อย และต้องระวังสัตว์ที่ชอบออกหากินตอนกลางคืน เราเห็นดาวตกไปตั้ง 4 ดวงในขณะที่เราฉลองวันเกิดซีมอน

เงินของอุซเบกฯ เฟ้อมาก ๆ 1 USD แลกได้ 2700 SOM คิดดูว่าถ้าเราแลก 100USD จะได้เงิน SOM เท่าไหร่ อืม..เป็นฟ่อนเลยแหละ ฟ่อนหนึ่งเท่ากับหนึ่งแสน มีฟ่อนหนึ่งเขามัดด้วยเชือก ทำให้นึกถึงกระดาษเงินกระดาษทองที่เราเผาไปให้อากงอาม่าอาป๊าใช้ตอนเชงเม้ง เลยลองพับดู

ห้องพักของเรา มื้อกลางวันกินกันง่ายโดยยูฮันเนสไปหาซื้อมันฝรั่งมาต้มกับเกลือและจิ้มเกลือกินกัน แต่ละคนคิดถึงมันฝรั่งกัน แค่มันฝรั่งเปล่า ๆ ก็อร่อยแล้ว

บุคารา Labi-Hauz

ไปเดินชมพิพิธภัณฑ์ The Ark

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

อุซเบกิสถาน => จากชายแดนระหว่างคาซัคฯ และอุซเบกฯ มาถึงนูกุส (Nukus) และคีวา (Khiva)

วีซ่าอุซเบกฯของเราเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 กค. เนื่องจากเราเหนื่อยจากการปั่นในทะเลทรายของคาซัคฯ เป็นเวลา 5 วันครึ่ง เลยอยากจะหยุดพักอย่างน้อยสองคืนที่เบนู (Beyneu) เลยกลายเป็นว่าเราเข้าอุซเบกฯ วันที่ 3 กค. เราไม่สามารถปั่นทำเวลาตามที่เคยวางแผนไว้ เพราะ หนึ่ง เพื่อนชาวโปแลนด์เกิดเจ็บเข่ากระทันหัน เขาปั่นช้าอยู่แล้วเลยยิ่งช้าเข้าไปใหญ่ สอง กลุ่มเราเริ่มใหญ่ขึ้น จากที่เราปั่นกันสองคน แต่ตั้งแต่ขึ้นเรือจากอัซเซอร์ไบจานเรากลายเป็น 7 คน ซึ่งแต่ละคนก็มีความอึดและทำความเร็วไม่เท่ากัน ในเรื่องความอึดต่ออากาศร้อนก็มีแค่เราสองคนที่ทนได้ดีที่สุด เพื่อนคนอื่น ๆ พอร้อนมาก ๆ เขาก็อยากจะหาที่พัก และพักทีก็นานถึง 2 ชม. จริง ๆ เวชไม่ชอบนอนกลางวัน แต่คนอื่นพักเราก็ต้องพัก เลยต้องรอกัน มีคนโปแลนด์ที่แผนการเดินทางของเขาเกือบจะเส้นทางเดียวกันกับเรา แต่ส่วนที่เหลือเราจะแยกกันที่ซามาร์คันด์ (Samarkand) เพราะเขาจะปั่นต่อไปที่ “ดูชันเบ” เมืองหลวงของประเทศทาจิกิสถาน และปั่นไปพาเมียร์ไฮเวย์ รู้สึกภูมิใจนิด ๆ ว่าเคยไปมาแล้ว และสามารถให้คำแนะนำเรื่องเส้นทางกับเขา

ก่อนที่เราจะเข้าอุซเบกฯ เพื่อนชาวสโลเวเนียปลีกตัวไปก่อน เราจึงเหลือแค่ 6 คน มาวันนี้มีนักปั่นที่เคยพบกันมาก่อนที่จอร์เจียมาสมทบด้วย แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเขาจะปั่นกับเราหรือไม่? ดูเขาแข็งแรงและน่าจะปั่นเร็ว

ทั้งคาซัคสถานและอุซเบกิสถานมีกฎหมายเฉพาะสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติว่า ถ้าอยู่ในประเทศเขานานเกิน 3 วันต้องลงทะเบียนว่าพักที่ไหน เพราะฉนั้นเราไม่สามารถกางเต้นท์หรือไปขอพักตามบ้านชาวบ้านหรือตามร้านอาหารได้ทุกคืน ทุก ๆ 3 วันเราจะต้องเช๊คอินเข้าโรงแรมที่มีใบอนุญาติ ที่คาซัคฯ เราอยู่แค่ 5 วันครึ่งเราได้ประทับตราจากกองตรวจคนเข้าเมือง 1 ครั้งก็เรียบร้อยแต่เขาไม่เคร่งเท่าที่อุซเบกฯ ประเทศอุซเบกฯ ยาวมากเรามีเวลา 30 วันและคงได้ใช้ทั้ง 30 วันนั้น เพราะฉนั้นเราควรจะมีสลิปที่มีตราทะเบียนของโรงแรมอย่างน้อย 10 ใบ ยิ่งมีมากยิ่งดี เพราะเราไม่รู้ว่าตอนจะออกจากประเทศอุซเบกฯ จะเจอตำรวจที่น่ารักหรือไม่??? ตอนนี้นอกจากคำถามทั่วไปคือเกี่ยวกับที่จอดจักรยาน อินเตอร์เนต เรามีคำถามที่เพิ่มอีกข้อก่อนที่เราเช๊คอินคือ “เราสามารถลงทะเบียนที่นี่ได้มั้ย?”

ช่วงนี้เราไม่จำเป็นต้องแบกน้ำกันมากมายเหมือนตอนแรกแล้วเพราะรายทางจะมีร้านอาหารท้องถิ่นทั่วไป เราสามารถแวะซื้อได้ แบกกัน 5-6 ลิตรคงจะพอ จะเริ่มแบกและตุนน้ำอีกทีก็คงเป็นทะเลทรายที่จีน

ในทะเลทราย ทางที่เราปั่นมาไม่ค่อยมีเรื่องน่าตื่นเต้น แต่เพื่อนชาวเยอรมันคนหนึ่งเห็นงูตัวหนึ่งกำลังพะงาบกินจิ้งจกทะเลทราย เห็นภาพแล้วแขยง เพราะตอนนั้นเขาถ่ายตอนที่กางเต้นท์เสร็จแล้ว เขานอนหลับไม่ลงเลยแหละ

พรมแดนระหว่างคาซัคฯ และอุซเบกฯ ตรงนี้ถ่ายจากฝั่งอุซเบกฯ เพราะไม่อยากไปวุ่นวายกับตำรวจที่ชายแดน

พรมแดนระหว่างคาซัคฯ และอุซเบกฯ ตรงนี้ถ่ายจากฝั่งอุซเบกฯ เพราะไม่อยากไปวุ่นวายกับตำรวจที่ชายแดน

ถนนที่อุซเบกฯ เริ่มดีและดีกว่าที่คาซัคฯ หน่อย อากาศที่ร้อนทำให้ยางมะตอยที่ถนนนุ่มนิ่ม บางจุดถึงกับหนืดปั่นไม่ค่อยไปเลย

ถนนที่อุซเบกฯ เริ่มดีและดีกว่าที่คาซัคฯ หน่อย อากาศที่ร้อนทำให้ยางมะตอยที่ถนนนุ่มนิ่ม บางจุดถึงกับหนืดปั่นไม่ค่อยไปเลย

ตอนที่เราไปถึงจุดตรวจพาสปอร์ต เขาปิดสองชม.เพื่อผลัดเปลี่ยนพนักงาน ทำให้เราต้องรออยู่ที่ประตูนานเกือบสองชม. และกว่าจะเสร็จขั้นตอนต่าง ๆ ก็ปาไปครึ่งวันแล้ว เลยต้องปั่นกันจนเวลาใกล้มืด แต่ที่นี่พระอาทิตย์ตกตอนประมาณสองทุ่มกว่า ๆ

ตอนที่เราไปถึงจุดตรวจพาสปอร์ต เขาปิดสองชม.เพื่อผลัดเปลี่ยนพนักงาน ทำให้เราต้องรออยู่ที่ประตูนานเกือบสองชม. และกว่าจะเสร็จขั้นตอนต่าง ๆ ก็ปาไปครึ่งวันแล้ว เลยต้องปั่นกันจนเวลาใกล้มืด แต่ที่นี่พระอาทิตย์ตกตอนประมาณสองทุ่มกว่า ๆ

ป้ายนี้เขาน่าจะเตือนให้ระวังอูฐนะ

ป้ายนี้เขาน่าจะเตือนให้ระวังอูฐนะ

ปั่น ๆ ไป สวนทางกับคณะคนอินเดีย ทำทริปนี้เพื่อหาเงินช่วยเหลือเด็กไร้การศึกษาที่อินเดีย Save the children

ปั่น ๆ ไป สวนทางกับคณะคนอินเดีย ทำทริปนี้เพื่อหาเงินช่วยเหลือเด็กไร้การศึกษาที่อินเดีย Save the children

นี่คือด้านในร้านอาหารตามถนน ที่เราต้องคอยมองหา เพราะมันไม่เด่นชัดเลยว่ามันคือร้านอาหาร ซึ่งเราตามภาษาของเขาจะเรียกว่า "ชัยชาน่า" คือ Tea house

นี่คือด้านในร้านอาหารตามถนน ที่เราต้องคอยมองหา เพราะมันไม่เด่นชัดเลยว่ามันคือร้านอาหาร ซึ่งเราตามภาษาของเขาจะเรียกว่า “ชัยชาน่า” คือ Tea house

และนี่เป็นภาพด้านนอกของตึก ดูแล้วไม่ได้ให้ความรู้สึกว่ามันจะเป็นร้านอาหารได้เลย

และนี่เป็นภาพด้านนอกของตึก ดูแล้วไม่ได้ให้ความรู้สึกว่ามันจะเป็นร้านอาหารได้เลย

ตั้งหน้าตั้งตาปั่นเพราะวันนั้นเราปั่นกันเป็นจริงเป็นจังคือเกือบ 190 กม.เพื่อให้ได้ระยะทาง จนกระทั่งรู้สึกว่าน้ำอาจจะไม่พอ ตั้งใจว่าจะขอน้ำจากรถคันนี้ดีมั้ย เผอิญว่าเขาจอดและคุยกับเรา ยังไม่ทันได้ขอหรือถามอะไร เขาถามเราก่อนว่าเอาแตงโมมั้ย? หนักก็หนักนะ แต่ก็ยากที่จะปฏิเสธในขณะที่เราต้องการน้ำอีกต่างหาก คิดดูลูกนั้นน่าจะเกือบ 10 โล รับมาแล้วแต่ยังไม่รู้เลยว่าจะแบกไปยังงัย จะนั่งกินกันตรงนี้ก็ไม่ไหว อีกอย่างก็อยากจะแบ่งปันเพื่อน ๆ ที่ปั่นกันไปล่วงหน้า ถ้าอย่างนั้นก็เอาเบาะรองนั่งมาหุ้มมันไว้ แล้วก็วางตรงตะแกรงท้ายรถ ถนนขรุขระขนาดนั้น แต่แตงโมก็รอดมาถึงเพื่อน ๆ ได้โดยปลอดภัย คิดดูลูกนี้น่าจะอร่อยที่สุดในทะเลทราย สดชื่นจริง ๆ

แตงโมผลใหญ่ ๆ ไม่เคยแตงโมใหญ่เท่านี้มาก่อน ท่าทางคงเลือกลูกที่ใหญ่ที่สุดให้เรา

แตงโมผลใหญ่ ๆ ไม่เคยแตงโมใหญ่เท่านี้มาก่อน ท่าทางคงเลือกลูกที่ใหญ่ที่สุดให้เรา

ตั้งแต่เราเห็นป้ายติดไว้ว่ามีจุดที่รถบรรทุกจอดกันตอนที่ปั่นออกจากหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ป้ายบอกว่าอีก 20 กม.จะมีจุดที่ว่านั่น เราปั่นผ่านตรงที่เขากำลังซ่อมแซมถนน มีทั้งถนนเส้นทางเก่าและใหม่แถมมีบายพาสอีก เพื่อนที่นำหน้ามาก่อน ใช้เส้นทางเก่า เราใช้เส้นทางใหม่เลยคลาดกัน แต่ยังดีที่สามารถติดต่อกันได้ทาง sms คืนนั้น ต่างคนต่างหาที่นอนกันเอาเอง เราสองคนกับเพื่อนชาวนิวซีแลนด์ปั่นไปเห็นป้ายร้านอาหาร เลยลองเข้าไปถามขอเขากางเต้นท์ เขาว่าไม่ต้องกาง นอนตรงแคร่ข้างนอกนี่ก็ได้ เราเลยเข้าไปสั่งอาหารที่ร้านของเขา แถมได้อาบน้ำอีกต่างหากสบายไปเลย ยอมเสียตังค์ 5000 ซอม = ประมาณ 2USD

ภายนอกร้านอาหารที่เป็นที่พักของเรา หลังจากที่ปั่นกันมาเกือบ 190 กม.

ภายนอกร้านอาหารที่เป็นที่พักของเรา หลังจากที่ปั่นกันมาเกือบ 190 กม.

แคร่ที่นอนของเราคืนนั้น

แคร่ที่นอนของเราคืนนั้น

ภาพบรรยากาศในร้านอาหาร ค่อนข้างใหญ่ มีคนขับรถบรรทุกเข้ามาจอดแทบทั้งคืน พูดถึงนอนไม่ค่อยหลับเท่าไหร่ เพราะคนพลุกพล่านนิดหน่อย

ภาพบรรยากาศในร้านอาหาร ค่อนข้างใหญ่ มีคนขับรถบรรทุกเข้ามาจอดแทบทั้งคืน พูดถึงนอนไม่ค่อยหลับเท่าไหร่ เพราะคนพลุกพล่านนิดหน่อย

ด้านขวาของแคร่ที่นอนเรามีสาวคนนี้ยืนทำขนมปังที่เตาดินนั่น

ด้านขวาของแคร่ที่นอนเรามีสาวคนนี้ยืนทำขนมปังที่เตาดินนั่น

จู่ ๆ จากทะเลทรายเริ่มเห็นอะไรเขียว ๆ เพราะเราเข้าใกล้ที่ลุ่ม

จู่ ๆ จากทะเลทรายเริ่มเห็นอะไรเขียว ๆ เพราะเราเข้าใกล้ที่ลุ่ม

ถนนสู่เมืองนูกุสค่อนข้างน่าเบื่อ โดยเฉพาะช่วงที่เป็นทะเลทราย

ถนนสู่เมืองนูกุสค่อนข้างน่าเบื่อ โดยเฉพาะช่วงที่เป็นทะเลทราย

มาถึงนูกุส เราต้องหาที่แลกเงินจากดอลล่าร์เป็นเงินซอม สถานะการเงินของเขาค่อนข้างเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1USD = 2700SOM กองนี้เราแลกจาก 300USD ลองคำนวณดูสิว่ามีเท่าไหร่ในกองนี้ เฮ้อ..หนักเงิน

มาถึงนูกุส เราต้องหาที่แลกเงินจากดอลล่าร์เป็นเงินซอม สถานะการเงินของเขาค่อนข้างเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1USD = 2700SOM กองนี้เราแลกจาก 300USD ลองคำนวณดูสิว่ามีเท่าไหร่ในกองนี้ เฮ้อ..หนักเงิน

ห้องน้ำในโรงแรมที่เราจ่ายคนละ 12USD แต่ห้องน้ำนี่สุดจะทน แค่เปิดประตูห้องเข้าไปก็ได้กลิ่นอันน่าภิรมย์แล้ว ถ้าไม่ติดว่าต้องลงทะเบียนตามโรงแรมทุก ๆ 3 วันจะไม่อยู่ที่นี่เด็ดขาด

ห้องน้ำในโรงแรมที่เราจ่ายคนละ 12USD แต่ห้องน้ำนี่สุดจะทน แค่เปิดประตูห้องเข้าไปก็ได้กลิ่นอันน่าภิรมย์แล้ว ถ้าไม่ติดว่าต้องลงทะเบียนตามโรงแรมทุก ๆ 3 วันจะไม่อยู่ที่นี่เด็ดขาด

เป็นสถานที่โบราณสำคัญของเขา หนึ่งในอีกหลาย ๆ แห่งรอบบริเวณเมืองนูกุสและคีวา

เป็นสถานที่โบราณสำคัญของเขา หนึ่งในอีกหลาย ๆ แห่งรอบบริเวณเมืองนูกุสและคีวา

ป้ายบอกทางแปลกไปอีกอย่าง

ป้ายบอกทางแปลกไปอีกอย่าง

ขอถ่ายกับป้ายหน่อย

ขอถ่ายกับป้ายหน่อย

เริ่มปั่นเข้าในจุดที่มีหมู่บ้านแน่นขึ้น ตรงนี้มีนาข้าวด้วย และบางพื้นที่ปลูกต้นสำลี

เริ่มปั่นเข้าในจุดที่มีหมู่บ้านแน่นขึ้น ตรงนี้มีนาข้าวด้วย และบางพื้นที่ปลูกต้นสำลี

เริ่มปั่นเข้าในจุดที่มีหมู่บ้านแน่นขึ้น ตรงนี้มีนาข้าวด้วย และบางพื้นที่ปลูกต้นสำลี

เริ่มปั่นเข้าในจุดที่มีหมู่บ้านแน่นขึ้น ตรงนี้มีนาข้าวด้วย และบางพื้นที่ปลูกต้นสำลี

และแล้วก็มาถึงเมืองคีวา เรานั่งทานอาหารเย็นกันกับยูฮันเนสซึ่งเพิ่งมาถึงและมาพักด้วยกันกับเราที่นี่

และแล้วก็มาถึงเมืองคีวา เรานั่งทานอาหารเย็นกันกับยูฮันเนสซึ่งเพิ่งมาถึงและมาพักด้วยกันกับเราที่นี่

กำแพงเมืองคีวา

กำแพงเมืองคีวา

ธุรกิจด้านในของกำแพง ช่วงนี้ยังไม่ใช่ฤดูการท่องเที่ยว คนจึงยังไม่เยอะเท่าไหร่ แต่พ่อค้าแม่ค้าเขาก็น่ารักนะ ไม่มีการมาเรียกมาดึงลูกค้าให้ซื้อโน่นซื้อนี่

ธุรกิจด้านในของกำแพง ช่วงนี้ยังไม่ใช่ฤดูการท่องเที่ยว คนจึงยังไม่เยอะเท่าไหร่ แต่พ่อค้าแม่ค้าเขาก็น่ารักนะ ไม่มีการมาเรียกมาดึงลูกค้าให้ซื้อโน่นซื้อนี่

ด้านในของกำแพง

ด้านในของกำแพง

ประตูไม้ลายสลักเก่าแก่ที่เห็นอยู่ทั่วไป บางบ้านและโฮสต์เทลบางทีจะมีเสาแกะสลักเก่า ๆ ด้วย

ประตูไม้ลายสลักเก่าแก่ที่เห็นอยู่ทั่วไป บางบ้านและโฮสต์เทลบางทีจะมีเสาแกะสลักเก่า ๆ ด้วย

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

คาซัคสถาน => วันพักผ่อนที่เมืองเบนู (Beyneu)

ก่อนที่เราปั่นเข้าเมืองเบนูเราแวะเติมน้ำมันในขวดเล็ก ๆ สำหรับหุงหาอาหารและเผื่อไปล้างโซ่ด้วย เจ้าของปั้มน่ารักมาก บอกว่าไม่ต้องละกันนิดหน่อย 🙂 แต่ละคนดูอยากจะเข้าเมืองกันเต็มที เร่งปั่นกันใหญ่ ส่วนเวชรู้สึกไม่อยากนั่งบนเบาะอีกเลยแหละ อยากจะถอดกางเกงปั่นจักรยานออก อยากอาบน้ำ โชคดีที่ลมมาเฉียง ๆ ทำให้เราปั่นได้เร็วขึ้นหน่อย ทุกครั้งที่เราเข้าเมือง ก็ต้องคอยมองหาโรงแรม ถามคนท้องถิ่น คาซัคสถานเป็นประเทศยากจน พอพวกเขาเห็นเรา บางคนเข้ามาขอเงินเฉยเลย ทั้ง ๆ ที่เขาขับรถมาจอดข้างหน้าเรา แปลก!!! ดูยังไม่ค่อยมีคนมากสักเท่าไหร่ ตามท้องถนน อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นวันธรรมดาก็ได้ แต่พอตกเย็นปุ๊บ หน้าโรงแรมเรากลายเป็นที่จอดรถไปเสียอย่างนั้น จากที่ไม่มีใครเลย กลายเป็นเมืองที่มีชีวิตชีวา มีเด็ก ๆ ออกมาวิ่งเล่นกลางวันมันร้อนมากด้วยแหละเลยไม่มีใครอยากจะออกมานั่งกัน เอาภาพบรรยากาศในเมืองเบนูมาให้ดูกันนะค่ะ

ตรงนี้เป็นจุดไฮไลท์ของเขาเลยแหละเพราะเห็นคู่ที่จะแต่งงานเขามาถ่ายรูปหมู่และคู่กันที่นี่

ตรงนี้เป็นจุดไฮไลท์ของเขาเลยแหละเพราะเห็นคู่ที่จะแต่งงานเขามาถ่ายรูปหมู่และคู่กันที่นี่

ตึกอพาร์เมนต์หน้าโรงแรม

ตึกอพาร์เมนต์หน้าโรงแรม

ถ่ายรูปกับสาวน้อยทั้งสองคนที่ทำงานทีี่โรงแรม

ถ่ายรูปกับสาวน้อยทั้งสองคนที่ทำงานทีี่โรงแรม

ตึกนี้เป็นร้านขายของชำทั่วไป ดูจากภายนอกไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นร้านอะไร ถ้าอ่านป้ายเขาไม่ออก เคยมีครั้งหนึ่งที่ตึกมี 3 ประตูต้องเปิดดูเอาเองว่าประตูไหนขายอะไร สนุกดีเหมือนกัน เหมือนเปิดประตูชิงโชคเลย

ตึกนี้เป็นร้านขายของชำทั่วไป ดูจากภายนอกไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นร้านอะไร ถ้าอ่านป้ายเขาไม่ออก เคยมีครั้งหนึ่งที่ตึกมี 3 ประตูต้องเปิดดูเอาเองว่าประตูไหนขายอะไร สนุกดีเหมือนกัน เหมือนเปิดประตูชิงโชคเลย

ว้าว...ไฟเขียวไฟแดง นี่คือถนนใหญ่ของเบนู ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นตลาดนัด อีกฝั่งหนึ่งเป็นร้านค้า

ว้าว…ไฟเขียวไฟแดง นี่คือถนนใหญ่ของเบนู ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นตลาดนัด อีกฝั่งหนึ่งเป็นร้านค้า

เดินไปหาร้านอาหารกัน

เดินไปหาร้านอาหารกัน

เดินไปช้อปปิ้งที่ตลาดนัดกันกับเพื่อนชาวเยอรมันและนิวซีแลนด์

เดินไปช้อปปิ้งที่ตลาดนัดกันกับเพื่อนชาวเยอรมันและนิวซีแลนด์

ไปซื้อผ้าปูโต๊ะพลาสติค เอาไว้ปูด้านล่างของเต้นท์ น่าจะกันพวกต้นหนามได้หน่อย

ไปซื้อผ้าปูโต๊ะพลาสติค เอาไว้ปูด้านล่างของเต้นท์ น่าจะกันพวกต้นหนามได้หน่อย

ได้เวลาผจญภัยต่อ

ได้เวลาผจญภัยต่อ

คาซัคสถาน => Aktau (อัคเทา) ปั่นผ่านทะเลทราย 5 วันครึ่งไป Beyneu (เบนู)

หลังจากที่ได้ข้อมูลเรื่องเวลาซื้อตั๋วและร่ำลากับหนุ่มน้อยมัคซุดตรงจุดที่รอเรือ เราก็นั่งรอกันไป เรือที่เราจะนั่งไปนี่เป็นเรือบรรทุกสินค้าไม่ใช่เรือโดยสาร เพราะฉนั้นมันจะออกจากท่าก็ต่อเมื่อขนทุกอย่างและเต็มจริง ๆ เราเอาอาหารที่ซื้อตุนไว้มากินกันเป็นอาหารเย็น เพราะได้ข่าวมาว่าบนเรือไม่มีอะไรให้กินและตามจริงแล้วจะใช้เวลาประมาณ 18 ชม.จากบาคุไปอัคเทา แต่ไม่มีใครสามารถเดาได้ว่าเรือจะได้ออกหรือเข้าท่าเมื่อไหร่ และเมื่อไหร่ที่ทางการของคาซัคสถานจะปล่อยให้เรือเข้าท่า และถ้าท่าเรือไม่ว่าง เราก็ต้องลอยอยู่กลางทะเลจนกว่าจะได้สัญญาณจากทางคาซัคฯ นั่นคือเราต้องเตรียมอาหารและน้ำอย่างน้อยสำหรับ 2 วัน เริ่มแบกน้ำกันเสียตั้งแต่ตอนนี้เลยละนะ

เราโชคดีตรงที่ว่าคืนนั้นมีกลุ่มคนเยอรมันที่สามารถพูดภาษารัสเซียได้ หนึ่งในนั้นชื่อ Ed (เอ็ด) คอยช่วยเราด้านข้อมูลและคอยเป็นล่ามให้เราแทนมัคซุด ก่อนหน้านั้นมัคซุดว่าบูธขายตั๋วจะเปิดตอนสองทุ่ม พอนาฬิกาตีสองทุ่มปุ๊บเราเดินไปที่บูธนั้น ยัง ยังไม่เปิดค่ะ เอ็ดเลยจัดการโทรไปถามใครก็ไม่รู้้ที่เขารู้จัก กว่าเราจะได้ซื้อตั๋วก็ตอนแปดโมงเช้าของอีกวันหนึ่ง ได้ตั๋วแล้วไม่ใช่ว่าจะได้ขึ้นเรือเลยนะ โน่น…. รอไปก่อน เพราะอะไรสักอย่างไม่สามารถทราบได้ และประมาณเที่ยงวัน เขาก็เรียกให้เราไปที่กองตรวจเพื่อเช๊คหนังสือเดินทาง เราก็ตื่นเต้นเพราะเรามีหนังสือเดินทาง 2 เล่มเพราะเราส่งอีกเล่มหนึ่งไปขอวีซ่าเข้าจีนที่สวีเดน แต่ตรงนี้ไม่มีปัญหา เขาแค่แสตมป์เราออกจากอัซเซอร์ไบจานเท่านั้น แต่ก็ขอดูอีกเล่มด้วย

ตรงที่เรารอเรือกันเป็นโถงใหญ่ ๆ มีม้านั่งรอบ ๆ ด้านใน พวกเรานักปั่น 7 คน นักบิดมอเตอร์ไซค์ 5 คนชาวเยอรมัน และนักเดิน(ทาง) 1 คนชาวฝรั่งเศส พอดึกได้เวลานอนเราหาที่นอนรอ แต่ละคนก็หามุมของตัวเอง หลายคนถูกยุงกัด แต่เราไม่โดนช่างเป็นเรื่องน่าประหลาด เพราะธรรมดาจะโดนกัดอยู่คนเดียว

จอดจักรยานรอกันเป็นแถวยาว

จอดจักรยานรอกันเป็นแถวยาว

รู้สึกตื่นเต้นพอสมควรพอได้ขึ้นเรือหลังจากที่รออย่างไม่กำหนดแน่นอน บ่ายสองของวันศุกร์เราได้ขึ้นเรือจริง ๆ แต่กว่าเรือจะออกก็ห้าโมงเย็น ในที่สุดเราก็ได้ข้ามและเดินทางต่อไป ความตื่นเต้นของเราเกิดขึ้นปุ๊บก็หมดลงปั๊บหลังจากที่เรารู้ว่าคนขายตั๋วเรือจองที่ให้เรา แต่มีผู้โดยสารมากกว่าห้องพัก ระหว่างที่รอพวกเรารู้สึกเหนื่อย อาจจะเป็นเพราะช่วงที่เราเรือนั้น บรรยากาศค่อนข้างกดดันและต้องลุ้นกันตลอดเวลาว่าเมื่อไหร่คนขายตั๋วจะมา แล้วเราจะได้ไปเมื่อไหร่ ได้ขึ้นเรือแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะเข้าใกล้ประเทศคาซัคสถาน เพราะขึ้นมาแล้วก็ยังต้องรออยู่ตรงนั้น อย่างว่าไม่มีหมายกำหนดการ 🙁

ดูหน้าแต่ละคน ระรื่นหลังจากได้ตั๋วอยู่ในมือ

ดูหน้าแต่ละคน ระรื่นหลังจากได้ตั๋วอยู่ในมือ

บ๊ายบายอัซเซอร์ไบจาน

บ๊ายบายอัซเซอร์ไบจาน

เรื่องห้องพักเพื่อนใหม่ของเรา ”เอ๊ด” จัดการเป็นล่ามให้เรา โดยเดินไปคุยกับกัปตันเรือ เขาสามารถหาให้ได้แค่ 1 ห้องสำหรับ 2 คน เพื่อน ๆ ในแก้งส์เลยยกให้เราสองคนไปนอน ตอนแรกก็ปฏิเสธ แต่คิดอีกทีก็เป็นการดีสำหรับทุกคน ห้องโถงใหญ่นั่นจะได้มีที่มากขึ้น พวกเราจะได้มีห้องน้ำห้องอาบน้ำส่วนตัว ย้ายไป ห้องที่กัปตันให้เราไปอยู่ จริง ๆ เป็นของลูกเรือคนหนึ่ง รู้สึกไม่ค่อยดีที่ไปแย่งที่นอนเขา แต่ในเมื่อเราจ่ายตังค์แล้ว ความเกรงใจเลยน้อยลง พวกเราถูกชาร์ตมากกว่ากลุ่มของเอ๊ดตั้ง 10 USD

บริษัทเรือที่เรานั่งมานี่มีเรืออยู่สองลำ ลำหนึ่งเก่าอีกลำหนึ่งใหม่แต่ที่เรานั่งมาด้วยเป็นเรือเก่า แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเก่าสักเท่าไหร่ เราเริ่มกินอาหารที่เราตุนกันมา แต่อีกสักพักหนึ่งเอ๊ดเดินมาบอกเราว่าเขาจะเสริฟอาหารเย็นเราตอนสามทุ่ม ว้าว… อันนี้ไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจมาก่อน เซอร์ไพรส์ มีเสริฟซุปก่อนและหลังจากนั้นเป็นมักโรนีกับไก่หนึ่งชิ้น สรุปว่ารวมอาหารทุกมื้อ รอดตาย ไม่ต้องกินแต่ขนมปังกับแยมที่เตรียมกันมา

หลังจากผ่านตม.และตรวจหนังสือเดินทาง เราก็เอาจักรยานขึ้นมาจอดและเอากระเป๋าทุกใบขึ้นไปบนเรือ

หลังจากผ่านตม.และตรวจหนังสือเดินทาง เราก็เอาจักรยานขึ้นมาจอดและเอากระเป๋าทุกใบขึ้นไปบนเรือ

เราขึ้นเรือวันเสาร์บ่ายจนกระทั่งบ่ายของวันจันทร์เราสามารถมองเห็นประเทศคาซัคฯจากทะเลแคสเปี้ยน เราก็คิดว่าอีกไม่นานน่าจะได้ขึ้นฝั่งเสียที แต่..กัปตันปล่อยสมอเรือและดับเครื่อง ทำไม??? สักพักหนึ่งเอ็ดเดินมาบอกเราว่าท่าเรือไม่ว่างและเราอาจจะต้องรอจนกระทั่งสี่ทุ่ม นั่นก็ดึกเกินถ้าเราเริ่มปั่นออกจากท่าเรือ เลยบอกเอ็ดให้เขาไปขออนุญาติกัปตันให้พวกเราได้นอนบนเรือจนกระทั่งวันรุ่งขึ้นจะได้หรือเปล่า? หลังจากที่รอให้กัปตันวิทยุไปถาม ก็เป็นอันตกลงว่าเขาจะเอาเรือเข้าท่าวันพรุ่งนี้เช้าแทน ระหว่างที่อยู่บนเรือนั่น ค่อนข้างน่าเบื่อ เรือไม่ใหญ่มาก มีแค่สองชั้น ห้องน้ำสาธารณะมี 1 ห้อง ห้องอาบน้ำมี 2 ห้อง ต่อมาห้องน้ำสาธารณะเต็ม กดน้ำไม่ได้ พวกเราส่วนใหญ่ก็ไปใช้ห้องน้ำที่ห้องพักของเรา และหลังจากนั้นไม่นาน มันก็เต็มด้วย ทีนี้เต็มทุกห้อง ไม่สามารถใช้ห้องน้ำที่ไหนได้ เขาบอกว่ามีใครในกลุ่มของเราทิ้งกระดาษทิชชูลงในโถส้วมทำให้ระบบของเขาเสีย เอ.. ก็เห็นมันกลับมาทำงานได้อยู่นี่นาหลังจากที่เขาสตาร์ตเครื่องยนต์อีกครั้งหนึ่ง เราเลยต้องอดทนกันหรือไม่อย่างนั้นก็ต้องทำธุระของตัวเองซ้ำกับของคนอื่น อึ๋ย…

หกโมงเช้ามีคนมาปลุกให้เตรียมตัว เราแพ๊คและกำลังจะเอากระเป๋าโหลดบนจักรยานก็มีคนมาบอกว่าอาจจะต้องรออีกสัก 2-3 ชม.เพราะเจ้าหน้าที่ทางคาซัคฯ เปลี่ยนเวร เวร!!! สรุปเราใช้เวลานั่งเรือข้ามทะเลจากบาคุไปอัคเทาระยะทาง 450 กม.แต่ใช้เวลา 44 ชม.เป็นการรอคอยที่น่าเบื่อ ถ้าเป็นเรือโดยสารอาจจะมีกิจกรรมอะไรอย่างอื่นให้ทำ แต่ลำนี้ไม่มีอะไรนอกจากต้องรังสรรค์กันเอาเอง ก็ดีเหมือนกัน

หามุมถ่ายรูปเล่นกัน

หามุมถ่ายรูปเล่นกัน

ตอนที่เรารออยู่ก็ไม่รู้จะทำอะไรเลยเดินไปเดินมา กัปตันเดินมาบอกพวกเราทุกคนว่า ”ห้ามเดินออกไปที่กาบเรือ ไม่อย่างนั้นเจ้าหน้าที่ทางคาซัคฯ จะไม่ขึ้นมาตรวจ” เอ่อ..โอเค ไม่รู้ว่าเขากลัวอะไรนักหนานิ อีกไม่นานก็มีเจ้าหน้าที่ขึ้นมาตรวจดูพาสปอร์ตของทุกคนไม่เว้นแม้แต่ลูกเรือ หลังจากที่เราได้พาสปอร์ตของเราแล้ว ก็ลงไปเข็นจักรยานขึ้นฝั่งกัน พอมาถึงตม.ของคาซัคฯ ตรวจพาสปอร์ตอีกครั้งหนึ่ง และโดนซุ่มตรวจในกระเป๋าจักรยานด้วย มีเจ้าหน้าที่ผู้หญิงคนหนึ่งมาตรวจกระเป๋าหน้ารถเวช โห..หล่อนทำท่าหยิบของแต่ละชิ้นในกระเป๋าเหมือนกับมันเป็นสิ่งสกปรกมากยังงัยยังงั้นเลย หมั่นไส้จริง.. แต่ไม่เป็นไรขอให้ฉันผ่านไปก็พอ

นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าคาซัคสถานต้องลงทะเบียนที่ตม.ถ้าอยู่เกิน 3 วัน พอออกจากท่าเรือเราปั่นวนหาตม.อยู่นานเพื่อที่จะได้ประทับตราที่ใบลงทะเบียน หลังจากนั้นซื้อของและอาหารมาตุนสำหรับ 5 วันในทะเลทราย อาหารส่วนใหญ่ที่ซื้อจะเป็นสปาเก็ตตี้ แจม ครีมช๊อคโกแลต คาร์โบไฮเดรตทั้งนั้น เริ่มปั่นออกจากตัวเมืองเพื่อหาที่ตั้งแคมป์ เพราะเริ่มเย็นเดี๋ยวจะมืดเสียก่อน

ดูท่าทางแต่ละคนยืนรอที่หน้าตม. เพื่อให้เขาประทับตราปั้งเดียว แต่ลีลาเยอะ ต้องทำให้ดูเหมือนว่าฉันยุ่งมากนะ

ดูท่าทางแต่ละคนยืนรอที่หน้าตม. เพื่อให้เขาประทับตราปั้งเดียว แต่ลีลาเยอะ ต้องทำให้ดูเหมือนว่าฉันยุ่งมากนะ

ภูมิประเทศของคาซัคสถานค่อนข้างราบเรียบแต่ก็ยังมีเนินเล็ก ๆ น้อย ๆ และแห้งแล้ง มีแต่ต้นไม้เป็นพุ่ม ๆ เล็ก ๆ เตี้ย ๆ บางต้นใบของมันคือหนาม ตอนแรกคิดว่าพอมันแห้งจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลมันถึงจะแข็งเป็นหนามแต่เปล่าเลยมันโตมาเป็นหนามเลยมั้ง น่าจะมีชื่อว่า ”ต้นหนาม”

ที่กางเต้นท์วันแรกที่คาซัคสถาน บนเนิน

ที่กางเต้นท์วันแรกที่คาซัคสถาน บนเนิน


ภาพบรรยากาศระหว่างทาง ดูอบอุ่นเนอะ

ภาพบรรยากาศระหว่างทาง ดูอบอุ่นเนอะ

คืนที่สองเรากางเต้นท์ที่อีกด้านหนึ่งเป็นภูเขาทราย ดูแล้วน่าจะเป็นอะไรที่กันลมได้แต่มันไม่กันฝนให้เรา เพราะพอตกกลางคืนฝนเทลงมาอย่างหนักเลย ตอนเช้าเรานัดกันว่าจะตื่นกันแต่เช้า แต่ฝนมาตกตอนเช้าด้วยก็เลยได้นอนต่ออีกหนึ่งชม. แต่ละคนก็ไม่อยากลุกออกจากที่นอนออกมาเจอเปียก ๆ กัน ตอนที่กำลังเก็บเต้นท์เราเห็นแมงป่องด้วย ตัวนิดเดียวสีมันเหมือนทรายเลย ไม่สังเกตุจะมองไม่เห็นเลยแหละ อีกสักพักก็เห็นตัวเล็ก ๆ อีกตัวหนึ่ง สงสัยเราไปนอนทับประตูบ้านมันหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ที่เราทำกันเป็นประจำคือปิดฝากระเป๋าทุกใบ, เช๊คหมวกและก่อนใส่รองเท้าต้องตรวจดูก่อนว่ามีสัตว์ประหลาดเข้าไปแอบในรองเท้าหรือเปล่า คงไม่น่าจะมี เพราะรองเท้าเราคงไม่หอม นอกจากแมงป่องแล้วโจคิมยังเห็นหนูทะเลทรายด้วย เวชไม่เห็น เห็นแต่จิ้งจกวิ่งปื้ด ๆ ข้ามถนนไป

ตอนเย็นฟ้าใสเลย แต่ตกดึกกำลังจะเข้านอน ฝนดันเทลงมา ไม่หนักมาก แต่ก็ต้องรีบวิ่งเข้าเต้นท์

ตอนเย็นฟ้าใสเลย แต่ตกดึกกำลังจะเข้านอน ฝนดันเทลงมา ไม่หนักมาก แต่ก็ต้องรีบวิ่งเข้าเต้นท์

ส่วนสัตว์ตัวใหญ่ก็เห็นจะเป็นม้าและเจ้าอูฐนี่แหละ มีอยู่สองประเภทคือที่มีสองหน่อ (Camels) และหนึ่งหน่อ (Dromedaries) มันอยู่ทั่วไปจริง ๆ เลยนะ ในทะเลทราย ในหมู่บ้านและในเมืองด้วย ปั่นตั้งแต่จากประเทศที่มีแต่วัว แกะ และแพะ ตอนนี้มาเป็นอูฐและม้า บางตัวก็มีเครื่องหมายเหมือนมันมีเจ้าของ บางตัวถูกล่ามโซ่ที่ขาหน้าทั้งสองขาใกล้ ๆ กัน เพื่อไม่ให้มันเดินไปไหนไกลเกิน ส่วนม้าเกือบแน่ใจว่ามันเป็นม้าป่านะ

อูฐในทะเลทราย

อูฐในทะเลทราย


ม้า ไม่รู้มันมีเจ้าของหรือเปล่า???

ม้า ไม่รู้มันมีเจ้าของหรือเปล่า???

อากาศในทะเลทรายร้อนในช่วงกลางวัน บางวันที่วัดอุณหภูมิของโจคิมวัดได้ถึง 43 องศา ต้นไม้ก็ไม่มีพอถึงเวลาพักก็ต้องมองหาทางน้ำผ่านหรือทางใต้สะพานที่เห็นในรูป เพราะฉนั้นเราเลยตกลงกันว่าจะเริ่มปั่นกันแต่เช้าเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศที่ร้อนจัด แต่ตกตอนเย็นอากาศก็เริ่มเย็น บางวันไม่มีลมจะรู้สึกร้อนแต่พอดึกสงัดจะเย็น ๆ นอนสบาย

อูฐเดินผ่านเราตอนนั่งพักกินอาหารเที่ยงกันที่ใต้สะพานตามถนน

อูฐเดินผ่านเราตอนนั่งพักกินอาหารเที่ยงกันที่ใต้สะพานตามถนน

ทั้ง 5 วันครึ่งที่เราปั่นในทะเลทราย ความที่หน้าถนนขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ มีทรายเป็นบางช่วง ที่แย่คือเราทำระยะทางไม่ได้ แต่ที่ดีคือรถราก็ขับกันช้าลง คนที่คาซัคฯ เวลาเขาทักทายเขาจะกดแตรหนึ่งครั้งและยังโบกมือแถมยิ้มให้อีก บางครั้งก็ยกนิ้วให้ มีครั้งหนึ่งเราแวะเข้าไปที่ร้านชาข้างทาง เจอคนขับรถบรรทุกที่ไม่ค่อยน่ารักเท่าไหร่ พูดจาลามก หลังจากคุยกันได้หน่อย เขาก็สั่งอาหารมาพร้อมทั้งเหล้าวอดก้า 40 ดีกรี ตอนนั้นก็เย็นแล้วคิดว่าพวกเขาคงจะพักกันที่นั่น แต่พอถามว่าเรามาจากไหนกัน เพื่อนเราสองคนมาจากเยอรมัน มันก็โวยวายว่าเพื่อนเราเป็นพวกนาซี มันจะบ้า!!! ไม่ใช่มันบ้าไปแล้ว.. จากที่คิดว่าจะปั่นไปหาที่กางเต้นท์ข้างหน้า เลยเปลี่ยนใจปั่นย้อนกลับไปอีก 3 กม.เพราะกลัวว่าคนขับรถบรรทุกจะขับผ่านตรงที่เราตั้งแคมป์ แต่ก่อนที่จะเรื่อง มีนักปั่นหญิงชาวฝรั่งเศส (เอลิซี) แวะเข้าที่ร้านชา และก็ได้คุยกัน เราเลยชวนเขาไปกางเต้นท์กัน เขาดีใจเพราะนั่นเป็นทางที่เขาจะไป เอลิซีเริ่ีมปั่นจากปักกิ่งย้อนศรพวกเรา เราเลยได้แลกเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างกัน

โจคิมและเพื่อนคนโปแลนด์ทางซ้าย ทางขวาจากสโลเวเนีีย

โจคิมและเพื่อนคนโปแลนด์ทางซ้าย ทางขวาจากสโลเวเนีีย

ความเป็นคนตุรกีนี่รับประกันความใจดีอันดับหนึ่งและได้ถึง 100% ว่ามีความใจดีจริง ๆ ไม่ว่าจะเจอกันที่ไหน ระหว่างทางมีรถบรรทุกจอดคุยกับเรา เวชเห็นป้ายทะเบียนรถแล้ว รู้ว่ามาจากตุรกี แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขามากจากตุรกีด้วยหรือเปล่า เขาชวนให้กินชา โจคิมบอกว่าไม่เอามันร้อน เลยล้อเล่นว่าไม่มีโค้กเย็น ๆ หรือ เขาเลยตะโกนบอกเพื่อนว่าให้ไปหยิบน้ำผลไม้เย็น ๆ มาเสริฟ โห…สดชื่น ดื่มของเขาเสียเกลี้ยงเลย หลังจากนั้นก็มีรถคันหนึ่งมาจอดข้าง ๆ เวชคิดว่าเขาน่าจะล้อเล่นว่าเราปั่นผิดข้าง คุยไปคุยมา ปรากฎเป็นวิศวะจากตุรกี เอาน้ำเอาผลไม้อะไรมั้ย???? ต้องกลับไปเที่ยวตุรกีอีกแน่นอน

มีคืนหนึ่งเพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มซื้อวอดก้ามาดื่มกันที่แคมป์ หลังจากที่วอดก้าหมดขวดไปแล้ว เพื่อนคนเยอรมันบอกว่าเขาค่อนข้างแน่ใจว่าพวกคนขับรถบรรทุกนี่น่าจะมีวอดก้าติดรถมาด้วย พูดเสร็จก็กระโดดขึ้นจักรยานไปดักหน้ารถบรรทุก หลังจากนั้นเขาปั่นกลับมาพร้อมกับรถบรรทุกสองคันตามหลังมาด้วย คนขับรถบรรทุกมาจากรัสเซียเขาบอกว่าวอดก้าไม่มีเอาเหล้าไวน์แดงไปละกันกระป๋อง 5 ลิตร โจคิมว่ารสชาติดี แต่ถ้าเราจะเริ่มปั่นกันตั้งแต่หกโมงเช้ากันก็ไม่ควรดื่มมากมาย มีอยู่สามคนที่นั่งก๊งกัน ไม่รู้ว่าถึงกี่โมงแต่รู้ว่าคืนนั้นนอนไม่ค่อยหลับเพราะพวกเขาเสียงดังกัน ไม่น่าทำลายบรรยากาศแต่ก็เข้าใจพวกเขาเหมือนกัน

ก๊งกันเกือบค่อนคืน พออีกวันรุ่งขึ้นต้องปั่นในความร้อน ก็แฮงค์กันนะสิ ทางยิ่งแย่ ๆ ด้วย

ก๊งกันเกือบค่อนคืน พออีกวันรุ่งขึ้นต้องปั่นในความร้อน ก็แฮงค์กันนะสิ ทางยิ่งแย่ ๆ ด้วย


ปั่น ๆ อยู่จะเห็นพายุทรายเล็ก ๆ แบบนี้ทั่วไปเลย เล็กบ้างใหญ่บ้าง

ปั่น ๆ อยู่จะเห็นพายุทรายเล็ก ๆ แบบนี้ทั่วไปเลย เล็กบ้างใหญ่บ้าง

เรื่องน้ำที่เริ่มมีปัญหาหลังจากที่เราเข้าเขตทะเลทราย เคยค้นหาข้อมูลอยู่เหมือนกันว่ามีร้านค้าทุก ๆ 30 กม. แต่เราก็ยังต้องแบกไปด้วยเพื่อใช้ดื่มทำอาหารระหว่างทางและชำระล้างร่างกายด้วย เราแบกได้อย่างมากคือ 11 ลิตรและมันจะราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ายิ่งเข้าไปในที่ ๆ กันดาร เราไม่สามารถอาบน้ำให้สะอาดหมดจดได้ เพราะฉนั้นเราจะล้างส่วนที่สำคัญด้วยสบู่ ส่วนแขนขาก็เอาน้ำชุบผ้าแล้วเช็ดเอา พยายามใช้ไม่เกิน 1 ลิตร เฮ้อ.. อีกอย่างทะเลทราย ตลอด 360 องศาไม่มีต้นไม้สักต้น ราบเรียบ ไม่อาบไม่เช็ดก็ไม่ได้ เราเลยต้องเดินออกไปไกลหน่อย ไกลเกินไปก็ไม่ดีเดี๋ยวหาทางกลับไม่ถูกอีก 🙂 ถือคติที่ว่าถ้าเราไม่มองเขาเราก็ไม่รู้ว่าเขามองเรา

ทะเลทราย ต้นไม้สักต้นหามีไม่ เดินออกไปไกล ๆ หน่อยละกัน บางทีมีพุ่มไม้เล็ก ๆ ก็ยังพอบังได้นิดหน่อย

ทะเลทราย ต้นไม้สักต้นหามีไม่ เดินออกไปไกล ๆ หน่อยละกัน บางทีมีพุ่มไม้เล็ก ๆ ก็ยังพอบังได้นิดหน่อย

ในที่สุดเราก็มาถึงเบนู (Beyneu) เมืองที่อยู่ใกล้ชายแดนระหว่างคาซัคฯ และ อุซเบคฯ ประมาณ 80 กม. เป็นเมืองที่ไม่ว่าใครจะไปทางไหนก็ต้องผ่านเบนูก่อน เรารู้ว่าที่นี่เราสามารถเช๊คอินเข้าโรงแรมที่ดีหน่อย หลังจากที่ประหยัดค่าโรงแรมมา 5 คืนแล้วคืนนี้ขออาบน้ำนอนในห้องแอร์เสียหน่อย ตอนแรกคิดว่าจะเอาเสื้อผ้าให้เขาซักในเครื่อง แต่มาคิดอีกทีกลัวว่าเครื่องเขาจะเสียเอา เลยซักมือกัน คิดว่าซักน้ำก่อนแล้วค่อยซักแฟ๊บตามวิธีที่เราซัก ๆ กัน แต่ที่ไหนได้ น้ำที่สามยังดำปี๋อยู่เลย ไม่ใช่แค่เสื้อผ้าที่ต้องซัก 3-4 รอบ ขนาดอาบน้ำยังต้อง 2 รอบกว่าน้ำที่ไหลลงท่อจะดูเป็นปกติ 🙂

น่าปั่นมั้ย?

น่าปั่นมั้ย?


หยุดพักเหนื่อยถ่ายรูปกันหน่อย

หยุดพักเหนื่อยถ่ายรูปกันหน่อย


หน้าโรงแรมที่่เบนู

หน้าโรงแรมที่่เบนู

Uzbekistan

We left the sandy town Beyneu on Tuesday july 2 and entered Uzbekistan on July 3rd (wednesday). We then raced the 436 km from the border to the town of Nukus in just 3 days. The internet connection here is very bad and although we have prepared posts we can not upload them. You will simply have to wait 2-3 more days until we arrive the silk road city of Khiva.

We are fine and Wejs knee works perfectly.

Wej & Joakim

อัซเซอร์ไบจาน => Baku (บาคุ) 6 วัน ขึ้นเรือไป Aktau (อัคเทา) ประเทศคาซัคสถาน

วันที่เรามาถึงบาคุ เราได้เจอนักปั่นสองคนจากเยอรมัน (ซีมอนและโทมัส) เขาจะไปประเทศอุซเบกิสถานและทาจิกิสถาน สำหรับคนสวีเดน ถ้าจะเข้าอุซเบกิสถานต้องมีจดหมายเชิญ แต่คนเยอรมันไม่ต้อง ซึ่งจดหมายนี้ต้องทำที่บริษัททางอินเตอร์เนตโดยส่งรายละเอียดไปให้เขาทางอีเมลย์ และเมื่อเสร็จแล้วเขาจะส่งมาให้เราทางอีเมลย์เช่นกัน เราไม่ได้จ่ายเพิ่มจากราคาตามปกติเลยต้องรอ 10 วันทำการ และเมื่อคำนวณเวลาดูแล้วคิดว่าน่าจะทันอยู่ เพราะเรายังทำเวลาได้ตามที่เคยวางแผนไว้

แคสเปี้ยนโฮสต์เทลที่บาคุ

แคสเปี้ยนโฮสต์เทลที่บาคุ

เข้าบาคุมาได้หลายวันละ แต่ยังไม่ได้ไปเที่ยวดูสถานที่ท่องเที่ยวของเขาเลย เพราะเราวุ่นอยู่กับการขอวีซ่า นั่งรถแท๊กซี่ รถเมลย์ไปกลับสถานฑูตไม่รู้กี่เที่ยว ไปยื่นเอกสาร ได้เบอร์บัญชีมา กลับเข้าไปในเมืองไปชำระค่าธรรมเนียมที่แบงค์ อ่า…ไม่ใช่แบงค์ไหนก็ได้นะ ต้องเป็น International Bank of Azerbaijan เท่านั้น แล้วค่อยกลับไปสถานฑูตอีกทีเพื่อประทับตราวีซ่าที่หนังสือเดินทาง แฮ่…แต่คุ้มตรงที่ว่า เราได้วีซ่าของทั้งสองประเทศภายในวันเดียวกัน เพราะทางสถานฑูตไม่ได้เก็บหนังสือเดินทางของเรา เราจึงสามารถขอวีซ่าของทั้งสองประเทศพร้อมกันได้ เท่าที่เคยอ่านในเว็บต์ต่าง ๆ เขาบอกว่าการขอวีซ่าของทั้งสองประทศนี้ค่อนข้างยุ่งยากแต่เราไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย กลับคิดว่าเขาใจดีออก โดยเฉพาะกงศุลของอุซเบกฯ ดูเป็นกันเอง แต่เห็นท่าทางความเร็วในการทำงานของเขาแล้ว มันดูเชื่องช้ามาก แต่เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากรออย่างใช้ความอดทน ส่วนสถานฑูตคาซัคสถานเขานัดเราให้ไปรับวันศุกร์ แต่เราไปวันพฤหัส 🙂 เขาจำเราได้และบอกว่า “อ้าว..ฉันบอกให้พวกเธอมาวันศุกร์ไม่ใช่รึ?” ฮี่ๆๆ เราหันหน้าเข้าหากัน “อ้าว..วันนี้ไม่ใช่วันศุกร์รึ? ถ้างั้นขอเช๊คว่าเสร็จหรือยัง?” 🙂 เขากลับเข้าไปในห้องอีกที เราได้ยินเสียงพริ้นเตอร์ รู้สึกมีความหวังขึ้นมาหน่อย หลังจากนั้น 15 นาที เขาออกมาและบอกว่ามีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย จ้าก…อะไรหรือคะ? คือเวชได้วีซ่า 3 เดือน ส่วนโจคิมได้ 1 เดือน เฮ่อ..ค่อยยังชั่วนึกไปถึงอะไร ๆ ที่แย่กว่านั้น เช่นโจคิมได้วีซ่าแต่เวชไม่ได้

หลังจากนี้ไปก็ไม่ต้องเป็นกังวลอีกต่อไปสำหรับการขอวีซ่า

หลังจากนี้ไปก็ไม่ต้องเป็นกังวลอีกต่อไปสำหรับการขอวีซ่า

ตอนที่ออกจากทบิลิซิ เราออกมาก่อนเพื่อน ๆ นักปั่นคนอื่น ๆ (บาเทค, ไซม่อน, มาร์โกะ) ที่เรารู้สึกสนิทด้วยตั้งแต่เจอกันที่บาทุมิเมืองท่าของจอร์เจีย เพราะเราคิดว่าเราอยากไปเรื่อย ๆ เพื่อดูอาการเข่า ไม่อยากไปถ่วงเวลาเขา แต่อภินิหารมีจริง และแปลกมาก แค่ขยับเบาะและซ่อมรางใต้เบาะ แค่นั้น เข่าที่เจ็บทุกครั้งที่ปั่นเหยียดเท้าลงก็หายเป็นปลิดทิ้ง เพราะก่อนหน้านี้ยังคิดอยู่ว่า เข่าที่เจ็บนี่จะทำให้เราเดินทางต่อได้หรือไม่??? จะทำให้แผนการเดินทางสิ้นสุดลงตรงนี้หรือ??? ตอนนี้หายดีแล้วรู้สึกปลอดโปล่งโล่งใจมาก ไชโย!!!

ปัญหาที่เข่าหายไป ต่อไปคือฟัน 🙂 จากแค่ปวดหนึบ ๆ ที่เหงือก คิดว่ากินยาแก้ปวดคงจะหาย โนๆๆ มันยังปวดหนึบ ๆ แต่ทนได้ จนกระทั่งเข้าบาคุเริ่มบวมนิด ๆ เลยเป็นกังวลเพราะถ้าปล่อยไว้และปวดมากขึ้นอาจจะหาหมอฟันในทะเลทรายยากหน่อย น่าจะไม่มีมากกว่า คงถูกถอนสด ๆ กลางตลาดแน่ 🙂 เลยรีบเข้าไปหาข้อมูลในอินเตอร์เนต และได้ความว่ามีหมอฟันอินเตอร์ในเมือง เลยโทรไปจองเวลา โชคดีที่เขามีเวลาวันนั้นตอนเย็น หลังจากได้พบหมอฟัน สรุปว่าซี่ที่เคยรักษารากฟันถูกบัคเทเลียเข้ารุมล้อม ไม่คิดว่าที่ปวดจะมาจากรากฟัน เพราะเคยรักษาแล้วไม่น่าจะเกิดอะไรขึ้น เลยวางใจ ได้ยาแอนตี้ไบโอติคมากินไปก่อน เพราะไม่มีเวลารักษารากฟันตอนนี้ เอายานี้ช่วยประวิงเวลาไปก่อน หมอเขาว่าน่าจะช่วยได้ 6 -12 เดือน ถึงเมืองไทยค่อยจัดการต่อ ตอนนี้ค่อยยังชั่ว น่าจะดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะกินหมดไปครึ่งหนึ่งแล้ว

มีรูปนี้ที่ถ่ายใกล้ ๆ ที่พัก คงต้องกลับมาบาคุอีกครั้งแบบนักท่องเที่ยวธรรมดา ๆ :-)

มีรูปนี้ที่ถ่ายใกล้ ๆ ที่พัก คงต้องกลับมาบาคุอีกครั้งแบบนักท่องเที่ยวธรรมดา ๆ 🙂

ตึกเปลวไฟที่โด่งดังของบาคุ

ตึกเปลวไฟที่โด่งดังของบาคุ

อยู่ที่บาคุเราเรียกแท๊กซี่กันเป็นว่าเล่น ทำให้นึกถึงบ้านเรานิด ๆ พอจะไปไหนทีก็กวักมือเรียกแท๊กซี่ที แต่รถเมล์ที่นี่ดีนะ 0.20 เคอเพ๊ก (เศษสตางค์ของเขา) ตลอดสาย ไม่ต้องมีกระเป๋ารถเมล์ ทุกคนรู้หน้าที่วางเงินให้ตรงข้าง ๆ คนขับ ออกจากที่พักไม่ค่อยรู้ว่าจะนั่งสายอะไร แต่ขากลับเราจะขึ้นสายอะไรก็ได้ ขอให้เข้ามาใกล้เมืองหน่อยแล้วถ้าไม่เดินกลับก็เรียกแท๊กซี่ต่อ บาคุช่วงเวลาเร่งรีบรถติดมาก เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาเราออกไปหาซื้อยางนอกสำรองไว้และอะไหล่อื่น ๆ อีกนิดหน่อยที่ร้านจักรยาน เพราะถ้าออกจากบาคุแล้วคงหายาก พอไปถึงที่ร้านก็เห็นว่ามีของที่มีคุณภาพทั้งนั้น และได้เจอกับหนุ่มน้อย “มัคซุด” ที่สามารถสื่อสารกันได้ เราคุยและเช๊คกับเขาหลายเรื่อง แต่เรื่องเกียร์ของโจคิมที่เราอธิบายแล้ว แต่เขานึกภาพไม่ออก เขาเลยถามว่าเราพักที่ไหน ปรากฎว่าบ้านหนุ่มน้อยของเราอยู่ห่างจากที่เราพักไม่กี่ร้อยเมตร เขาเลยอาสาจะมาดูจักรยานให้หลังเลิกงาน

ช่วงเย็นที่รอมัคซุดมา เจ้าของเกสเฮาส์ไม่ได้ข่าวอะไรจากเรือ เพราะเขาโทรไปถามให้ทุกวันที่บูธขายตั๋วเรือว่ามีเรือมั้ย มีตั๋วมั้ย แต่พวกเราสื่อสารกับเธอได้ไม่เต็มท่ี เราเลยนึกถึงหนุ่มน้อยมัคซุด ขอให้เขามาเป็นล่ามจำเป็นให้เรา ซึ่งเขาก็เต็มใจที่จะช่วยเหลือ แต่เราก็ต้องรอเขาจนกว่าเขาจะเลิกงาน วันนี้รถติดมากเพราะมีการซ้อมเดินขบวนพาเหรดทหาร เพื่อวันจริง (26 มิย.) ไม่รู้เหมือนกันว่ามันสำคัญอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ คือทำให้ชาวบ้านลำบาก เขาปิดถนนรถไม่ขยับ เราเลยลงจากแท๊กซี่เดินกลับ ตั้ง 3 กม.

หนุ่มน้อยฮีโร่ของเรา ช่วยตั้งแต่เรื่องจักรยานจนกระทั่งเราขึ้นเรือออกจากบาคุ

หนุ่มน้อยฮีโร่ของเรา ช่วยตั้งแต่เรื่องจักรยานจนกระทั่งเราขึ้นเรือออกจากบาคุ

เมื่อคืนมัคซุดมาไม่ได้เพราะติดฝนเลยขอเลื่อนเป็นวันถัดไป วันนี้เป็นวันมิดซัมเมอร์ที่สวีเดน ครอบครัวโจคิมคงฉลองกันใหญ่ และฝนก็คงจะตกที่โน่นด้วยอากาศเป็นอย่างนี้ทุกปี เช้าวันต่อมาเราไปทำธุระกัน พอกลับมาถึงที่พักเพื่อน ๆ ได้ข้อมูลใหม่ว่าเรือจะเข้าท่าคืนนี้ตอนสองทุ่ม พอดีกับที่มัคซุดมาดูจักรยานให้ เลยได้เขาช่วยเป็นสะพานภาษา สรุปว่าเรือเข้าจริงแต่จะออกเมื่อไหร่ไม่มีใครให้คำตอบได้ เพราะแล้วแต่ว่าเรือจะเต็มหรือจะโหลดรถโหลดของเสร็จเมื่อไหร่ เพราะเรือลำนี้จริง ๆ เป็นเรือบรรทุกสินค้า รับผู้โดยสารได้ไม่มาก เราไม่สามารถนั่งรอที่เกสต์เฮาส์เพราะไม่มีท่ี เจ้าของเขาโทรและจองตั๋วให้เราไว้แล้ว 7 คน เป็นนักปั่นทั้งหมด มี ไทย, สวีเดน, โปแลนด์, สโลเวเนีย, นิวซีแลนด์และเยอรมัน 2 คน นานาชาติจริง ๆ เที่ยงเราต้องเช๊คเอาท์ ทุกคนเลยวุ่นจัดการกับสัมภาระของตัวเอง เพราะที่โฮสต์เทลเขามีคนมาอยู่ต่อจากเรา มัคซุดเป็นล่ามช่วยแปลตั้งแต่เรื่องเรือ ตั๋ว เช๊คเอาท์ แต่จะไปนั่งรอเรือที่ไหนกันล่ะ ไปที่ท่าเรือเลยก็น่าเบื่อ หนุ่มน้อยมัคซุดเสนอให้เราไปนั่งในสวนใกล้ ๆ เงียบสงบจากจราจรและไม่มีผู้คนพลุกพล่านเท่าไหร่ เป็นคำแนะนำที่ดีมาก พอคุยกันไปคุยกันมา ได้รู้ว่าเขาแค่มาทำงานช่วงซัมเมอร์ระหว่างมหาลัยปิดเทอมภาคฤดูร้อน เราโชคดีที่ไปเจอเขาที่ร้านวันนั้น จากนั้นเขาก็กลับไปที่ร้านทำงานต่อ เรานั่งเล่นนอนเล่นในสวนนั้น จนกระทั่งมีทีวีช่องหนึ่งมาทำข่าวท้องถิ่น เขาเลยขอสัมภาษณ์โจคิมและถ่ายรูปพร้อมจักรยาน

สวนสาธารณะที่มัคซุดแนะนำให้เราไปนั่งรอเรือ เรานั่งเล่นนอนเล่นอยู่ตรงนี้จนเกือบหกโมงเย็น

สวนสาธารณะที่มัคซุดแนะนำให้เราไปนั่งรอเรือ เรานั่งเล่นนอนเล่นอยู่ตรงนี้จนเกือบหกโมงเย็น

เราคิดว่าถ้ามัคซุดมาช่วยเรื่องภาษาน่าจะดี เพราะไม่มีใครในกลุ่มที่สามารถสื่อสารภาษาอัซเซอร์ฯ หรือรัสเซียได้ เลยลองส่งข้อความไปถามมัคซุดว่าเขาจะว่างตามเราไปที่ท่าเรือหรือเปล่า? หลังจากนั้นเราปั่นไปที่ท่าเรือกัน พอปั่นไปถึงทางเข้ามีทหารยืนอยู่และกั้นไม่ให้เราเข้าไป กำลังจะเดินเข้าไปคุยกับทหารก็หันมาเห็นมัคซุดพอดี น่ารักมากอุตส่าห์ตามมาช่วย แล้วเราก็ปั่นเป็นขบวนตามมัคซุดเข้าไปในส่วนของท่าเรือ

สหายทั้งเจ็ด มีเราเตี้ยที่สุดและเหมือนทุกครั้งคือเป็นผู้หญิงคนเดียวในกลุ่ม :-)

สหายทั้งเจ็ด มีเราเตี้ยที่สุดและเหมือนทุกครั้งคือเป็นผู้หญิงคนเดียวในกลุ่ม 🙂

อัซเซอร์ไบจาน => จาก Balakan (บาลาคัน) Qabala (คาบาลา) Samaxi (ชามาเคอะ) เข้า Baku (บาคุ)

เมื่อวานเราคุยกันว่าจะออกกันแต่เช้า สุดท้ายก็ไม่เป็นผลเพราะเวลาที่แตกต่าง เช่นเมื่อคืนที่จอร์เจีย 5 ทุ่มแต่ที่อัซเซอร์ไบจานเที่ยงคืน หุหุ .. ยังหาข้ออ้างไปเรื่อย 🙂 🙂 เวชเป็นคนตื่นยาก ขี้เซาต่อให้นอนเร็วแค่ไหนก็ไม่สามารถตื่นเช้าได้ 🙂 เฮ่อ…แต่ต้องพยายามล่ะ เพราะได้ข่าวจากเพื่อนสองคนชาวอังกฤษ “นิคกะทอม” เขาเริ่มปั่นตั้งกะตี 4:30 เอ่อ…ตอนทำงานยังไม่เคยตื่นเช้าขนาดนี้เลยนะเนี่ย คงต้องพยายามทำให้ได้ เพราะไม่อย่างนั้นได้ถูกย่างในทะเลทรายแน่ ความศิวิไลซ์จุดสุดท้ายคงจะเป็นที่บาคุนี่แหละ พอข้ามไปเอเชียกลางเมื่อใด เมื่อนั้นข้าพเจ้าจะแปลงร่างเป็นแบทวู้แม่น ปิดน้าปิดตาปิดคอให้หมดเลย

ยังมีข้ออ้างอีกข้อหนึ่ง 🙂 คือตรงที่เรากางเต้นท์เป็นเหมือนที่ที่เขาเอาวัวมาปล่อยให้เล็มหญ้ากัน วัวเดินกันเป็นแถวยาวเข้ามาเลย และก็เห็นหนุ่มน้อยคนหนึ่งขี่ม้าตามหลังวัวเกือบร้อยตัวเข้ามาแล้วก็ปิดรั้วไม้ง่าย ๆ ของเขา เราก็รีบทักทายเขาก่อน ตอนแรกกลัวว่าเขาจะต่อว่าเราว่ามากางเต้นท์ในที่ของเขาโดยไม่ขออนุญาติ แต่กลายเป็นว่าเขากลัวว่าเราจะถูกงูมาเล่นงานเสียมากกว่า เพราะงูชุม เราก็เห็นด้วย เพราะเห็นงูแผ่นเยอะเหมือนกันตามถนนที่ปั่นผ่านมา ดูเขาสนใจเต้นท์และเครื่องไม้เครื่องมือของเรามาก ขอลองนั่งหน้าเต้นท์ ขอถ่ายรูปกับเรากับจักรยาน จนกระทั่งเราเก็บทุกอย่างและพร้อมที่จะออกเดินทาง เขาก็ควบม้ากลับมาหาเราอีกทีและชวนไปดื่มชาที่บ้านเขาที่อยู่ห่างออกไปอีกประมาณ 2-300 เมตร

โจคิมกับหนุ่มน้อย ”รัทซุ” เจ้าของวัวเกือบร้อยตัวนั่น

โจคิมกับหนุ่มน้อย ”รัทซุ” เจ้าของวัวเกือบร้อยตัวนั่น

หลานสองคนของรัทซุ

หลานสองคนของรัทซุ

ปั่นออกมาจากร่มเงาปุ๊บก็ร้อนทันทีทันใด นี่แหละโทษฐานไม่ยอมตื่นเช้า ถนนบางช่วงแทบจะไม่มีต้นไม้ เป็นที่โล่ง ๆ ถ้าตรงไหนมีต้นไม้ที่นั่นมีคนจองหรือนอนพักอยู่ก่อนแล้ว เราเลือถนนเส้นนี้เพราะไม่ค่อยมีจราจรมากมายนัก แต่ไม่น่าเชื่อว่าจะหาปั้มยาก คือถ้ามีก็อยากจะใช้บริการห้องน้ำที่นั่น แต่จริง ๆ แล้วขออนุญาติต้นไม้ใบหญ้าดีกว่าเยอะเลย เพราะห้องน้ำตามปั้มนั้นสกปรกและบางทีเหม็นมาก ดีเหมือนกันนะได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนเพราะข้ามไปทางเอเชียกลางคงได้เจอที่แย่กว่านี้แน่นอน นิคและทอมบอกเล่าว่าให้ฟังว่าในหมู่บ้านที่ใหญ่หน่อยที่คาซัคสถานเขาขายน้ำลิตรละ 1 USD แต่ระหว่างทางอาจจะลิตรละ 3 USD เฮ้อ…แล้วในหนึ่งอาทิตย์ที่วางแผนว่าจะปั่นข้ามทะเลทรายช่วงนั้นข้าพเจ้าจะได้อาบน้ำสักกี่ครั้ง คงได้รู้กันต่อไป เพราะตัวเองก็อยากรู้เหมือนกัน 😉 อากาศร้อนมาก ร้อนจนขนลุกวูบ ๆ มองไปข้างหน้าเห็นต้นไม้อยู่ต้นหนึ่ง แต่ก็ไม่มีที่ว่างเสียแล้ว คิดดู แข็งใจปั่นไปอีกหน่อยแต่ไม่ไหวแล้ว ร้อนมาก เห็นข้างหน้ามีติดป้ายร้านกาแฟและเห็นรถบรรทุกจอดอยู่สามคัน ตอนแรกคิดว่าจะเข้าไปที่ร้าน แต่เห็นหนึ่งจำนวนคนขับรถบรรทุกกวักมือเรียก เกรงใจเขาเพราะเขาอุตส่าห์กวักมือเรียก เลยปั่นเข้าไปหาตั้งใจว่าจะขอพักตรงที่ร่ม ๆ เท่านั้นเอง แต่ปรากฎว่าพวกเขาเป็นคนตุรกีขับจากอิสตันบูลและกำลังมุ่งหน้าไปบาคุเลยต้องงัดสมุดโน๊ตเล่มน้อยที่จดคำศัพท์ออกมาใช้อีกครั้งหนึ่ง ตอนนั้นประมาณบ่ายแก่ ๆ แล้ว เขากำลังพักเพื่อกินอาหารกลางวันกัน ชวนเราให้กินด้วยกัน เราปฏิเสธเป็นพิธี ดีนะที่เข้าคะยั้นคะยอให้กินด้วยกันไม่อย่างนั้นคงได้อดกัน 😉 ขนาดได้เจอกันที่ต่างบ้านต่างเมืองคนตุรกีก็ยังเป็นคนตุรกีที่มีน้ำใจล้นเหลือ ประทับใจจริง ๆ

เจ้าภาพชาวตุรกี กำลังจกปลากินกัน ขนมปังจากเมืองทรับซอน รสชาติสลัดที่คุ้นเคย ปิดท้ายด้วยชา โอ..สุดยอด

เจ้าภาพชาวตุรกี กำลังจกปลากินกัน ขนมปังจากเมืองทรับซอน รสชาติสลัดที่คุ้นเคย ปิดท้ายด้วยชา โอ..สุดยอด

ที่พักอีกจุดหนึ่งที่คนขายมะเขือเทศให้กินโดยที่ไม่ยอมรับเงิน ตรงไหนมีที่ร่มตรงนั้นคือที่ชุมนุมเล็ก ๆ ของผู้คนที่สัญจรไปมา

ที่พักอีกจุดหนึ่งที่คนขายมะเขือเทศให้กินโดยที่ไม่ยอมรับเงิน ตรงไหนมีที่ร่มตรงนั้นคือที่ชุมนุมเล็ก ๆ ของผู้คนที่สัญจรไปมา

ที่อัซเซอร์ไบจานนี่เขาตั้งป้ายได้ใกล้ร้านจริง ๆ ไม่เหมือนที่อื่น ๆ ที่ปั่นผ่านมา เราเห็นป้ายบอกว่ามีร้านอาหาร ด้านล่างของป้ายบอกว่าอีก 30 เมตร คือเห็นป้ายปุ๊บก็ได้เวลาเลี้ยวเข้าร้านเลย บางครั้งมีความรู้สึกว่าเขาคิดราคาตามใจชอบ แต่อาจจะไม่ใช่ก็ได้ เราอยากจะรู้ก่อนด้วยแหละว่าเราต้องจ่ายเท่าไหร่ เลยถามราคาก่อนที่จะสั่งอาหาร ถามไม่พอบางทีมีการต่อด้วย ร้านแรกพอทานเรียบร้อยแล้วเจ้าของร้านยังปัดเศษทิ้งให้อีก เขาคงสงสารเราปั่นมาร้อน ๆ แต่ไม่รู้ว่าในใจเขาจะคิดอะไรอื่นหรือเปล่า แต่เราไม่อยากรู้ 😉 ความที่เราไม่มีแผนที่เลยรู้สึกเหมือนเราปั่นเรื่อยเปื่อย แล้วเราก็เห็นทางรถไฟ จากแผนที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราสามารถดูจากหนังสือท่องเที่ยว Lonely Planet ที่ซื้อและเซฟไว้ในไอแพด ก็เห็นว่าเราปั่นอ้อมอีกแล้ว ขึ้นเขาแบบเนิบ ๆ ยาว ๆ แต่ลงแค่แป๊บเดียว

เนินเล็กเนินน้อยนี่มีมากมายเหลือเกิน ตรงนี้เรากำลังปั่นข้ามไปอีกเมืองหนึ่งตามที่เคยมีคนแนะนำว่าทางสวย สวยจริงแต่ค่อนข้างโหด ดีนะที่เข่าดีขึ้นแล้ว ;-)

เนินเล็กเนินน้อยนี่มีมากมายเหลือเกิน ตรงนี้เรากำลังปั่นข้ามไปอีกเมืองหนึ่งตามที่เคยมีคนแนะนำว่าทางสวย สวยจริงแต่ค่อนข้างโหด ดีนะที่เข่าดีขึ้นแล้ว 😉

พอลงมาถึงทางเรียบเราลองเข้าไปเช๊คกับปั้มน้ำมัน ตอนนั้นหกโมงกว่าแล้ว ลองถามถึงอินเตอร์เนตเขาบอกว่ามี โห..ดีใจแทบตาย หนึ่งจะได้เช๊คแผนที่และเส้นทางต่อไป สองจะได้ส่งข้อความถึงเพื่อน ๆ ที่ปั่นตามมา สามจะได้ติดต่อกับสมาคมจักรยานที่บาคุ เวลาผ่านไป หลังจากที่เช๊คเส้นทางข้างหน้าแล้ว ปรากฎว่าเป็นทางชันนิด ๆ 2 ยอดกว่าจะถึงเมืองที่เราตั้งใจจะไปให้ถึงวันนี้ ทุ่มหนึ่งแล้ว จอดดีกว่า ลองถามที่ปั้มเรื่องกางเต้นท์ เขาว่าถ้าเราปั่นไปอีกนิดนึง จะมีที่กางเต้นท์ริมน้ำ สามารถลงไปเล่นน้ำได้ โห..น่าสน แต่จริง ๆ อยากอยู่ที่ปั้มเพราะเขามีเน๊ต 😉 เขาชี้ทางให้แล้วเลยปั่นไปดู ปรากฎว่าสวยน่านอนอย่างที่เขาว่า แต่วันนั้นเป็นวันศุกร์คนเยอะมาก และคิดว่ากว่าเขาจะกลับบ้านกันคงจะดึก เลยปั่นออกมา ก็มีร้านกาแฟฝั่งตรงข้ามกวักมือเรียกเรา เลยเข้าไปขอเขากางเต้นท์ที่สนามหญ้าหลังร้านเขาเสียเลย

กางเต้นท์หลังร้านกาแฟ เราพยายามไม่คุยเรื่องเงินกับเขา บางทีเขาชอบถามว่าจักรยานเราราคาเท่าไหร่ เราบอกแค่ว่ามันเก่าสิบปีแล้ว ไม่ได้โกหกนะ จริง ๆ

กางเต้นท์หลังร้านกาแฟ เราพยายามไม่คุยเรื่องเงินกับเขา บางทีเขาชอบถามว่าจักรยานเราราคาเท่าไหร่ เราบอกแค่ว่ามันเก่าสิบปีแล้ว ไม่ได้โกหกนะ จริง ๆ

วิวระหว่างทาง เทือกเขาคอเคซัสที่ยังมีมาให้ชมอยู่แทบตลอดทาง

วิวระหว่างทาง เทือกเขาคอเคซัสที่ยังมีมาให้ชมอยู่แทบตลอดทาง

ไม่ค่อยได้หยุดถ่ายภาพกันสักเท่าไหร่แต่ตรงนี้อดไม่ได้ มองไปทางเทือกเขานี่แหละเสียส่วนใหญ่

ไม่ค่อยได้หยุดถ่ายภาพกันสักเท่าไหร่แต่ตรงนี้อดไม่ได้ มองไปทางเทือกเขานี่แหละเสียส่วนใหญ่

ระหว่างทางที่ปั่นออกจากตรงนี้ไป เราปั่นผ่านป่าไม้ใบที่ดูร่มรื่นและคิดว่าตรงจุดนั้นเป็นเหมือนอุทยานอะไรสักอย่าง มีร้านค้ามากมายโชคดีที่ไม่ค่อยมีรถมากนัก

ระหว่างทางที่ปั่นออกจากตรงนี้ไป เราปั่นผ่านป่าไม้ใบที่ดูร่มรื่นและคิดว่าตรงจุดนั้นเป็นเหมือนอุทยานอะไรสักอย่าง มีร้านค้ามากมายโชคดีที่ไม่ค่อยมีรถมากนัก

ไม่รู้ว่าคนอัซเซอร์ไบจานได้ยินที่เราบ่นว่าเขาหรือเปล่าว่าไม่น่ารักเท่าคนตุรกี ชอบกดแตรใส่ หลายวันมานี้เจอแต่คนน่ารักใจดี ลดราคาค่าอาหาร ซื้อมะเขือเทศแต่ไม่ยอมเอาตังค์ แถมยังให้มาอีกสองลูกก่อนที่จะออกจากที่พักกินอาหารเที่ยงกัน ไปนั่งพักซื้อโค้กมาดื่ม เราเหนื่อยกันมากเลยไม่ค่อยอยากสมาคมกับชาวบ้านมากนัก สักพักคุณลุงเจ้าของร้านเอาผลไม้มาให้กินเป็นถุงเลย ระหว่างทางที่จะปั่นเข้าบาคุร้อนมาก เราเห็นร้านขายแตงโมข้างทาง จอด รอตั้งนานกว่าจะมีโอกาสได้ข้ามไปที่ร้าน เขาคงเห็นความตั้งใจของเราที่จะกินแตงโมของเขา ตามธรรมเนียมเราถามราคา เขาไม่บอกอะไรแต่ทำท่าว่าเดี๋ยวฉันผ่าให้กินไปนั่งเต๊อะ เอ่อ…โอเค ขอบคุณค่ะ

คุณน้าใจดีทั้งสอง เขามีสวนอยู่อีกฝากหนึ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากร้านฝั่งนี้

คุณน้าใจดีทั้งสอง เขามีสวนอยู่อีกฝากหนึ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากร้านฝั่งนี้

ภาพบรรยากาศระหว่างทางเข้าบาคุ ดูรูปอีกทียังรู้สึกร้อนเลย

ภาพบรรยากาศระหว่างทางเข้าบาคุ ดูรูปอีกทียังรู้สึกร้อนเลย

ถนนที่เห็นไกล ๆ นั่นคือเส้นทางที่เราจะปั่นเข้าบาคุ เห็นแล้วเหนื่อยใจ แต่วันนั้นเราโชคดีบางช่วงเพราะพระอาทิตย์เล่นซ่อนแอบในเมฆบ่อย ;-)

ถนนที่เห็นไกล ๆ นั่นคือเส้นทางที่เราจะปั่นเข้าบาคุ เห็นแล้วเหนื่อยใจ แต่วันนั้นเราโชคดีบางช่วงเพราะพระอาทิตย์เล่นซ่อนแอบในเมฆบ่อย 😉