Kirgizistan

คีร์กีซสถาน => Osh (โอช) ไป Sary-Tash (ซารีทัช)

หลังจากร่ำลากับครบครัวที่ชวนเราไปกินอาหารเช้า เราปั่นเรื่อย ๆ เพราะชายแดนระหว่างอุซเบกฯ กับ คีร์กีซฯ ไม่ไกลมากนัก พอเรามาถึงจุดตรวจ เราปั่นไปที่ประตู ไม่เห็นว่าเขาปิดอยู่ พอไปถึงตรงนั้นก็มีเจ้าหน้าที่มาขอดูหนังสือเดินทาง เขาปล่อยให้เราเข้าไปทางประตูที่เขาปิดไว้ เลยนึกถึงนักปั่นชาวเบลเยี่ยมที่เคยเจอกันที่ทบิลิซิ เขาเคยบอกว่า ตรงนี้เขาให้สิทธิพิเศษกับนักท่องเที่ยวก่อน วันนั้นเราแซงคิวถึง 4 คิว ยังคิดว่าถ้าต้องรอคิวที่ยาวนั่น คงได้นอนค้างคืนตรงนั้นแน่นอน เพราะคิวที่ประตูทางเข้าด้านนอกยังอีกยาว

เราปั่นเข้าโอช (Osh) ถึงประมาณบ่ายแก่ ๆ ปั่นเข้าเมืองใช้เวลามากกว่าปั่นตามทางเพราะถนนซอกซอยเยอะมาก พอมาถึง โอชเกสต์เฮาส์ เขาบอกว่าตึกนั้นเต็มแต่มีอีกที่หนึ่งเดินไปอีกหน่อย โอเค..เดินก็เดิน พอไปถึง เวชนึกว่าโอชอยู่สูงถึง ~1000 ม.จากระดับน้ำทะเล อากาศน่าจะดีหน่อย แต่เปล่าเลย ร้อนอย่างกับอยู่ในเตาอบ พอไปถึงห้องที่เขาพูดถึง ไอ่หย๋า โค…ตรจะร้อน หน้าต่างเปิดไม่ได้แถมปิดด้วยแผ่นพลาสติค พัดลมก็ไม่มี อบมาก นั่งเฉย ๆ ยังร้อน เราเลยเอาแผ่นรองนอนของเราและเอาผ้าปูที่นอนของเขามาปูนอนที่พื้นตรงระเบียงที่ลมสามารถเล็ดลอดเข้ามาได้ ช่วยได้นิดหน่อย แต่ก็ยังร้อน เลยเอาผ้าเช็ดตัวไปชุบน้ำแล้วเอามาห่มขา วันรุ่งขึ้น ไม่มีการลังเลค่ะ เก็บแพ๊คกระเป๋า ย้าย!!! ธรรมดาจะขี้เกียจย้ายไปย้ายมาถ้าไม่จำเป็น แต่ครั้งนี้ทั้งจำเป็นและสุดจะทน

ระเบียงที่เราปูนอนกันบนพื้นตรงข้ามกับจักรยาน เสียดายเขามาเก็บเข้าที่เสียก่อน ไม่ทันถ่ายรูปไว้ประจาน

ระเบียงที่เราปูนอนกันบนพื้นตรงข้ามกับจักรยาน เสียดายเขามาเก็บเข้าที่เสียก่อน ไม่ทันถ่ายรูปไว้ประจาน

ย้ายมาอีกที่หนึ่ง ไกลจากตรงนั้นหน่อย แต่ก็เข้ามาใกล้ร้านพิซซ่าที่อยากกินมานาน เพื่อนเคยเตือนว่าอย่าสั่งอันใหญ่เพราะมันใหญ่มาก เวชสั่งอันเล็กยังกินไม่หมดเลย ที่โอชเกสต์เฮาส์ส่วนใหญ่คนที่มาอยู่คือเด็ก ๆ ที่มีงบน้อยเลยต้องทนอยู่กันไป จึงมีนักท่องเที่ยวมากมายหลายประเทศมาพบปะกันที่นี่ วันที่เราไปกินพิซซ่ากัน มีคนเยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน โปแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ สวีเดนและไทย แต่ที่ใหม่ที่เราย้ายไปนั้นค่อนข้างเงียบ อาจจะเป็นเพราะราคาที่แพงขึ้นมาอีกหน่อยแต่ที่เราได้จากที่โรงแรมนี้ก็คุ้มกับการฉลองที่เราปั่นมาได้ครึ่งทาง มีแอร์, อินเตอร์เนต, อาหารเช้าและบรรยากาศสบาย ๆ เพราะเขามีสวนหย่อมให้นั่งเล่น เราได้เจอสามี (ฝรั่งเศส) ภรรยา (มาเลย์) คู่หนึ่งมาเดินเทรคกิ้งที่คีร์กีซสถาน สามีเป็นกุ๊กและเป็นครูสอนทำอาหารฝรั่งเศสที่มาเลเซียด้วย ส่วนภรรยาเป็นนักเขียนเกี่ยวกับอาหารให้กับนิตยสารฉบับหนึ่ง ทั้งสองคนชอบทำอาหาร เราชวนเขาออกไปกินพิซซ่า แต่เขาว่าเขาจะทำอาหารกินกัน และถามเราว่าอยากจะร่วมโต๊ะด้วยมั้ย? แน่นอนสิค่ะ กุ๊กใหญ่มาทำให้กินถึงที่จะปฏิเสธได้อย่างไร 🙂 เริ่มต้นก็สนุกแล้วโดยที่เราติดตามไปซื้อของสดในตลาด นี่ไม่สด นั่นดูไม่ดี เป็นเราก็หยิบไปแล้ว เพราะเลือกไม่เป็น 🙂 ในระหว่างหั่น ๆ สับ ๆ เขาก็จะบอกเคล็ดลับนั่นนี่ให้ฟังตลอด ไม่มีการเก็บเป็นความลับ เหมือนกับว่าฉันบอกเธอแล้วเก็บได้แค่ไหนก็เก็บไป แถมชวนเราปั่นจักรยานไปหาเขาที่มาเลย์อีกด้วย น่าสน 🙂

เด็กที่โรงแรมขี้เล่นหัวเราะเก่ง คุยกันไม่รู้เรื่องแต่ความพยายามเธอสูง ตัวเล็กนิดเดียว

เด็กที่โรงแรมขี้เล่นหัวเราะเก่ง คุยกันไม่รู้เรื่องแต่ความพยายามเธอสูง ตัวเล็กนิดเดียว

บรรยากาศในห้องอาหาร และพนักงานของเขามีคนใส่เสื้อสีขาวเท่านั้นที่คุยภาษาอังกฤษได้ แต่น่ารักทุกคน

บรรยากาศในห้องอาหาร และพนักงานของเขามีคนใส่เสื้อสีขาวเท่านั้นที่คุยภาษาอังกฤษได้ แต่น่ารักทุกคน

โอชเป็นเมืองที่ไม่มีอะไรให้เที่ยวชมมากมายนัก เพราะฉนั้นเราจึงมีโอกาสได้พักผ่อน ดูแลจักรยาน ซักผ้า ติดต่อและสไกป์คุยกับหม่าม๊าและเพื่อน ๆ ที่เมืองไทยและที่สวีเดน เตรียมตัวและของใช้ต่าง ๆ ทำความสะอาดเครื่องครัว เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีน้ำใช้ เลยใช้ทิชชูชุบน้ำและเช็ดเอาคราบอาหารออกเท่านั้น

ในตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเขา

ในตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเขา

หมวกนี่ดูท่าทางน่าจะร้อน แต่ยังเห็นเขาใส่กัน งง เคยซื้อมา ขนาดใส่ที่สวีเดนยังร้อนเลย

หมวกนี่ดูท่าทางน่าจะร้อน แต่ยังเห็นเขาใส่กัน งง เคยซื้อมา ขนาดใส่ที่สวีเดนยังร้อนเลย

ก่อนจะออกจากโอช คิดว่าน่าจะใช้เวลา 2 วันปั่นไปเมืองซารีทัช (Sary-Tash) น่าจะเรียกว่าหมู่บ้านมากกว่าเพราะเล็กมากแต่ที่หมู่บ้านนี้มีทางแยกที่ไปประเทศทาจิกิสถานและจีน และตั้งแต่เขาเปิดชายแดนที่หมู่บ้านอีร์เกชทัม (Irkeshtam) ซึ่งห่างจากซารีทัชไป 70 กว่าโล จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านหมู่บ้านนี้เยอะมาก เราเห็นว่าระยะทางจากโอชไปซารีทัชแค่ 184 กม. 🙂 2 วันน่าจะปั่นถึงแต่ลืมไปนิดว่ามันเป็นทางเขาแถมขึ้นมากกว่าลงและสูงประมาณ 3600 ม. และออกสายอีก กว่าจะเตรียมอะไรเสร็จเวลาบ่ายสามออกจากโอชได้หน่อยเห็นนักปั่น 3 คนปั่นสวนทางเราไป แต่ตอนนั้นอยู่ในเมือง เลยได้แค่โบกมือให้กัน พอออกมานอกเมืองหน่อยก็มาเจออีกคนหนึ่ง เขาปั่นมาจอดฝั่งเราเป็นคนอังกฤษ และบอกว่ารู้จัก 3 คนนั้นที่เราเจอก่อนหน้านี้ด้วย เขาปั่นมาจากซารีทัชภายใน 1 วัน ตอนหลังถึงเข้าใจว่าทำไมเขาถึงทำได้ เพราะขึ้นแค่นิดหน่อยส่วนใหญ่จะลงมากกว่า ลงจาก 3615 ม.มาที่ 1000 ม. แต่แสดงว่าเขาไม่จอดถ่ายรูปหรือชมวิวเลย เพราะตอนที่เราปั่นไปซารีทัชเราจอดและถ่ายรูปกันบ่อยมาก เพราะทางเขานั้นสวยมากและภูเขาหลากสี สีแดง เขียว เทา รถไม่ค่อยมีเท่าไหร่ มีรถบรรทุกคันหนึ่งโบกให้เราเกาะท้ายไปตอนขาขึ้น แต่ไม่ไหวค่ะน่ากลัว กลัวเสียหลักล้มง่าย อีกคันหนึ่งบอกให้เอาจักรยานขึ้นมาด้วยเลย ใจดีจังแต่เราอยากปั่นกันไปมากกว่า

ภาพระหว่างทางปั่นข้ามเขาไปหมู่บ้านซารีทัช

ภาพระหว่างทางปั่นข้ามเขาไปหมู่บ้านซารีทัช

เราแวะพักที่ปั้มเพราะเห็นว่ามีร้านขายของ ซึ่งไม่ค่อยเห็นสักเท่าไหร่ที่นี่ เอ..ขวดนี้แพงกว่าขวดนั้น ถ้าอย่างนั้นเราหยิบขวดที่ถูกดีกว่า พอไปจ่ายตังค์ อ้าว..ทำไมมันแพงจัง โห..มันเล่นคิดเงินตามใจมันเลย จาก 58 เป็น 88 หงุดหงิด เลยเอาขยะไปยัดถังมันอย่างแรง เจ็บใจ เจอคู่อิตาลีปั่นตามมาเจอเราตอนเรากำลังจะไปเลยเตือนเขาเรื่องนี้ ช่วงนี้อากาศยังร้อนอยู่ รู้สึกหิวโค้กเลยแวะที่ร้านข้างทาง ซึ่งไม่ค่อยเห็นบ่อยล่ะ เพราะทางเริ่มจะชันขึ้นเรื่อย ๆ กำลังคุยกับเจ้าของร้าน ก็เห็นมีนักปั่น 3 คนลงจากเขามา เย้..หนึ่งในนั้นมีเพื่อนเราที่แยกกันที่ซามาร์คันด้วย “ยูฮันเนส” คนเยอรมัน เขาเจอนักปั่นคู่หนึ่งจากโปแลนด์ระหว่างทางเลยปั่นด้วยกัน ตอนแรกคิดว่าจะได้เจอยูฮันเนสที่โอช เพราะเราหยุดอยู่ที่นั่นนานกว่าที่เคยวางแผนไว้ และเขาก็หยุดอยู่ที่พามีร์ไฮเวย์ในทาจิกิสถานนานกว่าที่เขาเคยคิดไว้เหมือนกัน แต่ก็ยังดีที่มาเจอกันกลางทาง แยกกันไปและมาเจอกันอีกทีสนุกดี ได้คุยและเช็คสถานการณ์ซึ่งกันและกัน ยูฮันเนสยังได้เจอกับบาเทค คนโปแลนด์ที่ปั่นก่อนหน้าเราหนึ่งวันด้วย

ลายังฉลาดมายืนรอรถเมลย์แทนที่จะเดินขึ้นเชาไปเอง ;-)

ลายังฉลาดมายืนรอรถเมลย์แทนที่จะเดินขึ้นเชาไปเอง 😉

เราแยกกับยูฮันเนสและคู่โปแลนด์ พวกเขาไปกันแล้ว แต่เรายังติดคุยอยู่กับคนแก่คนหนึ่ง คำถามส่วนใหญ่คือมาจากไหน กำลังจะไปไหน ถามเสร็จแกทำท่าเหมือนอวยพรให้เรา ค่ะ ขอบคุณค่ะ พอเราจะปั่นออกไปแกหยิบขนมปังและแอปเปิ้ล 2 ลูก เดินมาให้ ขอบคุณค่ะกำลังต้องการทีเดียว ระหว่างทางเราปั่นผ่านหมู่บ้าน มีเด็กเล็กมากมาย น่าจะเป็นเพราะว่าช่วงนี้โรงเรียนปิดเทอม พวกเขาชอบออกมาที่ถนน ยื่นมือมาให้เราแปะมือกับเขา ดีที่ไม่ค่อยมีรถ แต่รู้สึกไม่ค่อยปลอดภัย กลัวไปชนเด็กเพราะเล่นวิ่งข้ามฝั่งมาอีกทางหนึ่งและไม่ใช่แค่คนหรือสองคน บางทีวิ่งกันมาเป็นขบวนเลย คิดว่าเขาคงเคยชินกับนักปั่นนะ เพราะถนนเส้นนี้เหมือนเป็นทางด่วนของจักรยานก็ว่าได้ อย่างที่เคยบอกข้างต้นว่าปลายทางที่หมู่บ้านซารีทัชมีทางแยกไปประเทศทาจิกิสถานและจีน เราปั่นมาจนกระทั่งเห็นทางขึ้นเขา ก็ค่อนข้างแน่ใจว่าน่าจะเป็นทางซิกแซกชัน ๆ ขึ้นเขาไป เลยจอดกางเต้นท์ตรงนั้น

จุดกางเต้นท์ที่สวยอีกจุดหนึ่ง

จุดกางเต้นท์ที่สวยอีกจุดหนึ่ง

ออกจากที่กางเต้นท์นึกว่าตรงนั้นคือที่เริ่มต้นไต่ขึ้นเขาอย่างท่ีคิด แต่เปล่าเราต้องปั่นไปอีกเกือบ 30 กม. ผ่านร้านอาหาร แต่เราเพิ่งกินขนมปังและกาแฟ เลยยังไม่หิว ซื้อแต่ชาและน้ำซ่า ๆ พอจะจ่ายตังค์เขาบอกไม่เก็บ ขอบคุณค่ะ ปั่นไปซารีทัชไม่ง่ายอย่างที่คิดเลยนะเนี่ย ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาถึงตรงถนนซิกแซกชัน ๆ เหนื่อยมาก เพราะท้องว่าง กินแค่ชาที่ร้านตอนเช้าเปิดถั่วกระป๋องกิน แต่ไม่พอ ผ่านหมู่บ้านเล็ก ๆ แต่ร้านขายของไม่เปิด อยากจะเข้าไปเคาะประตูบ้านชาวบ้านขอขนมปังเขาเลยแหละ แต่คิดว่าน่าจะไหว เลยปั่นกันต่อ โจคิมยังพอมีแรงอยู่แต่เราเริ่มหมดแรง มีขนมและช๊อคโกแลตก็กินหมดไปแล้วแต่ก็ยังไม่ถึงเสียที พอขึ้นถึงจุดสูงสุด โจคิมบอกว่ามันจะลงนิดหน่อยและจะขึ้นอีกหน่อย แค่บอกก็รู้สึกหมดกำลัง พอมาเจอของจริง หมดกำลังใจเลย ต้องปั่นขึ้นอีกตั้ง 2 กม. แง ๆ ๆ เอา..กัดฟันปั่นขึ้นไป เฮ้อ…กว่าจะสนุกกับการลงแทบดิ้น ช่วงขาลงมีมอเตอร์ไซค์สองคันขับแซงเราไปกดแตรทักทายเรา เราก็โบกมือให้ เรามาจอดตรงสามแยกกำลังคิดว่าจะไปทางไหน เห็นหนึ่งในมอเตอร์ไซค์นั่นขับมาแล้วจอดตามขวางที่ป้ายบอกทาง เขาอยากจะถ่ายรูป แต่ปรากฎว่าจอดไม่ดี เสียหลักล้มลง เอาขึ้นเองไม่ได้ เราก็เหนื่อย โจคิมไม่มีขาตั้ง เราเลยไม่ได้ไปช่วยเขา มีชาวบ้านแถวนั้นวิ่งไปช่วย พอมันขึ้นมาได้ มันหันมาเหน็บเราว่า “ขอบคุณที่ไม่มาช่วยมัน ฉันก็จะไม่ช่วยเธอเช่นกัน” บ๊ะ…ไอ่เวร ช่างมัน ปล่อยมันไป แล้วเราก็เลี้ยวไปหาอะไรกิน มันดันตามมากินที่เดียวกับเรา พอมันเห็นเรา มันบอกพื่อนมันว่า “สองคนนี้แหละที่ไม่ช่วยฉัน” โห..คุณนายเวชระเบิด เฮ้ย…จะมากเกินไปละนะ แกขับมอเตอร์ไซค์แต่พวกฉันปั่นจักรยานข้ามเขามา เหนื่อยก็เหนื่อย หิวก็หิว มันต้องรู้สิ เพราะมันแซงเรามา นี่ถ้าโจคิมไม่เบรคเราไว้มีหวังไอ่เวรนั่นคอขาด เพื่อนมันยังดียังมาขอโทษ ไอ่เวรนี่เป็นคนแรกเลยที่ทำให้อารมณ์เสีย

วิวระหว่างทาง

วิวระหว่างทาง

SONY DSC

ชมเขาสูงสะเพลินไปเลย ด้านหนึ่งมีหิมะ แต่อีกด้านหนึ่งไม่เขียวก็เทาไปทั้งเขา

ชมเขาสูงสะเพลินไปเลย ด้านหนึ่งมีหิมะ แต่อีกด้านหนึ่งไม่เขียวก็เทาไปทั้งเขา

แฮ่..เหนื่อย อากาศเริ่มเบาบาง ปั่นซิกแซกโดยอัตโนมัติ แต่ก็พยายามท่องดึงกด ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ

แฮ่..เหนื่อย อากาศเริ่มเบาบาง ปั่นซิกแซกโดยอัตโนมัติ แต่ก็พยายามท่องดึงกด ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ

ก่อนจะไหลลงจากระดับประมาณ 3800 ม.แอ๊คกันเสียหน่อย ;-)

ก่อนจะไหลลงจากระดับประมาณ 3800 ม.แอ๊คกันเสียหน่อย 😉

หลังจากกินอาหารเรียบร้อยแล้ว เราปั่นอกจากซารีทัชตอนสี่โมงเย็น ปั่นไปได้ 13 กม.ได้ sms จากบาเทคว่าชายแดนของคีร์กีซสถานปิดถึงวันจันทร์ เพราะเขาฉลองวันสุดท้ายของศีลอด พอได้ sms ยังไม่ทันได้คิดอะไร ฝนตกอีก ปั่นหนีฝนต่ออีกนิด พอฝนหยุดเราลองเช็คในไกด์บุ๊คว่าหมู่บ้านถัดไปมีอะไรมั้ย? ไม่มี ตอนแรกคิดว่าจะหาที่กางเต้นท์ คิดไปคิดมาตัดสินใจกลับมาที่ซารีทัชละกันอย่างน้อยก็เป็นหมู่บ้านใหญ่กว่าหน่อย ตอนแรกว่าจะปั่นกลับแต่เผอิญเห็นรถบรรทุกจอดเติมน้ำข้างทาง เลยขออาศัยเขามาด้วย ลมเริ่มแรง ฝนเริ่มตก โชคดีที่ไม่ได้อยู่กลางทุ่ง พอมาถึงในหมู่บ้าน เราพักกันอีกที่หนึ่งที่ไม่ใช่ที่เดียวกันกับไอ่เวรนั่น ที่ที่เราพักเราเจอคนเช็คฯ คุยสนุก เขามีไอเดียที่จะเปิดเกสต์เฮาส์ที่ประเทศสถาน ๆ นี่ ถ้าเขาสามารถทำได้ นักท่องเที่ยวน่าจะมาพักที่ของเขามากกว่าแน่นอน

เด็กขี่ลาคนที่เราเจอบนเขาด้วย หมั่นไส้เล็กน้อย เราเหนื่อยมันดันขี่ลาอยู่ข้าง ๆ แล้วผิวปาก เลยโบกมือบอกให้มันไปก่อนเลย หรือ "รีบ ๆ ไป เลยไป" สะมากกว่า :) แต่ดันมาพักอยู่ที่บ้านของไอ่เด็กคนนี้ เฮ้อ...

เด็กขี่ลาคนที่เราเจอบนเขาด้วย หมั่นไส้เล็กน้อย เราเหนื่อยมันดันขี่ลาอยู่ข้าง ๆ แล้วผิวปาก เลยโบกมือบอกให้มันไปก่อนเลย หรือ “รีบ ๆ ไป เลยไป” สะมากกว่า 🙂 แต่ดันมาพักอยู่ที่บ้านของไอ่เด็กคนนี้ เฮ้อ…

ตอนที่เราได้ข้อความจากบาเทค ตอนนั้นอีกแค่ 20 นาทีเขาจะปิดชายแดน ทำอย่างไรเราก็ไปไม่ทัน อีกตั้ง 50 กว่าโล เรากลับมาที่ซารีทัชและรู้สึกเหนื่อย ๆ เพราะความสูงถึง 3600 ม.นี่ หรือเป็นเพราะเราหักโหมปั่นขึ้นเขามา เราเดินไปเดินมาในหมู่บ้านถามหาข้อมูลเกี่ยวกับชายแดนว่าเปิดปิดกี่วัน แต่ละคนให้ข้อมูลที่ไม่เหมือนกันสักคน วันนี้เจอนักปั่นจากนิวซีแลนด์, เยอรมัน และนักโบกจากออสเตรเลีล, แคนาดา, ฝรั่งเศสและโปแลนด์ ทุกคนติดอยู่ที่นี่กันหมด แปลกตรงที่ชายแดนระหว่างคีร์กีซสถานกับจีนปิด แต่ที่ระหว่างทาจิกิสถานกับคีร์กีซสถาน กลับไม่ปิด เพราะเราเห็นรถบรรทุกมาจากเส้นทางนี้ตลอดเวลา ทุกคนที่จะเดินทางต่อไปจีนติดอยู่ที่นี่กันหมด ไปไหนไม่ได้ ไปได้แค่ถึงชายแดนที่ยิ่งไม่มีอะไรเลย จริง ๆ เราจะเดินขึ้นเขาไปชมวิว ดูยอดเขาเลนินที่อยู่ติดชายแดนระหว่างคีร์กีซสถานและทาจิกิสถานก็ได้ แต่แค่เดินไปหาซื้อของก็เหนื่อยแล้ว เลยนอนพักผ่อนชมวิวจากหน้าต่างที่เกสต์เฮาส์แทน ที่ชายแดนปิดตั้งแต่วันพุธเวลา 18.00 น. และตั้งแต่วันพุธนั้นเราไม่สามารถไปไหนได้จนกระทั่งถึงวันอาทิตย์ที่เริ่มปั่นให้ใกล้ชายแดนเข้ามาหน่อย ช่วงที่เรารออยู่นั้นเป็นช่วงเวลาที่บางครั้งน่าเบื่อเมื่อคุยกันถึงตอนพลาดและความที่ไม่รู้ว่าเขาเปิดหรือปิดกันแน่ แต่ก็น่าสนใจเมื่อได้พบกับเพื่อนร่วมห้องที่คุยสนุกมีสาระ เริ่มมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะจากที่มีอยู่และไม่สามารถเดินทางต่อก็มีมาเพิ่ม บางคณะก็เดินทางกลับไปเมืองโอช ย้อนกลับไปอีก 180 กม.ส่วนเราก็ถือโอกาสพักผ่อน

ถนนที่เห็นเป็นทางไปทาจิกิสถาน ฝั่งตรงข้ามไปจีน ตรงไปกลับโอชของคีร์กิซสถาน

ถนนที่เห็นเป็นทางไปทาจิกิสถาน ฝั่งตรงข้ามไปจีน ตรงไปกลับโอชของคีร์กิซสถาน

สภาพหมู่บ้านซารีทัช พูดถึงก็ไม่ค่อยแย่ แต่ไม่มีอะไรให้ดูให้ทำนัก เดินขึ้นเขาอย่างเดียว ปั่นมาก็เหนื่อยละเลยขี้เกียจเดินขึ้นอีก ;-)

สภาพหมู่บ้านซารีทัช พูดถึงก็ไม่ค่อยแย่ แต่ไม่มีอะไรให้ดูให้ทำนัก เดินขึ้นเขาอย่างเดียว ปั่นมาก็เหนื่อยละเลยขี้เกียจเดินขึ้นอีก 😉

คีร์ซกิสถาน => Sary-Tash (ซารีทัช) Irkeshtam (อีร์เกชทัม) ไป จีน => Kashgar (คัชก้า)

หลังจากที่รู้ว่าชายแดนปิดถึงวันจันทร์ เวชไม่คิดอะไรเลยถามครั้งเดียวพอ อีกอย่างความเป็นเอเซียด้วยมั้งที่คิดว่า ในเมื่อวันพฤหัสฯ เป็นวันหยุด คนคีร์กิซฯ น่าจะฉวยโอกาสหยุดวันศุกร์ไปด้วยเลย รับข้อมูลมาและไม่ค่อยคิดอยากจะถามอีก ไม่เหมือนโจคิมกับเพื่อนใหม่ชาวเชคฯ สองคนนี้เดินวนไปวนมา ถามคนท้องถิ่นทางโน้นทีทางนี้ที คุยกับนักท่องเที่ยวคนอื่น ๆ เวชเริ่มปวดหัว ยิ่งพูดยิ่งปวดหัว น่าจะเป็นเพราะว่าซารีทัชอยู่สูงถึง 3170 ม.จากระดับน้ำทะเล เช้าวันต่อมาหน้าตาเริ่มบวม ๆ ตอนกลางคืนขยับตัวทีเหนื่อยถึงขนาดหอบเลย ความท่ีอากาศไม่ร้อนจึงไม่จำเป็นต้องอาบน้ำทุกวัน อิอิ ซกมกจริง ๆ แต่ก่อนที่เราจะออกเดินทางต่อไปและไม่รู้ว่าจะได้อาบน้ำราดทั้งตัวอีกครั้งเมื่อไหร่เลยขอให้เขาต้มน้ำให้อาบ เพราะที่นั่นอุณหภูมิประมาณ 13-14 องศาเอง ได้น้ำเย็นมาถังหนึ่งและกระบวยมาตักน้ำร้อนจากในกระทะใบใหญ่ (ที่เขาต้มด้วยอึวัวแห้ง ดีที่กลิ่นมันหายไปกับแสงแดด 🙂 ) ผสมกันดีแล้วก็อาบในที่แจ้งนั่นโดยมีรั้วสูงขึ้นมาแค่ถึงเอวเวชได้มั้ง ถ้าคนสูง ๆ อาจจะแค่เข่า อยากราดทั้งตัว ถ้ามายืนในคอกแบบนี้มีหวังหมดโอกาส เลยหิ้วกระถังน้ำไปห้องน้ำที่มีประตูปิดมิดชิดแถมกลิ่นก็มิดชิดยู่ในนั้น แรงอีกต่างหาก ยอมทน เพราะดีกว่าไปยืนตากลม พออาบเสร็จสั่นหงึก ๆ เลย ทำให้เพื่อนใหม่ชาวเชคฯ ไม่ค่อยอยากอาบเท่าไหร่ 🙂 อยู่ตามแถบภูเขา เชื้อเพลิงที่ได้จึงไม่ค่อยได้มาจากไม้แต่เป็นขี้วัวตากแห้ง โจคิมว่าที่สวีเดนจะใช้ขี้วัวเป็นปุ๋ยเสียมากกว่า ส่วนจะเอามาเป็นเชื้อเพลิงนั้นไม่ค่อยมีเพราะกว่าขี้วัวจะแห้งใช้เวลานานเกิน แต่ที่คีร์กิซสถานนั้น ตากแค่ชั่วโมงหนึ่งก็แห้งแข็งแล้วมั้ง เพราะอากาศบนภูเขาค่อนข้างแห้ง

อึวัวแห้งสำหรับเป็นเชื้อเพลิงอยู่ข้าง ๆ กระทะน้ำร้อนใช้อาบและเอาไปชงชาด้วย โจคิมเห็นเขามาตักใส่กระติกน้ำร้อน เอางัยเอากัน ยังงัยน้ำก็ถูกต้มแล้ว หวังว่าคงฆ่าเชื้อไปหมด

อึวัวแห้งสำหรับเป็นเชื้อเพลิงอยู่ข้าง ๆ กระทะน้ำร้อนใช้อาบและเอาไปชงชาด้วย โจคิมเห็นเขามาตักใส่กระติกน้ำร้อน เอางัยเอากัน ยังงัยน้ำก็ถูกต้มแล้ว หวังว่าคงฆ่าเชื้อไปหมด

อีกวันรุ่งขึ้นเพื่อนคนโปแลนด์ส่ง sms มาให้และบอกว่าเขาโชคดีคือตอนที่จะเขากางเต้นท์มีน้ำไม่พอ เลยปั่นกันต่อเข้าไปในหมู่บ้านเล็ก ๆ และได้ข่าวจากชาวบ้านว่าพรุ่งนี้เป็นวันหยุดถ้าจะผ่านชายแดนไปจีนควรจะไปตอนนี้เลยนั่นคือตอนเกือบจะหกโมงเย็นนั่นเอง โชคดีของเขาไป แต่เราคิดว่าเราได้พักที่หมู่บ้านซารีทัชก็ดีเช่นกัน ได้พักผ่อนหลังจากที่ปั่นข้ามเขาที่เคยได้อ่านจากที่ไหนสักแห่งว่าเส้นทางข้ามเขาไปหมู่่บ้านซารีทัชเป็นเส้นทางที่สวยที่สุดองคีร์กิซฯ คิดว่าเห็นด้วยเต็ม 100% จากภาพที่ถ่ายมาให้ชมกันเป็นแค่เสี้ยวหนึ่งที่กล้องสามารถจับได้ แต่เราไม่สามารถถ่ายทอดธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้เห็น 360 องศา

แล้ววันอาทิตย์ที่เรารอคอยก็มาถึง เราออกเดินทางไม่เช้านัก เส้นทางสวยอย่างที่ไม่สามารถปั่นผ่านไปอย่างที่ไม่หยุดถ่ายภาพได้ วันแรกจะขึ้นเขาเสียส่วนใหญ่ และหลังจากห้ำหั่นกับความสูง เราก็มาจอดที่ไหล่ทางเพื่อหาที่กางเต้นท์ หาไม่ยากแต่ไม่มีน้ำอย่างที่เพื่อนชาวโปแลนด์ว่า แต่เราตุนน้ำมาด้วยแล้วจึงไม่มีปัญหา แค่ต้องต้มทำความสะอาดแต่ก็ต้องใช้อย่างประหยัด

จุดกางเต้นท์หลังจากไหลลงจากเขามา จริง ๆ อยากจะไหลลงต่อไป แต่จะมืดเสียก่อน ตรงนี้หนาวมาก ลมแรง หินที่เห็นนั่นคือเอามาบังลมค่ะ แต่พอดึกหน่อยลมเริ่มอ่อนแรงลง อุณหภูมิอยู่ที่ 6-7 องศา

จุดกางเต้นท์หลังจากไหลลงจากเขามา จริง ๆ อยากจะไหลลงต่อไป แต่จะมืดเสียก่อน ตรงนี้หนาวมาก ลมแรง หินที่เห็นรอบ ๆ เต้นท์นั่นคือเอามาบังลมค่ะ แต่พอดึกหน่อยลมเริ่มอ่อนแรงลง อุณหภูมิอยู่ที่ 6-7 องศา

SONY DSC

SONY DSC

เริ่มปั่น อืม..ต้องบอกว่าปล่อยไหลต่อไปอีกไม่นานก็มาถึงจุดตรวจของคีร์ซกิสถานจุดแรก แต่พอผ่านจุดตรวจตรงนี้ อ้าว..ไหงให้เราไต่ขึ้นเขาอีกแล้ว เฮ้อ… ขึ้นก็ขึ้น ทางนี้สวยจริง ๆ มิน่าเพื่อนคนสวีเดนคนหนึ่งที่เคยมาปั่นแถวนี้บอกว่าอยากกลับมาปั่นที่คีร์ซกิสถานอีก เรายังอยากจะกลับมาอีกเลย ทางมีขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดทาง เราผ่านมาถึงหมู่บ้านสุดท้ายซึ่งขึ้นชื่อว่าวางอะไรโดยที่ไม่มีใครเฝ้าไม่ได้เป็นหาย และหมู่บ้านนี้เคยได้ยินว่ามีแผ่นดินไหวเมื่อหลายปีที่แล้ว นั่นอาจจะเป็นเหตุผลที่เขาสร้างบ้านกันใหม่ ไม่รู้้ว่าเป็นเพราะต้องการประหยัดหรือเปล่านะ ทุกหลังมีหลังคาสีฟ้ากันหมด

หมู่บ้านนูรา ดูใหม่ทั้งหมู่บ้าน คาดว่าน่าจะมีจากอุบัติเหตุแผ่นดินไหวเมื่อหลายปีที่แล้ว

หมู่บ้านนูรา ดูใหม่ทั้งหมู่บ้าน คาดว่าน่าจะมีจากอุบัติเหตุแผ่นดินไหวเมื่อหลายปีที่แล้ว

DCIM100GOPRO

เรามาถึงจุดตรวจจุดสองของคีร์ซกิสถาน จะตรวจอะไรกันนักหนานะ ตรงนี้เขาจะประทับตราว่าเราออกจากประเทศ จากจุดนี้เราสามารถปั่นไปได้แค่ไม่กี่ร้อยเมตร ลาดขึ้นเล็กน้อย แต่ถนนแย่มาก อีกไม่นานคงจะดีเพราะเขากำลังก่อสร้างกันอยู่ ถึงตรงนี้จะมีทหารของจีนละ แค่ดูพาสปอร์ตเราและอนุญาติให้เราปั่นต่อไปที่จุดตรวจอีกจุดหนึ่งเพื่อเช็คกระเป๋า หนังสือเดินทาง จดชื่อเรา และที่นี่เองที่นักท่องเที่ยวทั้งหลายทั้งนักปั่น แบ๊คเพ๊คและนักเดินทางอิสระ ต้องจ้างรถแท๊กซี่หรือรถบรรทุกเพื่อไปกองตรวจของจีนซึ่งย้ายเข้าไปในเมืองเข้าไปอีกประมาณ 140 กม. ที่นี่เองเรามาเจอเพื่อนเราคนเชคฯ เขามาถึงก่อนเราจึงได้ออกไปก่อน แต่พวกเขาต้องนั่งแท๊กซี่และเสียค่ารถ แต่เราซึ่งมีจักรยานต้องไปกับรถบรรทุก โชคดีตรงที่รถบรรทุกส่วนใหญ่จากคีร์ซกิสถานไปจีนจะว่างเพราะส่วนใหญ่จะไปบรรทุกของจากจีนมาคีร์ซกิสถานเสียมากกว่า เราได้รถบรรทุกคันหนึ่งซึ่งเห็นหน้าคนขับแล้ว เขาไม่ค่อยเต็มใจเท่าไหร่ แต่เหมือนเจ้าหน้าที่ที่ด่านบังคับเล็ก ๆ คนขับรถเก็บหนังสือเดินทางของเราพร้อมกับเอกสารที่มีรายชื่อเราไว้ ด้วยเหตุผลที่ว่าเรากับรถบรรทุกคันนี้จะต้องเดินทางไปด้วยกันจากจุดตรวจที่นี่ไปจนถึงจุดตรวจที่ประทับตราเข้าประเทศจีนอย่างเป็นทางการ และด้วยระยะทาง 140 กม. ที่ไม่ค่อยราบเรียบเท่าไหร่นัก กระเด้งกระดอนกันเกือบ 4 ชม. พอมาถึง เหมือนคันที่เรานั่งมาด้วยจะมีสิทธิพิเศษมากกว่าคันอื่น คือไม่ต้องต่อแถวตามลำดับ เขาสามารถขับไปด้านหน้าเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาเปิดกุญแจที่ล๊อคคอนเทนเนอร์ไว้ แล้วเขาก็ขับต่อไปเลย ส่วนเราต้องเอาทั้งกระเป๋าและจักรยานไปตรวจที่กองตรวจของจีนอีกครั้งหนึ่ง เอาละค่ะ เจ้าหน้าที่เห็นหน้าเวชปุ๊บก็พ่นภาษาจีนใส่ทันที พูดและบอกได้แค่ว่า “ฉันเป็นคนไทย” คงได้ใช้ประโยคนี้ทั้งสามเดือนในจีนนี่แน่ หน้าหมวยเสียเปล่าเนอะดันพูดไม่ได้ สงสัยต้องกลับไปเรียนภาษาจีนให้คล่องเสียแล้ว โครงการต่อไป 😉

วิวจากรถบรรทุกคันแรก ช่วงนี้ถนนเรียบเพิ่งทำเสร็จใหม่เอี่ยม แต่มีช่วงหนึ่งเขาวางกองทรายกีดขวางเหมือนให้ชลอ แต่นายนี่ไม่อ่ะ ขับเหมือนมองไม่เห็นสิ่งกีดขวางนั่น เราสองคนลอยจากที่นั่ง ของที่เขาอัดไว้ที่ชั้นวางของในรถ เทกระจาดลงมาเป็นกองพะเนินเลย ในใจเรานึกถึงจักรยานสองคันที่นอนอยู่ด้านหลัง นั่งไปก็คิดไปว่าจะมีอะไรหักหรือเสียหายหรือเปล่าน๊า แต่โชคดีไม่เป็นอะไรเลย เฮ้อ...

วิวจากรถบรรทุกคันแรก ช่วงนี้ถนนเรียบเพิ่งทำเสร็จใหม่เอี่ยม แต่มีช่วงหนึ่งเขาวางกองทรายกีดขวางเหมือนให้ชลอ แต่นายนี่ไม่อ่ะ ขับเหมือนมองไม่เห็นสิ่งกีดขวางนั่น เราสองคนลอยจากที่นั่ง ของที่เขาอัดไว้ที่ชั้นวางของในรถ เทกระจาดลงมาเป็นกองพะเนินเลย ในใจเรานึกถึงจักรยานสองคันที่นอนอยู่ด้านหลัง นั่งไปก็คิดไปว่าจะมีอะไรหักหรือเสียหายหรือเปล่าน๊า แต่โชคดีไม่เป็นอะไรเลย เฮ้อ…

และวิวตามทาง

และวิวตามทาง

เราผ่านขั้นตอนการตรวจทุกอย่าง คิดว่าใช้เวลาไม่นานอย่างที่คิด ซึ่งเป็นวันแม่ฤกษ์ดีจริ ๆ เวลาเริ่มเย็นขึ้นเรื่อย ๆ และความที่เราเป็นห่วงว่าจักรยานจะเป็นอะไรหรือเปล่าหลังจากนอนอยู่ในคอนเทนเนอร์ตั้ง 4 ชม.จึงอยากจะเข้าเมืองคัชก้าที่ใหญ่หน่อย เพื่อไปหาร้านจักรยานให้เขาเช็คเสีย เรานั่งหัวสั่นหัวคลอนมาทั้ง 4 ชม.รู้สึกมึนไปหมด อีกอย่างเราได้อาบน้ำแค่ลวก ๆ เลยยิ่งอยากเข้าเมืองไว ๆ ขอโบกรถบรรทุกคันที่สองเข้าคัชก้าละกันซึ่งอยู่ห่างออกไปอีก 100 กม. ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไหร่นะ ตอนนั้นเย็นแล้ว รถบรรทุกบางคันตั้งใจที่จะจอดนอนอยู่แถวนั้นแล้วค่อยขับต่อในวันรุ่งขึ้น เราถามอยู่นานกว่าจะได้คนขับใจดีจากคีร์ซกิสถาน เขายังช่วยเราเอาจักรยานเอากระเป๋าขึ้นคอนเทนเนอร์ข้างหลังให้ คันนี้ขับดีหน่อย ในรถก็ดูสะอาดเรียบร้อยกว่าคันแรกเยอะเลย หน้าต่างก็เปิดปิดโดยใช้ไฟฟ้า ขับมาถึงเมืองเล็ก ๆ เขาจอดข้างทาง เราก็งงว่าจะทำอะไร อ๋อ..แวะกินข้าว

รถบรรทุกคันที่สองที่สะอาดกว่าและโจคิมนั่งได้สบายขึ้นมาหน่อย

รถบรรทุกคันที่สองที่สะอาดกว่าและโจคิมนั่งได้สบายขึ้นมาหน่อย

บรรยากาศในร้านที่เรามาแวะกินข้าวเย็นกันที่ร้านง่าย ๆ แอบถ่ายเลยไม่ชัด ;-)

บรรยากาศในร้านที่เรามาแวะกินข้าวเย็นกันที่ร้านง่าย ๆ แอบถ่ายเลยไม่ชัด 😉

ที่จริงเราจะไม่ให้สตางค์กับเขาก็ได้ แต่เผอิญว่าเรามีเงินคีร์ซกิสฯ เหลืออยู่เลยเทให้เขาไปหมด ก็ประมาณ 4 ยูเอสดอลล่าร์ และเลยเลี้ยงอาหารเขามื้อนั้นด้วย เรานั่งกันมาจนกระทั่งถึงจุดที่รถบรรทุกส่วนใหญ่จะจอดนอนค้างคืน เหมือนทุกครั้งที่เราไปขอนอนในช่วงที่ปั่นในยุโรปตะวันออกและในทะเลทราย แต่เราขอตัวและรีบปั่นเข้าเมืองอีก 7-8 กม.เพื่ออาบน้ำและนอนสบาย ๆ