Monthly Archives: July 2013

คาซัคสถาน => Aktau (อัคเทา) ปั่นผ่านทะเลทราย 5 วันครึ่งไป Beyneu (เบนู)

หลังจากที่ได้ข้อมูลเรื่องเวลาซื้อตั๋วและร่ำลากับหนุ่มน้อยมัคซุดตรงจุดที่รอเรือ เราก็นั่งรอกันไป เรือที่เราจะนั่งไปนี่เป็นเรือบรรทุกสินค้าไม่ใช่เรือโดยสาร เพราะฉนั้นมันจะออกจากท่าก็ต่อเมื่อขนทุกอย่างและเต็มจริง ๆ เราเอาอาหารที่ซื้อตุนไว้มากินกันเป็นอาหารเย็น เพราะได้ข่าวมาว่าบนเรือไม่มีอะไรให้กินและตามจริงแล้วจะใช้เวลาประมาณ 18 ชม.จากบาคุไปอัคเทา แต่ไม่มีใครสามารถเดาได้ว่าเรือจะได้ออกหรือเข้าท่าเมื่อไหร่ และเมื่อไหร่ที่ทางการของคาซัคสถานจะปล่อยให้เรือเข้าท่า และถ้าท่าเรือไม่ว่าง เราก็ต้องลอยอยู่กลางทะเลจนกว่าจะได้สัญญาณจากทางคาซัคฯ นั่นคือเราต้องเตรียมอาหารและน้ำอย่างน้อยสำหรับ 2 วัน เริ่มแบกน้ำกันเสียตั้งแต่ตอนนี้เลยละนะ

เราโชคดีตรงที่ว่าคืนนั้นมีกลุ่มคนเยอรมันที่สามารถพูดภาษารัสเซียได้ หนึ่งในนั้นชื่อ Ed (เอ็ด) คอยช่วยเราด้านข้อมูลและคอยเป็นล่ามให้เราแทนมัคซุด ก่อนหน้านั้นมัคซุดว่าบูธขายตั๋วจะเปิดตอนสองทุ่ม พอนาฬิกาตีสองทุ่มปุ๊บเราเดินไปที่บูธนั้น ยัง ยังไม่เปิดค่ะ เอ็ดเลยจัดการโทรไปถามใครก็ไม่รู้้ที่เขารู้จัก กว่าเราจะได้ซื้อตั๋วก็ตอนแปดโมงเช้าของอีกวันหนึ่ง ได้ตั๋วแล้วไม่ใช่ว่าจะได้ขึ้นเรือเลยนะ โน่น…. รอไปก่อน เพราะอะไรสักอย่างไม่สามารถทราบได้ และประมาณเที่ยงวัน เขาก็เรียกให้เราไปที่กองตรวจเพื่อเช๊คหนังสือเดินทาง เราก็ตื่นเต้นเพราะเรามีหนังสือเดินทาง 2 เล่มเพราะเราส่งอีกเล่มหนึ่งไปขอวีซ่าเข้าจีนที่สวีเดน แต่ตรงนี้ไม่มีปัญหา เขาแค่แสตมป์เราออกจากอัซเซอร์ไบจานเท่านั้น แต่ก็ขอดูอีกเล่มด้วย

ตรงที่เรารอเรือกันเป็นโถงใหญ่ ๆ มีม้านั่งรอบ ๆ ด้านใน พวกเรานักปั่น 7 คน นักบิดมอเตอร์ไซค์ 5 คนชาวเยอรมัน และนักเดิน(ทาง) 1 คนชาวฝรั่งเศส พอดึกได้เวลานอนเราหาที่นอนรอ แต่ละคนก็หามุมของตัวเอง หลายคนถูกยุงกัด แต่เราไม่โดนช่างเป็นเรื่องน่าประหลาด เพราะธรรมดาจะโดนกัดอยู่คนเดียว

จอดจักรยานรอกันเป็นแถวยาว

จอดจักรยานรอกันเป็นแถวยาว

รู้สึกตื่นเต้นพอสมควรพอได้ขึ้นเรือหลังจากที่รออย่างไม่กำหนดแน่นอน บ่ายสองของวันศุกร์เราได้ขึ้นเรือจริง ๆ แต่กว่าเรือจะออกก็ห้าโมงเย็น ในที่สุดเราก็ได้ข้ามและเดินทางต่อไป ความตื่นเต้นของเราเกิดขึ้นปุ๊บก็หมดลงปั๊บหลังจากที่เรารู้ว่าคนขายตั๋วเรือจองที่ให้เรา แต่มีผู้โดยสารมากกว่าห้องพัก ระหว่างที่รอพวกเรารู้สึกเหนื่อย อาจจะเป็นเพราะช่วงที่เราเรือนั้น บรรยากาศค่อนข้างกดดันและต้องลุ้นกันตลอดเวลาว่าเมื่อไหร่คนขายตั๋วจะมา แล้วเราจะได้ไปเมื่อไหร่ ได้ขึ้นเรือแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะเข้าใกล้ประเทศคาซัคสถาน เพราะขึ้นมาแล้วก็ยังต้องรออยู่ตรงนั้น อย่างว่าไม่มีหมายกำหนดการ 🙁

ดูหน้าแต่ละคน ระรื่นหลังจากได้ตั๋วอยู่ในมือ

ดูหน้าแต่ละคน ระรื่นหลังจากได้ตั๋วอยู่ในมือ

บ๊ายบายอัซเซอร์ไบจาน

บ๊ายบายอัซเซอร์ไบจาน

เรื่องห้องพักเพื่อนใหม่ของเรา ”เอ๊ด” จัดการเป็นล่ามให้เรา โดยเดินไปคุยกับกัปตันเรือ เขาสามารถหาให้ได้แค่ 1 ห้องสำหรับ 2 คน เพื่อน ๆ ในแก้งส์เลยยกให้เราสองคนไปนอน ตอนแรกก็ปฏิเสธ แต่คิดอีกทีก็เป็นการดีสำหรับทุกคน ห้องโถงใหญ่นั่นจะได้มีที่มากขึ้น พวกเราจะได้มีห้องน้ำห้องอาบน้ำส่วนตัว ย้ายไป ห้องที่กัปตันให้เราไปอยู่ จริง ๆ เป็นของลูกเรือคนหนึ่ง รู้สึกไม่ค่อยดีที่ไปแย่งที่นอนเขา แต่ในเมื่อเราจ่ายตังค์แล้ว ความเกรงใจเลยน้อยลง พวกเราถูกชาร์ตมากกว่ากลุ่มของเอ๊ดตั้ง 10 USD

บริษัทเรือที่เรานั่งมานี่มีเรืออยู่สองลำ ลำหนึ่งเก่าอีกลำหนึ่งใหม่แต่ที่เรานั่งมาด้วยเป็นเรือเก่า แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเก่าสักเท่าไหร่ เราเริ่มกินอาหารที่เราตุนกันมา แต่อีกสักพักหนึ่งเอ๊ดเดินมาบอกเราว่าเขาจะเสริฟอาหารเย็นเราตอนสามทุ่ม ว้าว… อันนี้ไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจมาก่อน เซอร์ไพรส์ มีเสริฟซุปก่อนและหลังจากนั้นเป็นมักโรนีกับไก่หนึ่งชิ้น สรุปว่ารวมอาหารทุกมื้อ รอดตาย ไม่ต้องกินแต่ขนมปังกับแยมที่เตรียมกันมา

หลังจากผ่านตม.และตรวจหนังสือเดินทาง เราก็เอาจักรยานขึ้นมาจอดและเอากระเป๋าทุกใบขึ้นไปบนเรือ

หลังจากผ่านตม.และตรวจหนังสือเดินทาง เราก็เอาจักรยานขึ้นมาจอดและเอากระเป๋าทุกใบขึ้นไปบนเรือ

เราขึ้นเรือวันเสาร์บ่ายจนกระทั่งบ่ายของวันจันทร์เราสามารถมองเห็นประเทศคาซัคฯจากทะเลแคสเปี้ยน เราก็คิดว่าอีกไม่นานน่าจะได้ขึ้นฝั่งเสียที แต่..กัปตันปล่อยสมอเรือและดับเครื่อง ทำไม??? สักพักหนึ่งเอ็ดเดินมาบอกเราว่าท่าเรือไม่ว่างและเราอาจจะต้องรอจนกระทั่งสี่ทุ่ม นั่นก็ดึกเกินถ้าเราเริ่มปั่นออกจากท่าเรือ เลยบอกเอ็ดให้เขาไปขออนุญาติกัปตันให้พวกเราได้นอนบนเรือจนกระทั่งวันรุ่งขึ้นจะได้หรือเปล่า? หลังจากที่รอให้กัปตันวิทยุไปถาม ก็เป็นอันตกลงว่าเขาจะเอาเรือเข้าท่าวันพรุ่งนี้เช้าแทน ระหว่างที่อยู่บนเรือนั่น ค่อนข้างน่าเบื่อ เรือไม่ใหญ่มาก มีแค่สองชั้น ห้องน้ำสาธารณะมี 1 ห้อง ห้องอาบน้ำมี 2 ห้อง ต่อมาห้องน้ำสาธารณะเต็ม กดน้ำไม่ได้ พวกเราส่วนใหญ่ก็ไปใช้ห้องน้ำที่ห้องพักของเรา และหลังจากนั้นไม่นาน มันก็เต็มด้วย ทีนี้เต็มทุกห้อง ไม่สามารถใช้ห้องน้ำที่ไหนได้ เขาบอกว่ามีใครในกลุ่มของเราทิ้งกระดาษทิชชูลงในโถส้วมทำให้ระบบของเขาเสีย เอ.. ก็เห็นมันกลับมาทำงานได้อยู่นี่นาหลังจากที่เขาสตาร์ตเครื่องยนต์อีกครั้งหนึ่ง เราเลยต้องอดทนกันหรือไม่อย่างนั้นก็ต้องทำธุระของตัวเองซ้ำกับของคนอื่น อึ๋ย…

หกโมงเช้ามีคนมาปลุกให้เตรียมตัว เราแพ๊คและกำลังจะเอากระเป๋าโหลดบนจักรยานก็มีคนมาบอกว่าอาจจะต้องรออีกสัก 2-3 ชม.เพราะเจ้าหน้าที่ทางคาซัคฯ เปลี่ยนเวร เวร!!! สรุปเราใช้เวลานั่งเรือข้ามทะเลจากบาคุไปอัคเทาระยะทาง 450 กม.แต่ใช้เวลา 44 ชม.เป็นการรอคอยที่น่าเบื่อ ถ้าเป็นเรือโดยสารอาจจะมีกิจกรรมอะไรอย่างอื่นให้ทำ แต่ลำนี้ไม่มีอะไรนอกจากต้องรังสรรค์กันเอาเอง ก็ดีเหมือนกัน

หามุมถ่ายรูปเล่นกัน

หามุมถ่ายรูปเล่นกัน

ตอนที่เรารออยู่ก็ไม่รู้จะทำอะไรเลยเดินไปเดินมา กัปตันเดินมาบอกพวกเราทุกคนว่า ”ห้ามเดินออกไปที่กาบเรือ ไม่อย่างนั้นเจ้าหน้าที่ทางคาซัคฯ จะไม่ขึ้นมาตรวจ” เอ่อ..โอเค ไม่รู้ว่าเขากลัวอะไรนักหนานิ อีกไม่นานก็มีเจ้าหน้าที่ขึ้นมาตรวจดูพาสปอร์ตของทุกคนไม่เว้นแม้แต่ลูกเรือ หลังจากที่เราได้พาสปอร์ตของเราแล้ว ก็ลงไปเข็นจักรยานขึ้นฝั่งกัน พอมาถึงตม.ของคาซัคฯ ตรวจพาสปอร์ตอีกครั้งหนึ่ง และโดนซุ่มตรวจในกระเป๋าจักรยานด้วย มีเจ้าหน้าที่ผู้หญิงคนหนึ่งมาตรวจกระเป๋าหน้ารถเวช โห..หล่อนทำท่าหยิบของแต่ละชิ้นในกระเป๋าเหมือนกับมันเป็นสิ่งสกปรกมากยังงัยยังงั้นเลย หมั่นไส้จริง.. แต่ไม่เป็นไรขอให้ฉันผ่านไปก็พอ

นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าคาซัคสถานต้องลงทะเบียนที่ตม.ถ้าอยู่เกิน 3 วัน พอออกจากท่าเรือเราปั่นวนหาตม.อยู่นานเพื่อที่จะได้ประทับตราที่ใบลงทะเบียน หลังจากนั้นซื้อของและอาหารมาตุนสำหรับ 5 วันในทะเลทราย อาหารส่วนใหญ่ที่ซื้อจะเป็นสปาเก็ตตี้ แจม ครีมช๊อคโกแลต คาร์โบไฮเดรตทั้งนั้น เริ่มปั่นออกจากตัวเมืองเพื่อหาที่ตั้งแคมป์ เพราะเริ่มเย็นเดี๋ยวจะมืดเสียก่อน

ดูท่าทางแต่ละคนยืนรอที่หน้าตม. เพื่อให้เขาประทับตราปั้งเดียว แต่ลีลาเยอะ ต้องทำให้ดูเหมือนว่าฉันยุ่งมากนะ

ดูท่าทางแต่ละคนยืนรอที่หน้าตม. เพื่อให้เขาประทับตราปั้งเดียว แต่ลีลาเยอะ ต้องทำให้ดูเหมือนว่าฉันยุ่งมากนะ

ภูมิประเทศของคาซัคสถานค่อนข้างราบเรียบแต่ก็ยังมีเนินเล็ก ๆ น้อย ๆ และแห้งแล้ง มีแต่ต้นไม้เป็นพุ่ม ๆ เล็ก ๆ เตี้ย ๆ บางต้นใบของมันคือหนาม ตอนแรกคิดว่าพอมันแห้งจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลมันถึงจะแข็งเป็นหนามแต่เปล่าเลยมันโตมาเป็นหนามเลยมั้ง น่าจะมีชื่อว่า ”ต้นหนาม”

ที่กางเต้นท์วันแรกที่คาซัคสถาน บนเนิน

ที่กางเต้นท์วันแรกที่คาซัคสถาน บนเนิน


ภาพบรรยากาศระหว่างทาง ดูอบอุ่นเนอะ

ภาพบรรยากาศระหว่างทาง ดูอบอุ่นเนอะ

คืนที่สองเรากางเต้นท์ที่อีกด้านหนึ่งเป็นภูเขาทราย ดูแล้วน่าจะเป็นอะไรที่กันลมได้แต่มันไม่กันฝนให้เรา เพราะพอตกกลางคืนฝนเทลงมาอย่างหนักเลย ตอนเช้าเรานัดกันว่าจะตื่นกันแต่เช้า แต่ฝนมาตกตอนเช้าด้วยก็เลยได้นอนต่ออีกหนึ่งชม. แต่ละคนก็ไม่อยากลุกออกจากที่นอนออกมาเจอเปียก ๆ กัน ตอนที่กำลังเก็บเต้นท์เราเห็นแมงป่องด้วย ตัวนิดเดียวสีมันเหมือนทรายเลย ไม่สังเกตุจะมองไม่เห็นเลยแหละ อีกสักพักก็เห็นตัวเล็ก ๆ อีกตัวหนึ่ง สงสัยเราไปนอนทับประตูบ้านมันหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ที่เราทำกันเป็นประจำคือปิดฝากระเป๋าทุกใบ, เช๊คหมวกและก่อนใส่รองเท้าต้องตรวจดูก่อนว่ามีสัตว์ประหลาดเข้าไปแอบในรองเท้าหรือเปล่า คงไม่น่าจะมี เพราะรองเท้าเราคงไม่หอม นอกจากแมงป่องแล้วโจคิมยังเห็นหนูทะเลทรายด้วย เวชไม่เห็น เห็นแต่จิ้งจกวิ่งปื้ด ๆ ข้ามถนนไป

ตอนเย็นฟ้าใสเลย แต่ตกดึกกำลังจะเข้านอน ฝนดันเทลงมา ไม่หนักมาก แต่ก็ต้องรีบวิ่งเข้าเต้นท์

ตอนเย็นฟ้าใสเลย แต่ตกดึกกำลังจะเข้านอน ฝนดันเทลงมา ไม่หนักมาก แต่ก็ต้องรีบวิ่งเข้าเต้นท์

ส่วนสัตว์ตัวใหญ่ก็เห็นจะเป็นม้าและเจ้าอูฐนี่แหละ มีอยู่สองประเภทคือที่มีสองหน่อ (Camels) และหนึ่งหน่อ (Dromedaries) มันอยู่ทั่วไปจริง ๆ เลยนะ ในทะเลทราย ในหมู่บ้านและในเมืองด้วย ปั่นตั้งแต่จากประเทศที่มีแต่วัว แกะ และแพะ ตอนนี้มาเป็นอูฐและม้า บางตัวก็มีเครื่องหมายเหมือนมันมีเจ้าของ บางตัวถูกล่ามโซ่ที่ขาหน้าทั้งสองขาใกล้ ๆ กัน เพื่อไม่ให้มันเดินไปไหนไกลเกิน ส่วนม้าเกือบแน่ใจว่ามันเป็นม้าป่านะ

อูฐในทะเลทราย

อูฐในทะเลทราย


ม้า ไม่รู้มันมีเจ้าของหรือเปล่า???

ม้า ไม่รู้มันมีเจ้าของหรือเปล่า???

อากาศในทะเลทรายร้อนในช่วงกลางวัน บางวันที่วัดอุณหภูมิของโจคิมวัดได้ถึง 43 องศา ต้นไม้ก็ไม่มีพอถึงเวลาพักก็ต้องมองหาทางน้ำผ่านหรือทางใต้สะพานที่เห็นในรูป เพราะฉนั้นเราเลยตกลงกันว่าจะเริ่มปั่นกันแต่เช้าเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศที่ร้อนจัด แต่ตกตอนเย็นอากาศก็เริ่มเย็น บางวันไม่มีลมจะรู้สึกร้อนแต่พอดึกสงัดจะเย็น ๆ นอนสบาย

อูฐเดินผ่านเราตอนนั่งพักกินอาหารเที่ยงกันที่ใต้สะพานตามถนน

อูฐเดินผ่านเราตอนนั่งพักกินอาหารเที่ยงกันที่ใต้สะพานตามถนน

ทั้ง 5 วันครึ่งที่เราปั่นในทะเลทราย ความที่หน้าถนนขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ มีทรายเป็นบางช่วง ที่แย่คือเราทำระยะทางไม่ได้ แต่ที่ดีคือรถราก็ขับกันช้าลง คนที่คาซัคฯ เวลาเขาทักทายเขาจะกดแตรหนึ่งครั้งและยังโบกมือแถมยิ้มให้อีก บางครั้งก็ยกนิ้วให้ มีครั้งหนึ่งเราแวะเข้าไปที่ร้านชาข้างทาง เจอคนขับรถบรรทุกที่ไม่ค่อยน่ารักเท่าไหร่ พูดจาลามก หลังจากคุยกันได้หน่อย เขาก็สั่งอาหารมาพร้อมทั้งเหล้าวอดก้า 40 ดีกรี ตอนนั้นก็เย็นแล้วคิดว่าพวกเขาคงจะพักกันที่นั่น แต่พอถามว่าเรามาจากไหนกัน เพื่อนเราสองคนมาจากเยอรมัน มันก็โวยวายว่าเพื่อนเราเป็นพวกนาซี มันจะบ้า!!! ไม่ใช่มันบ้าไปแล้ว.. จากที่คิดว่าจะปั่นไปหาที่กางเต้นท์ข้างหน้า เลยเปลี่ยนใจปั่นย้อนกลับไปอีก 3 กม.เพราะกลัวว่าคนขับรถบรรทุกจะขับผ่านตรงที่เราตั้งแคมป์ แต่ก่อนที่จะเรื่อง มีนักปั่นหญิงชาวฝรั่งเศส (เอลิซี) แวะเข้าที่ร้านชา และก็ได้คุยกัน เราเลยชวนเขาไปกางเต้นท์กัน เขาดีใจเพราะนั่นเป็นทางที่เขาจะไป เอลิซีเริ่ีมปั่นจากปักกิ่งย้อนศรพวกเรา เราเลยได้แลกเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างกัน

โจคิมและเพื่อนคนโปแลนด์ทางซ้าย ทางขวาจากสโลเวเนีีย

โจคิมและเพื่อนคนโปแลนด์ทางซ้าย ทางขวาจากสโลเวเนีีย

ความเป็นคนตุรกีนี่รับประกันความใจดีอันดับหนึ่งและได้ถึง 100% ว่ามีความใจดีจริง ๆ ไม่ว่าจะเจอกันที่ไหน ระหว่างทางมีรถบรรทุกจอดคุยกับเรา เวชเห็นป้ายทะเบียนรถแล้ว รู้ว่ามาจากตุรกี แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขามากจากตุรกีด้วยหรือเปล่า เขาชวนให้กินชา โจคิมบอกว่าไม่เอามันร้อน เลยล้อเล่นว่าไม่มีโค้กเย็น ๆ หรือ เขาเลยตะโกนบอกเพื่อนว่าให้ไปหยิบน้ำผลไม้เย็น ๆ มาเสริฟ โห…สดชื่น ดื่มของเขาเสียเกลี้ยงเลย หลังจากนั้นก็มีรถคันหนึ่งมาจอดข้าง ๆ เวชคิดว่าเขาน่าจะล้อเล่นว่าเราปั่นผิดข้าง คุยไปคุยมา ปรากฎเป็นวิศวะจากตุรกี เอาน้ำเอาผลไม้อะไรมั้ย???? ต้องกลับไปเที่ยวตุรกีอีกแน่นอน

มีคืนหนึ่งเพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มซื้อวอดก้ามาดื่มกันที่แคมป์ หลังจากที่วอดก้าหมดขวดไปแล้ว เพื่อนคนเยอรมันบอกว่าเขาค่อนข้างแน่ใจว่าพวกคนขับรถบรรทุกนี่น่าจะมีวอดก้าติดรถมาด้วย พูดเสร็จก็กระโดดขึ้นจักรยานไปดักหน้ารถบรรทุก หลังจากนั้นเขาปั่นกลับมาพร้อมกับรถบรรทุกสองคันตามหลังมาด้วย คนขับรถบรรทุกมาจากรัสเซียเขาบอกว่าวอดก้าไม่มีเอาเหล้าไวน์แดงไปละกันกระป๋อง 5 ลิตร โจคิมว่ารสชาติดี แต่ถ้าเราจะเริ่มปั่นกันตั้งแต่หกโมงเช้ากันก็ไม่ควรดื่มมากมาย มีอยู่สามคนที่นั่งก๊งกัน ไม่รู้ว่าถึงกี่โมงแต่รู้ว่าคืนนั้นนอนไม่ค่อยหลับเพราะพวกเขาเสียงดังกัน ไม่น่าทำลายบรรยากาศแต่ก็เข้าใจพวกเขาเหมือนกัน

ก๊งกันเกือบค่อนคืน พออีกวันรุ่งขึ้นต้องปั่นในความร้อน ก็แฮงค์กันนะสิ ทางยิ่งแย่ ๆ ด้วย

ก๊งกันเกือบค่อนคืน พออีกวันรุ่งขึ้นต้องปั่นในความร้อน ก็แฮงค์กันนะสิ ทางยิ่งแย่ ๆ ด้วย


ปั่น ๆ อยู่จะเห็นพายุทรายเล็ก ๆ แบบนี้ทั่วไปเลย เล็กบ้างใหญ่บ้าง

ปั่น ๆ อยู่จะเห็นพายุทรายเล็ก ๆ แบบนี้ทั่วไปเลย เล็กบ้างใหญ่บ้าง

เรื่องน้ำที่เริ่มมีปัญหาหลังจากที่เราเข้าเขตทะเลทราย เคยค้นหาข้อมูลอยู่เหมือนกันว่ามีร้านค้าทุก ๆ 30 กม. แต่เราก็ยังต้องแบกไปด้วยเพื่อใช้ดื่มทำอาหารระหว่างทางและชำระล้างร่างกายด้วย เราแบกได้อย่างมากคือ 11 ลิตรและมันจะราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ายิ่งเข้าไปในที่ ๆ กันดาร เราไม่สามารถอาบน้ำให้สะอาดหมดจดได้ เพราะฉนั้นเราจะล้างส่วนที่สำคัญด้วยสบู่ ส่วนแขนขาก็เอาน้ำชุบผ้าแล้วเช็ดเอา พยายามใช้ไม่เกิน 1 ลิตร เฮ้อ.. อีกอย่างทะเลทราย ตลอด 360 องศาไม่มีต้นไม้สักต้น ราบเรียบ ไม่อาบไม่เช็ดก็ไม่ได้ เราเลยต้องเดินออกไปไกลหน่อย ไกลเกินไปก็ไม่ดีเดี๋ยวหาทางกลับไม่ถูกอีก 🙂 ถือคติที่ว่าถ้าเราไม่มองเขาเราก็ไม่รู้ว่าเขามองเรา

ทะเลทราย ต้นไม้สักต้นหามีไม่ เดินออกไปไกล ๆ หน่อยละกัน บางทีมีพุ่มไม้เล็ก ๆ ก็ยังพอบังได้นิดหน่อย

ทะเลทราย ต้นไม้สักต้นหามีไม่ เดินออกไปไกล ๆ หน่อยละกัน บางทีมีพุ่มไม้เล็ก ๆ ก็ยังพอบังได้นิดหน่อย

ในที่สุดเราก็มาถึงเบนู (Beyneu) เมืองที่อยู่ใกล้ชายแดนระหว่างคาซัคฯ และ อุซเบคฯ ประมาณ 80 กม. เป็นเมืองที่ไม่ว่าใครจะไปทางไหนก็ต้องผ่านเบนูก่อน เรารู้ว่าที่นี่เราสามารถเช๊คอินเข้าโรงแรมที่ดีหน่อย หลังจากที่ประหยัดค่าโรงแรมมา 5 คืนแล้วคืนนี้ขออาบน้ำนอนในห้องแอร์เสียหน่อย ตอนแรกคิดว่าจะเอาเสื้อผ้าให้เขาซักในเครื่อง แต่มาคิดอีกทีกลัวว่าเครื่องเขาจะเสียเอา เลยซักมือกัน คิดว่าซักน้ำก่อนแล้วค่อยซักแฟ๊บตามวิธีที่เราซัก ๆ กัน แต่ที่ไหนได้ น้ำที่สามยังดำปี๋อยู่เลย ไม่ใช่แค่เสื้อผ้าที่ต้องซัก 3-4 รอบ ขนาดอาบน้ำยังต้อง 2 รอบกว่าน้ำที่ไหลลงท่อจะดูเป็นปกติ 🙂

น่าปั่นมั้ย?

น่าปั่นมั้ย?


หยุดพักเหนื่อยถ่ายรูปกันหน่อย

หยุดพักเหนื่อยถ่ายรูปกันหน่อย


หน้าโรงแรมที่่เบนู

หน้าโรงแรมที่่เบนู

Uzbekistan

We left the sandy town Beyneu on Tuesday july 2 and entered Uzbekistan on July 3rd (wednesday). We then raced the 436 km from the border to the town of Nukus in just 3 days. The internet connection here is very bad and although we have prepared posts we can not upload them. You will simply have to wait 2-3 more days until we arrive the silk road city of Khiva.

We are fine and Wejs knee works perfectly.

Wej & Joakim

อัซเซอร์ไบจาน => Baku (บาคุ) 6 วัน ขึ้นเรือไป Aktau (อัคเทา) ประเทศคาซัคสถาน

วันที่เรามาถึงบาคุ เราได้เจอนักปั่นสองคนจากเยอรมัน (ซีมอนและโทมัส) เขาจะไปประเทศอุซเบกิสถานและทาจิกิสถาน สำหรับคนสวีเดน ถ้าจะเข้าอุซเบกิสถานต้องมีจดหมายเชิญ แต่คนเยอรมันไม่ต้อง ซึ่งจดหมายนี้ต้องทำที่บริษัททางอินเตอร์เนตโดยส่งรายละเอียดไปให้เขาทางอีเมลย์ และเมื่อเสร็จแล้วเขาจะส่งมาให้เราทางอีเมลย์เช่นกัน เราไม่ได้จ่ายเพิ่มจากราคาตามปกติเลยต้องรอ 10 วันทำการ และเมื่อคำนวณเวลาดูแล้วคิดว่าน่าจะทันอยู่ เพราะเรายังทำเวลาได้ตามที่เคยวางแผนไว้

แคสเปี้ยนโฮสต์เทลที่บาคุ

แคสเปี้ยนโฮสต์เทลที่บาคุ

เข้าบาคุมาได้หลายวันละ แต่ยังไม่ได้ไปเที่ยวดูสถานที่ท่องเที่ยวของเขาเลย เพราะเราวุ่นอยู่กับการขอวีซ่า นั่งรถแท๊กซี่ รถเมลย์ไปกลับสถานฑูตไม่รู้กี่เที่ยว ไปยื่นเอกสาร ได้เบอร์บัญชีมา กลับเข้าไปในเมืองไปชำระค่าธรรมเนียมที่แบงค์ อ่า…ไม่ใช่แบงค์ไหนก็ได้นะ ต้องเป็น International Bank of Azerbaijan เท่านั้น แล้วค่อยกลับไปสถานฑูตอีกทีเพื่อประทับตราวีซ่าที่หนังสือเดินทาง แฮ่…แต่คุ้มตรงที่ว่า เราได้วีซ่าของทั้งสองประเทศภายในวันเดียวกัน เพราะทางสถานฑูตไม่ได้เก็บหนังสือเดินทางของเรา เราจึงสามารถขอวีซ่าของทั้งสองประเทศพร้อมกันได้ เท่าที่เคยอ่านในเว็บต์ต่าง ๆ เขาบอกว่าการขอวีซ่าของทั้งสองประทศนี้ค่อนข้างยุ่งยากแต่เราไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย กลับคิดว่าเขาใจดีออก โดยเฉพาะกงศุลของอุซเบกฯ ดูเป็นกันเอง แต่เห็นท่าทางความเร็วในการทำงานของเขาแล้ว มันดูเชื่องช้ามาก แต่เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากรออย่างใช้ความอดทน ส่วนสถานฑูตคาซัคสถานเขานัดเราให้ไปรับวันศุกร์ แต่เราไปวันพฤหัส 🙂 เขาจำเราได้และบอกว่า “อ้าว..ฉันบอกให้พวกเธอมาวันศุกร์ไม่ใช่รึ?” ฮี่ๆๆ เราหันหน้าเข้าหากัน “อ้าว..วันนี้ไม่ใช่วันศุกร์รึ? ถ้างั้นขอเช๊คว่าเสร็จหรือยัง?” 🙂 เขากลับเข้าไปในห้องอีกที เราได้ยินเสียงพริ้นเตอร์ รู้สึกมีความหวังขึ้นมาหน่อย หลังจากนั้น 15 นาที เขาออกมาและบอกว่ามีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย จ้าก…อะไรหรือคะ? คือเวชได้วีซ่า 3 เดือน ส่วนโจคิมได้ 1 เดือน เฮ่อ..ค่อยยังชั่วนึกไปถึงอะไร ๆ ที่แย่กว่านั้น เช่นโจคิมได้วีซ่าแต่เวชไม่ได้

หลังจากนี้ไปก็ไม่ต้องเป็นกังวลอีกต่อไปสำหรับการขอวีซ่า

หลังจากนี้ไปก็ไม่ต้องเป็นกังวลอีกต่อไปสำหรับการขอวีซ่า

ตอนที่ออกจากทบิลิซิ เราออกมาก่อนเพื่อน ๆ นักปั่นคนอื่น ๆ (บาเทค, ไซม่อน, มาร์โกะ) ที่เรารู้สึกสนิทด้วยตั้งแต่เจอกันที่บาทุมิเมืองท่าของจอร์เจีย เพราะเราคิดว่าเราอยากไปเรื่อย ๆ เพื่อดูอาการเข่า ไม่อยากไปถ่วงเวลาเขา แต่อภินิหารมีจริง และแปลกมาก แค่ขยับเบาะและซ่อมรางใต้เบาะ แค่นั้น เข่าที่เจ็บทุกครั้งที่ปั่นเหยียดเท้าลงก็หายเป็นปลิดทิ้ง เพราะก่อนหน้านี้ยังคิดอยู่ว่า เข่าที่เจ็บนี่จะทำให้เราเดินทางต่อได้หรือไม่??? จะทำให้แผนการเดินทางสิ้นสุดลงตรงนี้หรือ??? ตอนนี้หายดีแล้วรู้สึกปลอดโปล่งโล่งใจมาก ไชโย!!!

ปัญหาที่เข่าหายไป ต่อไปคือฟัน 🙂 จากแค่ปวดหนึบ ๆ ที่เหงือก คิดว่ากินยาแก้ปวดคงจะหาย โนๆๆ มันยังปวดหนึบ ๆ แต่ทนได้ จนกระทั่งเข้าบาคุเริ่มบวมนิด ๆ เลยเป็นกังวลเพราะถ้าปล่อยไว้และปวดมากขึ้นอาจจะหาหมอฟันในทะเลทรายยากหน่อย น่าจะไม่มีมากกว่า คงถูกถอนสด ๆ กลางตลาดแน่ 🙂 เลยรีบเข้าไปหาข้อมูลในอินเตอร์เนต และได้ความว่ามีหมอฟันอินเตอร์ในเมือง เลยโทรไปจองเวลา โชคดีที่เขามีเวลาวันนั้นตอนเย็น หลังจากได้พบหมอฟัน สรุปว่าซี่ที่เคยรักษารากฟันถูกบัคเทเลียเข้ารุมล้อม ไม่คิดว่าที่ปวดจะมาจากรากฟัน เพราะเคยรักษาแล้วไม่น่าจะเกิดอะไรขึ้น เลยวางใจ ได้ยาแอนตี้ไบโอติคมากินไปก่อน เพราะไม่มีเวลารักษารากฟันตอนนี้ เอายานี้ช่วยประวิงเวลาไปก่อน หมอเขาว่าน่าจะช่วยได้ 6 -12 เดือน ถึงเมืองไทยค่อยจัดการต่อ ตอนนี้ค่อยยังชั่ว น่าจะดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะกินหมดไปครึ่งหนึ่งแล้ว

มีรูปนี้ที่ถ่ายใกล้ ๆ ที่พัก คงต้องกลับมาบาคุอีกครั้งแบบนักท่องเที่ยวธรรมดา ๆ :-)

มีรูปนี้ที่ถ่ายใกล้ ๆ ที่พัก คงต้องกลับมาบาคุอีกครั้งแบบนักท่องเที่ยวธรรมดา ๆ 🙂

ตึกเปลวไฟที่โด่งดังของบาคุ

ตึกเปลวไฟที่โด่งดังของบาคุ

อยู่ที่บาคุเราเรียกแท๊กซี่กันเป็นว่าเล่น ทำให้นึกถึงบ้านเรานิด ๆ พอจะไปไหนทีก็กวักมือเรียกแท๊กซี่ที แต่รถเมล์ที่นี่ดีนะ 0.20 เคอเพ๊ก (เศษสตางค์ของเขา) ตลอดสาย ไม่ต้องมีกระเป๋ารถเมล์ ทุกคนรู้หน้าที่วางเงินให้ตรงข้าง ๆ คนขับ ออกจากที่พักไม่ค่อยรู้ว่าจะนั่งสายอะไร แต่ขากลับเราจะขึ้นสายอะไรก็ได้ ขอให้เข้ามาใกล้เมืองหน่อยแล้วถ้าไม่เดินกลับก็เรียกแท๊กซี่ต่อ บาคุช่วงเวลาเร่งรีบรถติดมาก เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาเราออกไปหาซื้อยางนอกสำรองไว้และอะไหล่อื่น ๆ อีกนิดหน่อยที่ร้านจักรยาน เพราะถ้าออกจากบาคุแล้วคงหายาก พอไปถึงที่ร้านก็เห็นว่ามีของที่มีคุณภาพทั้งนั้น และได้เจอกับหนุ่มน้อย “มัคซุด” ที่สามารถสื่อสารกันได้ เราคุยและเช๊คกับเขาหลายเรื่อง แต่เรื่องเกียร์ของโจคิมที่เราอธิบายแล้ว แต่เขานึกภาพไม่ออก เขาเลยถามว่าเราพักที่ไหน ปรากฎว่าบ้านหนุ่มน้อยของเราอยู่ห่างจากที่เราพักไม่กี่ร้อยเมตร เขาเลยอาสาจะมาดูจักรยานให้หลังเลิกงาน

ช่วงเย็นที่รอมัคซุดมา เจ้าของเกสเฮาส์ไม่ได้ข่าวอะไรจากเรือ เพราะเขาโทรไปถามให้ทุกวันที่บูธขายตั๋วเรือว่ามีเรือมั้ย มีตั๋วมั้ย แต่พวกเราสื่อสารกับเธอได้ไม่เต็มท่ี เราเลยนึกถึงหนุ่มน้อยมัคซุด ขอให้เขามาเป็นล่ามจำเป็นให้เรา ซึ่งเขาก็เต็มใจที่จะช่วยเหลือ แต่เราก็ต้องรอเขาจนกว่าเขาจะเลิกงาน วันนี้รถติดมากเพราะมีการซ้อมเดินขบวนพาเหรดทหาร เพื่อวันจริง (26 มิย.) ไม่รู้เหมือนกันว่ามันสำคัญอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ คือทำให้ชาวบ้านลำบาก เขาปิดถนนรถไม่ขยับ เราเลยลงจากแท๊กซี่เดินกลับ ตั้ง 3 กม.

หนุ่มน้อยฮีโร่ของเรา ช่วยตั้งแต่เรื่องจักรยานจนกระทั่งเราขึ้นเรือออกจากบาคุ

หนุ่มน้อยฮีโร่ของเรา ช่วยตั้งแต่เรื่องจักรยานจนกระทั่งเราขึ้นเรือออกจากบาคุ

เมื่อคืนมัคซุดมาไม่ได้เพราะติดฝนเลยขอเลื่อนเป็นวันถัดไป วันนี้เป็นวันมิดซัมเมอร์ที่สวีเดน ครอบครัวโจคิมคงฉลองกันใหญ่ และฝนก็คงจะตกที่โน่นด้วยอากาศเป็นอย่างนี้ทุกปี เช้าวันต่อมาเราไปทำธุระกัน พอกลับมาถึงที่พักเพื่อน ๆ ได้ข้อมูลใหม่ว่าเรือจะเข้าท่าคืนนี้ตอนสองทุ่ม พอดีกับที่มัคซุดมาดูจักรยานให้ เลยได้เขาช่วยเป็นสะพานภาษา สรุปว่าเรือเข้าจริงแต่จะออกเมื่อไหร่ไม่มีใครให้คำตอบได้ เพราะแล้วแต่ว่าเรือจะเต็มหรือจะโหลดรถโหลดของเสร็จเมื่อไหร่ เพราะเรือลำนี้จริง ๆ เป็นเรือบรรทุกสินค้า รับผู้โดยสารได้ไม่มาก เราไม่สามารถนั่งรอที่เกสต์เฮาส์เพราะไม่มีท่ี เจ้าของเขาโทรและจองตั๋วให้เราไว้แล้ว 7 คน เป็นนักปั่นทั้งหมด มี ไทย, สวีเดน, โปแลนด์, สโลเวเนีย, นิวซีแลนด์และเยอรมัน 2 คน นานาชาติจริง ๆ เที่ยงเราต้องเช๊คเอาท์ ทุกคนเลยวุ่นจัดการกับสัมภาระของตัวเอง เพราะที่โฮสต์เทลเขามีคนมาอยู่ต่อจากเรา มัคซุดเป็นล่ามช่วยแปลตั้งแต่เรื่องเรือ ตั๋ว เช๊คเอาท์ แต่จะไปนั่งรอเรือที่ไหนกันล่ะ ไปที่ท่าเรือเลยก็น่าเบื่อ หนุ่มน้อยมัคซุดเสนอให้เราไปนั่งในสวนใกล้ ๆ เงียบสงบจากจราจรและไม่มีผู้คนพลุกพล่านเท่าไหร่ เป็นคำแนะนำที่ดีมาก พอคุยกันไปคุยกันมา ได้รู้ว่าเขาแค่มาทำงานช่วงซัมเมอร์ระหว่างมหาลัยปิดเทอมภาคฤดูร้อน เราโชคดีที่ไปเจอเขาที่ร้านวันนั้น จากนั้นเขาก็กลับไปที่ร้านทำงานต่อ เรานั่งเล่นนอนเล่นในสวนนั้น จนกระทั่งมีทีวีช่องหนึ่งมาทำข่าวท้องถิ่น เขาเลยขอสัมภาษณ์โจคิมและถ่ายรูปพร้อมจักรยาน

สวนสาธารณะที่มัคซุดแนะนำให้เราไปนั่งรอเรือ เรานั่งเล่นนอนเล่นอยู่ตรงนี้จนเกือบหกโมงเย็น

สวนสาธารณะที่มัคซุดแนะนำให้เราไปนั่งรอเรือ เรานั่งเล่นนอนเล่นอยู่ตรงนี้จนเกือบหกโมงเย็น

เราคิดว่าถ้ามัคซุดมาช่วยเรื่องภาษาน่าจะดี เพราะไม่มีใครในกลุ่มที่สามารถสื่อสารภาษาอัซเซอร์ฯ หรือรัสเซียได้ เลยลองส่งข้อความไปถามมัคซุดว่าเขาจะว่างตามเราไปที่ท่าเรือหรือเปล่า? หลังจากนั้นเราปั่นไปที่ท่าเรือกัน พอปั่นไปถึงทางเข้ามีทหารยืนอยู่และกั้นไม่ให้เราเข้าไป กำลังจะเดินเข้าไปคุยกับทหารก็หันมาเห็นมัคซุดพอดี น่ารักมากอุตส่าห์ตามมาช่วย แล้วเราก็ปั่นเป็นขบวนตามมัคซุดเข้าไปในส่วนของท่าเรือ

สหายทั้งเจ็ด มีเราเตี้ยที่สุดและเหมือนทุกครั้งคือเป็นผู้หญิงคนเดียวในกลุ่ม :-)

สหายทั้งเจ็ด มีเราเตี้ยที่สุดและเหมือนทุกครั้งคือเป็นผู้หญิงคนเดียวในกลุ่ม 🙂

Day 71-76 Operation Desert Ride

Ready to go
It took a lot longer time to land in Aktau then we had imagined. When we finally were in port we were all ordered to get inside the ship. Border control police and customs officers came on board and checked the passports of the crew. A few hours later we were allowed to leave the ferry escorted by a police officer. We were led to an arrival hall and told to fill out some documents and line up for the regular inspection of our passports.

Waiting in the arrival hall in Aktau port

Waiting in the arrival hall in Aktau port

Since Wej and I were going to switch our passports here it was more exiting than the usual border passage. I went before Wej and showed the officer my other passport (not the one I used to exit Azerbaijan). It went well and I got my entry stamp and took a few steps forward and was stopped by a customs officer. He wanted to see me passport and asked me if I carried any narcotics or weapons and asked me to open one of my panniers. When he had taken a brief look through he told me to empty my pockets and then he found the passport I used to exit Azerbaijan. He was confused about me having two passports and took both of them back to the border control police.

I cursed myself for keeping it at such a foolish place as my pocket, but I needed to have it easily available if there would be any questions about why I didn’t have any exit stamp from Azerbaijan. Wej was standing behind me in the line and I told her to quickly hide her other passport.

One of the russians in the National Geographic photo team who were on the ship with us spoke excellent english and I asked him and the russian speaking german to come over to assist. They told the officer that it is very common in western countries to have two passports and explained that it was necessary if wanting to visit both arab countries and Israel.

After a while the border police officer came with my passports and said it was alright but that I shouldn’t show to anyone that I have two passports. Well – I actually didn’t show anyone, it was the customs officer who asked to see what I had in my pockets. What should I have done if I had hidden it in my sleeping bag and he had asked to see my sleeping bag?
The passport problem is anyway gone now since the next passport switch will be at the Thai border and then we are on our home turf and can explain in the right language if there should be any questions.

In many of the former soviet republics of central asia the demand for foreigners to register at the migration police is still in use. Since we were going to be in Kazakstan for more than 5 days we had to go and register. It took us about 3 hours to get a little extra stamp at our arrival cards.

A happy Wej walking out of the migration police office with another stamp in her passport

A happy Wej walking out of the migration police office with another stamp in her passport

After having registered it was time to go and buy some supplies for the coming five days ride through the desert. We found a well stocked supermarket and we all bought lots of pasta and canned fish, meat as well as nutella and jam. Only high carbohydrate stuff….

Loading our new supplies

Loading our new supplies

After getting our supplies we had a short discussion outside the supermarket which way to go from Aktau towards the town of Shetpe. There are two routes, one to the north and one to the south and after weighing for and against we decided to opt for the southern route.

Landscape
This part of Kazakstan is very flat and dry. I thought it should be a steppe but it turned out to be more of a desert. The ground is sandy or consists of hard burnt and cracked dirt with very little vegetation. The plants that grow are not higher than 20 cm and some of them have nasty thorns that are able to penetrate the floor in our tent. To avoid that we try to put our tent on bald areas and if there are any thorny little bushes we simply pull them up to make room for our tent. We also put our foam mattresses under the tent floor for extra protection.

Interesting formations in the desert

Interesting formations in the desert

We have seen small scorpions living in the cracks on the ground and we are very careful when moving around and we have got a habit of turning shoes upside down and shake clothes before putting them on.

Apart from the scorpions we have seen lots of small desert rats that run quickly from one hole to the other. I don’t know what these little animals eat, but I bet the snake one of our friends saw feed on those rats.

View from our first camp site in the desert. The road is the road we would travel the next day

View from our first camp site in the desert. The road is the road we would travel the next day

Camels and dromedaries are a common sight both in the desert and in the villages and towns. Some of them seem to have a marking indicating that they have an owner, while other seem to move around completely as they like. They walk on the road, beside the road and cars need to honk their horns to get them to move out of the way. Yesterday we saw a dromedary eating from the tree outside the hotel here in central Beyneu so they are just as common sight here as a pigeon in the park back home.

Horses on the steppe

Horses on the steppe

What we didn’t expect to see in the desert was horses. Large groups of up to 30 animals roam around in the areas where there is a little grass. I haven’t seen any markings on them and I don’t know if they are wild or have any owner. A camel must be of much more use in this kind of environment than a horse and maybe the horses are kept just for their meet.

Weather
The desert is hot. Actually it is extremely hot with temperatures going above 40 degrees. With no trees there is very little shade to find and our strategy has been to wake up at 5 AM and start cycling at 6.15 and continue until the heat is unbearable. Then we take a break somewhere where there is shade and continue to cycle for 2-3 more hours before looking for somewhere to camp.

Resting in a culvert under the road

Resting in a culvert under the road

Camels walking by us as we have our lunch sitting in the culvert

Camels walking by us as we have our lunch sitting in the culvert

The second night in the desert we camped just below a small mountain ridge. We saw heavy clouds on the horizon and they came closer. When it was time to go to bed it actually started to rain. Not a heavy rain, but still a rain. When we woke up at 5 AM in the morning it was very windy and it had started to rain again so we decided to sleep one more hour before starting to cycle. At 9 AM the sky was clear and the sun was shining and it was hard to believe that the weather had been so nasty only 3 hours earlier.

When riding in the desert we need to protect ourselves from the merciless sunshine. I pull down my cap and use a buff to cover my neck and ears.

Dressed for desert

Dressed for desert

When dressed like this it is easy to start to think about how it was when we were caught in the blizzard in Hungary some three months ago.

Meetings in the desert
Eventhough it is a remote road there is some traffic on it. A lot of the traffic seems to be trucks going in both directions. The condition of the road surface very often made the trucks go very slowly and sometimes we cycled faster than they drive. One thing we noted was that the truck traffic was more intense during night time than during the day. I don’t know why it is like this and I think it is a real challange to navigate a truck on that really bad road during night time.

A culvert we had lunch in before entering Beyneu

A culvert we had lunch in before entering Beyneu

Enjoying our lunch inside the culvert. Only Wej could stand upright

Enjoying our lunch inside the culvert. Only Wej could stand upright

The truck drivers have been our friends on the road and we have had a couple of interesting meetings that are worth mentioning.

On day 3 we made a little detour from the road to ride into a village to buy more water and when we exited the town it was already time to start to look for somewhere to stay. When we came back to the main road we found a ”chaichana” (tea house) that also was a hotel. I went in to ask if we could stay there but the place was so lousy so we prefered to stay in our tents.

Truck drivers seem to like the tea houses and outside this one there were two large trucks from the American defense contractor Halliburton and a trailer with a RIB-boat with two large Evinrude engines. We must admit that we were confused about why someone would want such a boat in the middle of a desert.

We saw the Hallibruton trucks a couple of more times and one time they parked outside another tea house where we were resting and waiting for our two friends who cycled behind us. The drivers started to ask the usual questions where we come from and where we were going. We had no common language and after 20 minutes of talking we thought that they would give up. Then they started to order vodka and got a bit drunk and very pushy. When our two friends arrived after an hour we felt relieved and thought that they could take care of the drivers for a while.

Just like us our friends were asked where they come from and when the truckers heard that he is German the truckers got mad and accused our friend for nazism and made gestures refering to Hitler. It developed into a situation when one of the drivers threw a bottle at our German friend and we decided to back off and go camping somewhere out of sight from the tea house.
The following day we saw the Halliburton trucks a couple of times as they drove past us. We overtook them again when they had parked at a tea house and it seemed that these two truckers don’t go any further each day than we do on our bikes. I wonder what their bosses at Halliburton thinks about that.

On our the 4th day we were riding through a part of the road that was under re-construction. It was exceptionally dusty and we often had to wade through knee high piles of dust that was just as soft as powder. The sun was very hot and we were completely dusty when two trucks stopped in front of us and asked what we were doing.

Riding in the sand with camels in the background

Riding in the sand with camels in the background

The drivers were turkish and told us they were on their way back from Bishkek to Istanbul. We told them we had been to Turkey and enjoyed it. Being turkish, the drivers asked if we needed anything like food or water and asked if we wanted some tea. I pointed towards the sun and said that I would prefer a cold coke and then one of the drivers ran back to his car and came back with a bottle of ice cold lemonade. Wonderful – and it reminded us once again of the hospitality we received in Turkey.

One night when we had set up our camp and shared what was left in a 0.2 liter bottle of vodka, our german friend said that he was sure that all the passing truck drivers had some vodka. He got up on his bike and rode towards the big road a couple of hundred meters away. After a while he came back followed by two large trucks that stopped just beside our camp. The drivers came from Dagestan in Russia and being close to the Caucasian mountain range they were wine drinkers. We spent some 15-20 minutes together and then they handed over a 5 liter bottle of home made red wine.
SONY DSC
The wine tasted good, but since it was biking time at 6 AM the following morning I thought one single glass would be enough. Some of our friends had some more wine and I bet it can’t have been fun to bike through the desert with a hammering hangover.

Challanges
The lack of water became evident as soon as we entered the desert. We know where there are villages and tea houses where we can buy water but we still need to carry a lot and it makes the bikes heavy. The most water I have carried so far is 11 liters and that makes it hard when the road becomes sandy. The water also becomes more and more expensive the further into the desert we travel and our spendings on water makes up a large part of our expenses for the last few days.

3 liters of extra water on my front panniers

3 liters of extra water on my front panniers


We need water to drink and cook food, but we also need to maintain some level of personal hygien. I allow myself somewhere between 0.5 to 1 liter of water for the daily shower. I wouldn’t say that it makes me clean like a baby, but it is enough to stay healthy.

Being together with six other people on very flat area with absolutely no trees and a clear view of 360 degrees means that one can’t be shy. If one wants to be without sight when going to the bathroom to shower or do other things, one will have to walk very very far. Shyness is not for the ones traveling together across the flat desert.

Nowhere to hide....

Nowhere to hide….

Arriving in Beyneu
There around some 30.000 people living in Beyneu so it is not a very large town at all. There are small shops along the main streets and there is a bazar. The town is located at a railway junction and the highway from Uzbekistan to Russia passes through as well as a number of pipelines. There seem to be a fair amount of professionals who come here to work with maintaining this infrastructure which means there are a few hotels in town. We decided long ago that we wanted to stay at one of the better ones and after almost a week in the hot and dusty desert with less than a liter of water for the daily hygien, it was great to be able to take a shower. Not only we needed a shower though, we washed all our clothes in the shower and cleaned the drive trains of the bikes as well.

The water is still dirty after washing my pants a second time

The water is still dirty after washing my pants a second time


Now we are prepared for the next section of this ride through the desert and we dont’t expect to be able to get online until Sunday when we expect to arrive in Nukus in Uzbekistan.

Toothpaste
In the grocery store next to the hotel they do sell Sensodyne toothpaste. We thought it could be a good idea to pick up some, but since that would add extra weight to our luggage and we still have toothpaste left, we decided to not buy here. I don’t know why I write this, but I think some of you might want to know…