คีร์ซกิสถาน => Sary-Tash (ซารีทัช) Irkeshtam (อีร์เกชทัม) ไป จีน => Kashgar (คัชก้า)

หลังจากที่รู้ว่าชายแดนปิดถึงวันจันทร์ เวชไม่คิดอะไรเลยถามครั้งเดียวพอ อีกอย่างความเป็นเอเซียด้วยมั้งที่คิดว่า ในเมื่อวันพฤหัสฯ เป็นวันหยุด คนคีร์กิซฯ น่าจะฉวยโอกาสหยุดวันศุกร์ไปด้วยเลย รับข้อมูลมาและไม่ค่อยคิดอยากจะถามอีก ไม่เหมือนโจคิมกับเพื่อนใหม่ชาวเชคฯ สองคนนี้เดินวนไปวนมา ถามคนท้องถิ่นทางโน้นทีทางนี้ที คุยกับนักท่องเที่ยวคนอื่น ๆ เวชเริ่มปวดหัว ยิ่งพูดยิ่งปวดหัว น่าจะเป็นเพราะว่าซารีทัชอยู่สูงถึง 3170 ม.จากระดับน้ำทะเล เช้าวันต่อมาหน้าตาเริ่มบวม ๆ ตอนกลางคืนขยับตัวทีเหนื่อยถึงขนาดหอบเลย ความท่ีอากาศไม่ร้อนจึงไม่จำเป็นต้องอาบน้ำทุกวัน อิอิ ซกมกจริง ๆ แต่ก่อนที่เราจะออกเดินทางต่อไปและไม่รู้ว่าจะได้อาบน้ำราดทั้งตัวอีกครั้งเมื่อไหร่เลยขอให้เขาต้มน้ำให้อาบ เพราะที่นั่นอุณหภูมิประมาณ 13-14 องศาเอง ได้น้ำเย็นมาถังหนึ่งและกระบวยมาตักน้ำร้อนจากในกระทะใบใหญ่ (ที่เขาต้มด้วยอึวัวแห้ง ดีที่กลิ่นมันหายไปกับแสงแดด 🙂 ) ผสมกันดีแล้วก็อาบในที่แจ้งนั่นโดยมีรั้วสูงขึ้นมาแค่ถึงเอวเวชได้มั้ง ถ้าคนสูง ๆ อาจจะแค่เข่า อยากราดทั้งตัว ถ้ามายืนในคอกแบบนี้มีหวังหมดโอกาส เลยหิ้วกระถังน้ำไปห้องน้ำที่มีประตูปิดมิดชิดแถมกลิ่นก็มิดชิดยู่ในนั้น แรงอีกต่างหาก ยอมทน เพราะดีกว่าไปยืนตากลม พออาบเสร็จสั่นหงึก ๆ เลย ทำให้เพื่อนใหม่ชาวเชคฯ ไม่ค่อยอยากอาบเท่าไหร่ 🙂 อยู่ตามแถบภูเขา เชื้อเพลิงที่ได้จึงไม่ค่อยได้มาจากไม้แต่เป็นขี้วัวตากแห้ง โจคิมว่าที่สวีเดนจะใช้ขี้วัวเป็นปุ๋ยเสียมากกว่า ส่วนจะเอามาเป็นเชื้อเพลิงนั้นไม่ค่อยมีเพราะกว่าขี้วัวจะแห้งใช้เวลานานเกิน แต่ที่คีร์กิซสถานนั้น ตากแค่ชั่วโมงหนึ่งก็แห้งแข็งแล้วมั้ง เพราะอากาศบนภูเขาค่อนข้างแห้ง

อึวัวแห้งสำหรับเป็นเชื้อเพลิงอยู่ข้าง ๆ กระทะน้ำร้อนใช้อาบและเอาไปชงชาด้วย โจคิมเห็นเขามาตักใส่กระติกน้ำร้อน เอางัยเอากัน ยังงัยน้ำก็ถูกต้มแล้ว หวังว่าคงฆ่าเชื้อไปหมด

อึวัวแห้งสำหรับเป็นเชื้อเพลิงอยู่ข้าง ๆ กระทะน้ำร้อนใช้อาบและเอาไปชงชาด้วย โจคิมเห็นเขามาตักใส่กระติกน้ำร้อน เอางัยเอากัน ยังงัยน้ำก็ถูกต้มแล้ว หวังว่าคงฆ่าเชื้อไปหมด

อีกวันรุ่งขึ้นเพื่อนคนโปแลนด์ส่ง sms มาให้และบอกว่าเขาโชคดีคือตอนที่จะเขากางเต้นท์มีน้ำไม่พอ เลยปั่นกันต่อเข้าไปในหมู่บ้านเล็ก ๆ และได้ข่าวจากชาวบ้านว่าพรุ่งนี้เป็นวันหยุดถ้าจะผ่านชายแดนไปจีนควรจะไปตอนนี้เลยนั่นคือตอนเกือบจะหกโมงเย็นนั่นเอง โชคดีของเขาไป แต่เราคิดว่าเราได้พักที่หมู่บ้านซารีทัชก็ดีเช่นกัน ได้พักผ่อนหลังจากที่ปั่นข้ามเขาที่เคยได้อ่านจากที่ไหนสักแห่งว่าเส้นทางข้ามเขาไปหมู่่บ้านซารีทัชเป็นเส้นทางที่สวยที่สุดองคีร์กิซฯ คิดว่าเห็นด้วยเต็ม 100% จากภาพที่ถ่ายมาให้ชมกันเป็นแค่เสี้ยวหนึ่งที่กล้องสามารถจับได้ แต่เราไม่สามารถถ่ายทอดธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้เห็น 360 องศา

แล้ววันอาทิตย์ที่เรารอคอยก็มาถึง เราออกเดินทางไม่เช้านัก เส้นทางสวยอย่างที่ไม่สามารถปั่นผ่านไปอย่างที่ไม่หยุดถ่ายภาพได้ วันแรกจะขึ้นเขาเสียส่วนใหญ่ และหลังจากห้ำหั่นกับความสูง เราก็มาจอดที่ไหล่ทางเพื่อหาที่กางเต้นท์ หาไม่ยากแต่ไม่มีน้ำอย่างที่เพื่อนชาวโปแลนด์ว่า แต่เราตุนน้ำมาด้วยแล้วจึงไม่มีปัญหา แค่ต้องต้มทำความสะอาดแต่ก็ต้องใช้อย่างประหยัด

จุดกางเต้นท์หลังจากไหลลงจากเขามา จริง ๆ อยากจะไหลลงต่อไป แต่จะมืดเสียก่อน ตรงนี้หนาวมาก ลมแรง หินที่เห็นนั่นคือเอามาบังลมค่ะ แต่พอดึกหน่อยลมเริ่มอ่อนแรงลง อุณหภูมิอยู่ที่ 6-7 องศา

จุดกางเต้นท์หลังจากไหลลงจากเขามา จริง ๆ อยากจะไหลลงต่อไป แต่จะมืดเสียก่อน ตรงนี้หนาวมาก ลมแรง หินที่เห็นนั่นคือเอามาบังลมค่ะ แต่พอดึกหน่อยลมเริ่มอ่อนแรงลง อุณหภูมิอยู่ที่ 6-7 องศา

SONY DSC

SONY DSC

เริ่มปั่น อืม..ต้องบอกว่าปล่อยไหลต่อไปอีกไม่นานก็มาถึงจุดตรวจของคีร์ซกิสถานจุดแรก แต่พอผ่านจุดตรวจตรงนี้ อ้าว..ไหงให้เราไต่ขึ้นเขาอีกแล้ว เฮ้อ… ขึ้นก็ขึ้น ทางนี้สวยจริง ๆ มิน่าเพื่อนคนสวีเดนคนหนึ่งที่เคยมาปั่นแถวนี้บอกว่าอยากกลับมาปั่นที่คีร์ซกิสถานอีก เรายังอยากจะกลับมาอีกเลย ทางมีขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดทาง เราผ่านมาถึงหมู่บ้านสุดท้ายซึ่งขึ้นชื่อว่าวางอะไรโดยที่ไม่มีใครเฝ้าไม่ได้เป็นหาย และหมู่บ้านนี้เคยได้ยินว่ามีแผ่นดินไหวเมื่อหลายปีที่แล้ว นั่นอาจจะเป็นเหตุผลที่เขาสร้างบ้านกันใหม่ ไม่รู้้ว่าเป็นเพราะต้องการประหยัดหรือเปล่านะ ทุกหลังมีหลังคาสีฟ้ากันหมด

หมู่บ้านนูรา ดูใหม่ทั้งหมู่บ้าน คาดว่าน่าจะมีจากอุบัติเหตุแผ่นดินไหวเมื่อหลายปีที่แล้ว

หมู่บ้านนูรา ดูใหม่ทั้งหมู่บ้าน คาดว่าน่าจะมีจากอุบัติเหตุแผ่นดินไหวเมื่อหลายปีที่แล้ว

DCIM100GOPRO

เรามาถึงจุดตรวจจุดสองของคีร์ซกิสถาน จะตรวจอะไรกันนักหนานะ ตรงนี้เขาจะประทับตราว่าเราออกจากประเทศ จากจุดนี้เราสามารถปั่นไปได้แค่ไม่กี่ร้อยเมตร ลาดขึ้นเล็กน้อย แต่ถนนแย่มาก อีกไม่นานคงจะดีเพราะเขากำลังก่อสร้างกันอยู่ ถึงตรงนี้จะมีทหารของจีนละ แค่ดูพาสปอร์ตเราและอนุญาติให้เราปั่นต่อไปที่จุดตรวจอีกจุดหนึ่งเพื่อเช็คกระเป๋า หนังสือเดินทาง จดชื่อเรา และที่นี่เองที่นักท่องเที่ยวทั้งหลายทั้งนักปั่น แบ๊คเพ๊คและนักเดินทางอิสระ ต้องจ้างรถแท๊กซี่หรือรถบรรทุกเพื่อไปกองตรวจของจีนซึ่งย้ายเข้าไปในเมืองเข้าไปอีกประมาณ 140 กม. ที่นี่เองเรามาเจอเพื่อนเราคนเชคฯ เขามาถึงก่อนเราจึงได้ออกไปก่อน แต่พวกเขาต้องนั่งแท๊กซี่และเสียค่ารถ แต่เราซึ่งมีจักรยานต้องไปกับรถบรรทุก โชคดีตรงที่รถบรรทุกส่วนใหญ่จากคีร์ซกิสถานไปจีนจะว่างเพราะส่วนใหญ่จะไปบรรทุกของจากจีนมาคีร์ซกิสถานเสียมากกว่า เราได้รถบรรทุกคันหนึ่งซึ่งเห็นหน้าคนขับแล้ว เขาไม่ค่อยเต็มใจเท่าไหร่ แต่เหมือนเจ้าหน้าที่ที่ด่านบังคับเล็ก ๆ คนขับรถเก็บหนังสือเดินทางของเราพร้อมกับเอกสารที่มีรายชื่อเราไว้ ด้วยเหตุผลที่ว่าเรากับรถบรรทุกคันนี้จะต้องเดินทางไปด้วยกันจากจุดตรวจที่นี่ไปจนถึงจุดตรวจที่ประทับตราเข้าประเทศจีนอย่างเป็นทางการ และด้วยระยะทาง 140 กม. ที่ไม่ค่อยราบเรียบเท่าไหร่นัก กระเด้งกระดอนกันเกือบ 4 ชม. พอมาถึง เหมือนคันที่เรานั่งมาด้วยจะมีสิทธิพิเศษมากกว่าคันอื่น คือไม่ต้องต่อแถวตามลำดับ เขาสามารถขับไปด้านหน้าเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาเปิดกุญแจที่ล๊อคคอนเทนเนอร์ไว้ แล้วเขาก็ขับต่อไปเลย ส่วนเราต้องเอาทั้งกระเป๋าและจักรยานไปตรวจที่กองตรวจของจีนอีกครั้งหนึ่ง เอาละค่ะ เจ้าหน้าที่เห็นหน้าเวชปุ๊บก็พ่นภาษาจีนใส่ทันที พูดและบอกได้แค่ว่า “ฉันเป็นคนไทย” คงได้ใช้ประโยคนี้ทั้งสามเดือนในจีนนี่แน่ หน้าหมวยเสียเปล่าเนอะดันพูดไม่ได้ สงสัยต้องกลับไปเรียนภาษาจีนให้คล่องเสียแล้ว โครงการต่อไป 😉

วิวจากรถบรรทุกคันแรก ช่วงนี้ถนนเรียบเพิ่งทำเสร็จใหม่เอี่ยม แต่มีช่วงหนึ่งเขาวางกองทรายกีดขวางเหมือนให้ชลอ แต่นายนี่ไม่อ่ะ ขับเหมือนมองไม่เห็นสิ่งกีดขวางนั่น เราสองคนลอยจากที่นั่ง ของที่เขาอัดไว้ที่ชั้นวางของในรถ เทกระจาดลงมาเป็นกองพะเนินเลย ในใจเรานึกถึงจักรยานสองคันที่นอนอยู่ด้านหลัง นั่งไปก็คิดไปว่าจะมีอะไรหักหรือเสียหายหรือเปล่าน๊า แต่โชคดีไม่เป็นอะไรเลย เฮ้อ...

วิวจากรถบรรทุกคันแรก ช่วงนี้ถนนเรียบเพิ่งทำเสร็จใหม่เอี่ยม แต่มีช่วงหนึ่งเขาวางกองทรายกีดขวางเหมือนให้ชลอ แต่นายนี่ไม่อ่ะ ขับเหมือนมองไม่เห็นสิ่งกีดขวางนั่น เราสองคนลอยจากที่นั่ง ของที่เขาอัดไว้ที่ชั้นวางของในรถ เทกระจาดลงมาเป็นกองพะเนินเลย ในใจเรานึกถึงจักรยานสองคันที่นอนอยู่ด้านหลัง นั่งไปก็คิดไปว่าจะมีอะไรหักหรือเสียหายหรือเปล่าน๊า แต่โชคดีไม่เป็นอะไรเลย เฮ้อ…

และวิวตามทาง

และวิวตามทาง

เราผ่านขั้นตอนการตรวจทุกอย่าง คิดว่าใช้เวลาไม่นานอย่างที่คิด ซึ่งเป็นวันแม่ฤกษ์ดีจริ ๆ เวลาเริ่มเย็นขึ้นเรื่อย ๆ และความที่เราเป็นห่วงว่าจักรยานจะเป็นอะไรหรือเปล่าหลังจากนอนอยู่ในคอนเทนเนอร์ตั้ง 4 ชม.จึงอยากจะเข้าเมืองคัชก้าที่ใหญ่หน่อย เพื่อไปหาร้านจักรยานให้เขาเช็คเสีย เรานั่งหัวสั่นหัวคลอนมาทั้ง 4 ชม.รู้สึกมึนไปหมด อีกอย่างเราได้อาบน้ำแค่ลวก ๆ เลยยิ่งอยากเข้าเมืองไว ๆ ขอโบกรถบรรทุกคันที่สองเข้าคัชก้าละกันซึ่งอยู่ห่างออกไปอีก 100 กม. ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไหร่นะ ตอนนั้นเย็นแล้ว รถบรรทุกบางคันตั้งใจที่จะจอดนอนอยู่แถวนั้นแล้วค่อยขับต่อในวันรุ่งขึ้น เราถามอยู่นานกว่าจะได้คนขับใจดีจากคีร์ซกิสถาน เขายังช่วยเราเอาจักรยานเอากระเป๋าขึ้นคอนเทนเนอร์ข้างหลังให้ คันนี้ขับดีหน่อย ในรถก็ดูสะอาดเรียบร้อยกว่าคันแรกเยอะเลย หน้าต่างก็เปิดปิดโดยใช้ไฟฟ้า ขับมาถึงเมืองเล็ก ๆ เขาจอดข้างทาง เราก็งงว่าจะทำอะไร อ๋อ..แวะกินข้าว

รถบรรทุกคันที่สองที่สะอาดกว่าและโจคิมนั่งได้สบายขึ้นมาหน่อย

รถบรรทุกคันที่สองที่สะอาดกว่าและโจคิมนั่งได้สบายขึ้นมาหน่อย

บรรยากาศในร้านที่เรามาแวะกินข้าวเย็นกันที่ร้านง่าย ๆ แอบถ่ายเลยไม่ชัด ;-)

บรรยากาศในร้านที่เรามาแวะกินข้าวเย็นกันที่ร้านง่าย ๆ แอบถ่ายเลยไม่ชัด 😉

ที่จริงเราจะไม่ให้สตางค์กับเขาก็ได้ แต่เผอิญว่าเรามีเงินคีร์ซกิสฯ เหลืออยู่เลยเทให้เขาไปหมด ก็ประมาณ 4 ยูเอสดอลล่าร์ และเลยเลี้ยงอาหารเขามื้อนั้นด้วย เรานั่งกันมาจนกระทั่งถึงจุดที่รถบรรทุกส่วนใหญ่จะจอดนอนค้างคืน เหมือนทุกครั้งที่เราไปขอนอนในช่วงที่ปั่นในยุโรปตะวันออกและในทะเลทราย แต่เราขอตัวและรีบปั่นเข้าเมืองอีก 7-8 กม.เพื่ออาบน้ำและนอนสบาย ๆ

6 thoughts on “คีร์ซกิสถาน => Sary-Tash (ซารีทัช) Irkeshtam (อีร์เกชทัม) ไป จีน => Kashgar (คัชก้า)

  1. บุษบง

    คนขับคนแรกแน่มาก ต้องเอาไปรวมเล่มกับนักท่องเที่ยวจีน 5555

    1. admin Post author

      ใช่เลย!! เขาขับแบบไม่สงสารรถเลย ลุยโลด แต่หลังจากลุยขึ้นไปบนสิ่งกีดขวงนั่น ก็ขับระวังมากขึ้น คงจะรู้สึกมั้งว่าเรากำลังคิดอะไรอยู่

  2. Meo sao

    สวัสดี ทั้งสอง ครับ ลองส่งcomment ผม แมวเซา. ในThaimtb. คุณเวช อ่านเปน แมวเขา. ตัวมันเล็กไปหน่อย. ตอนน้ีไทยบ้านเราฝนตกเกือบทุกวัน ไม่หนัก. อากาศไม่ร้อน อยู่กันได้สบาย สงสัยอยู่ว่า เขตแดน ต่างต่างมันแบ่งแยกกันยังไง คนจีน จะหน้าตาไม่เหมือน คีรซกิสถาน ทันทีเลยหรือ. อย่าลืมกินขาหมู หมั่นโถว ให้ด้วยครับ

    1. admin Post author

      ขอบคุณค่ะที่แก้ไขให้ ตอนเขียนในไทยเมทีบียังต้องขยายแต่ก็ยังเขียนไม่ถูก 😉 ชาวคาซัคฯและอุซเบกฯยังดูออกอาหรับแขก ๆ ปน ๆ กับคนที่ดูออกจีน ๆ จีนในเขตซินเจียง เกือบดูเหมือนชนกลุ่มน้อย เพราะรัฐบาลส่งให้เข้ามาอยู่ปะปนกับคนท้องถิ่นเดิมคือชาว Uyghur ที่มีภาษาและวัฒนธรรมของเขาเอง ถ้าตอนขอวีซ่าแล้วบอกตามจริงว่าจะปั่นจักรยานเข้าเขตนี้ อย่าหวังว่าจะได้วีซ่า เพราะเป็นเขตที่ค่อนข้างเซนซิทีฟ แต่เวชก็เห็นว่าคนจีนกับคนอีกูรทำงานด้วยกัน เราเพิ่งเข้ามาด้วยอาจจะยังไม่เห็นอะไรลึกซึ้ง บางครั้งถ้าไม่มองป้ายมองแต่คนเหมือนเดินอยู่เมืองไทยเลยค่ะ

      1. ton

        สวัสดีครับ ว่างๆจะเข้ามาอ่าน ครับ ทิวเขาสวยจัง แต่อากาศคงจะร้อนน่าดู….

        1. admin Post author

          จ้า วันไหนว่างก็เข้ามาอ่าน สวยน๊าที่คีร์ซกิสถาน ไว้ไปถึงเมืองไทยจะเอาภาพใหญ่ให้ดู ในบล๊อคเราต้องย่อส่วนลงมาเยอะเลย ปั่นบนเขานั่นไม่ร้อนเลยต้น เย็นสบายแค่อากาศน้อย เหนื่อยง่ายต้องหยุดบ่อย ๆ เท่านั้นเองจ้า

Leave a Reply