เคยมีเพื่อนใหม่คนหน่ึง “คุณแมวเซา” ถามถึงเครื่องมือท่ีเราพกพามาด้วยว่ามีอะไรบ้าง ก็เพิ่งจะมีเวลาเอาออกมาแบยลโฉมและถ่ายรูปมาให้ดูกัน ทฤษฎีท่ีว่าเราจะเอาอะไรไม่เอาอะไรมานั้น ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและผลของการเสี่ยงว่าสูงหรือต่ำอย่างไร เช่นกระจกส่องหลังถ้าหัก ความเสี่ยงท่ีจะเกิดขึ้น “ต่ำ” ผลกระทบกับเรา “ต่ำ” คือเรายังสามารถเดินทางต่อได้เพราะฉนั้นเราไม่พกพาเอาอันท่ีสองมาด้วย แต่ถ้าโซ่ขาดความเสี่ยงอาจจะต่ำแต่ผลคือเราไม่สามารถปั่นต่อหรือขยับเขยื่อนไปไหนได้ เราคิดว่าผลกระทบสูงเราจึงเอาทั้งโซ่ส่วนหนึ่ง, ตัวต่อโซ่ ประมาณนี้ละค่ะสำหรับการเดินทางไกลซึ่งห่างไกลจากเมือง โดยเฉพาะเส้นทางของเราในทะเลทรายของคาซัคสถานและต่อเนื่องเข้าทะเลทรายของอุซเบกิสถาน ไม่อยากจะคิดเลยว่าถ้าโซ่ขาดแถว ๆ นั้นโดยท่ีไม่มีเครื่องมือหรือโซ่อะไหล่เปลี่ยน สถานการณ์คงไม่น่าอภิรมย์สักเท่าไหร่ คงต้องไปคุยกับอูฐให้ช่วยลากไป 😉 เพราะคงหาคนคุยด้วยลำบากหน่อย เอาละค่ะมาดูกันว่าอะไหล่ชิ้นไหนท่ีโชคดีได้มาเท่ียวและมีโอกาสข้ามมาตั้งหลายประเทศกับพวกเรา 😉
ภาพแรกเป็นหน้าตากระเป๋าด้านหน้าท่ีเราใส่พวกเครื่องมือทั้งหลาย
ภาพที่สองคืออุปกรณ์ที่อยู่ในกระเป๋า จากทางด้านซ้ายมือแล้วย้อนขึ้นไปทางขวา ให้งงเล่น 😉
- กระเป๋าพยาบาล ซึ่งจะอยู่ด้านบนสุดของกระเป๋าเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในเวลาฉุกเฉิน
- ปลอกสายเบรค ท่ีเอามาแต่ของสายเบรคเพราะคิดว่าถ้าต้องเปลี่ยนปลอกสายเกียร์ก็สามารถใช้ปลอกของสายเบรคแทนได้ อีกอย่างคือโอกาสท่ีจะเกิดขึ้นมีน้อยท่ีต้องเปลี่ยนปลอกนั้น
- ยางใน และ ยางนอก 1 เส้นอยู่ท่ีกระเป๋าอีกใบหนึ่ง
- จารบีและน้ำมันใส่โซ่ มาถึงจีนน้ำมันใส่โซ่หมดไปแล้ว 3 ขวด
- เทป (ไม่มีอยู่ในภาพเพราะประหยัดเนื้อท่ีในกระเป๋าเลยเอาไปพันท่ีท่อนั่งแทน)
- น๊อตขนาดต่าง ๆ
- Derailleur hanger (อันท่ีมีลักษณะเหมือนตัว S ) คือตัวท่ีติดตีนผีกับตัวเฟรม หาซื้อยากหน่อยเพราะต้องให้ได้ขนาดท่ีถูกต้อง
- สายรัด
- ผ้าเบรค – ช่วงแรกท่ีหนาวและโดนพายุหิมะ เปลี่ยนไปหลายชุดเลยต้องมีเผื่ิอไว้เยอะหน่อย
- สายเกียร์และสายเบรค รัดไว้รวมกัน
- กระปุกใส่เครื่องมือชิ้นเล็ก ๆ เดี๋ยวได้ดูกันในภาพต่อไปค่ะ
ภาพนี้คือชิ้นส่วนเล็ก ๆ ท่ีอยู่ในกระปุกพลาสติคในภาพข้างบน
- ท่ีถอดเฟือง เป็นอันเล็ก เวลาใช้จะเอาไปเกี่ยวกับตัวเฟรม โดยไม่ต้องใช้ท่ีถอดโซ่ช่วย
- กาว น่าจะเหมือนกาวตาช้างบ้านเรา เช่นท่ีคาซัคสถานถนนหาท่ีเรียบ ๆ ไม่มีเลย ปั่น ๆ ไปน๊อตหลวมไปหลายตัว แค่หยดเดียวก็ติดแน่นทนทาน
- ท่ีปะยาง นี่คือท่ีเหลือจาก 48 ชิ้นท่ีปะกันอุตลุดช่วงท่ีเข้ามาจีนทางด้านมณฑลซินเจียง โดนเล่นงานโดยลวดเส้นเล็กท่ีกระจายออกมาจากล้อของรถใหญ่ท่ีระเบิดบนทางด่วน กาวปะยางหมดไป 3 หลอด ท่ีเห็นหลอดสีขาวแดงนั่นเป็นกาว หลอดเล็ก ๆ หมดเร็ว เอาหลอดใหญ่มาเลย
- น้ำมันทาเบาะหนัง มักจะลืม หนังต้องหมั่นทามันให้ ไม่ต้องบ่อยแต่ไม่ควรลืม
- ตัวต่อโซ่และสายโซ่เผื่อโซ่ขาดจะได้มีต่อ
- ครีทสำหรับรองเท้าเสือภูเขา แต่คงไม่มีประโยชน์ละเพราะพวกเราไม่ได้ใช้ครีทแล้ว โดยเฉพาะโจคิมต้องเปลี่ยนบันไดท่ีมีครีททิ้งไปเพราะบันไดเก่าหมดสภาพท่ีซินเจียงนั่นเอง
- ตะขอท่ีติดท่ีกระเป๋า Ortlieb ความน่าจะเกิดขึ้นคงมีน้อย แต่ผลท่ีได้อาจทำให้เราต้องหยุดเลยพกมาด้วย
- Jockey wheel ในภาษาอังกฤษ (มันคือวงเล็ก ๆ ท่ีติดกับตีนผีข้างล่างเฟือง) เวชไม่ค่อยรู้ศัพท์เฉพาะของอะไหล่จักรยานสักเท่าไหร่ รบกวนขยายความ หาคำท่ีเหมาะสมมาให้เวชด้วยนะค่ะ
- อุปกรณ์สำหรับปะแผ่นรองนอน
- เซท 6 เหลี่ยมท่ีควรมี
- ตัวท่ีจะเอา crank (ขาจานหรือเปล่าคะ?) ออก
- ประแจ ขนาด 8 มม.สำหรับน๊อคทุกตัว ก่อนออกเดินทางจากสวีเดน เรา (ไม่ใช่โจคิมค่ะ) สำรวจจักรยานทั้งสองคน ถ้าเห็นน๊อตตรงไหนท่ีมีลักษณะอื่น เราจะเปลี่ยนให้มันเหมือนกับน๊อตตัวอื่น เพื่อเราจะได้ไม่ต้องพกหลายขนาด
- ประแจ ขนาด 15 มม.สำหรับเอาบันไดออก
- คีมปากแบน ท่ีตรงกลางสามารถตัดสายเบรคหรือสายอื่น ๆ ได้
มีบางอย่างท่ีไม่ได้อยู่ในกระเป๋าคือท่ีงัด (อยู่ในกระเป๋าใต้เบาะท่ีนั่ง), ยางอะไหล่, เทป (พันอยู่ท่ีท่อนั่ง), สูบ (ติดอยู่ท่ีตัวเฟรม) และซี่ล้ออยู่ข้างในท่อนั่ง
ทั้งนี้และทั้งนั้น อะไหล่ท่ีเขียนมานี่บางอย่างไม่จำเป็นต้องพกพาไปด้วย ถ้าสถานท่ีท่ีเราจะไปทัวร์นั้นอยู่ใกล้เมืองไม่ได้ปั่นเข้าไปในท่ีท่ีวังเวงบนขุนเขาหาคลื่นสัญญาณโทรหาใครไม่ได้หรืออย่างในทะเลทรายท่ีพวกเราผจญกันมา หวังว่าลิสต์รายการข้างบนนี้จะมีประโยชน์นะค่ะสำหรับเพื่อน ๆ ท่ีอยากปั่นทัวร์ริ่งไกล ๆ ในเขตทุรกันดารเวิ้งว้างหามีประชากรไม่ ยังงัยก็แล้วแต่ก่อนจะออกเดินทางจักรยานควรจะอยู่ในสภาพท่ีเซอร์วิสเรียบร้อยแล้ว
ตอนนี้ต้นมีแค่ชุดประแจหกเหลี่ยม ที่งัดยาง ที่สูบลม สามอย่างที่ติดรถจกย. แค่นี้เองครับ (ยังไม่มีจังหวะไปหากาว แผ่นยางปะ เพิ่มเติ่มเลยครับ) 55555…..
ขอบคุณค่ะต้นท่ีเขียนมาเตือน พี่เวชลืมอีกตั้งหลายอย่างเข้าไปแก้ไขนิดหน่อยละช่วงท้าย ๆ แผ่นปะซื้อทิ้งไว้เดี๋ยวก็เสื่อม ท่ีพี่ยังมีอีกเยอะไม่ต้องเป็นห่วง อีกอย่างเราไม่ได้อยู่ในท่ีทุรกันดารแล้ว มีร้านจักรยานอยู่ทั่วไปไม่ต้องพกมาก
๑. ง่าย จากระหว่างหลวงพระบางกับวังเวียง มีภูเขาขวางอยู่ลูกหนึ่งคือ “ภูคูน” (ลุงเคยปั่นตั้งแต่ตืนเขาถึงยอดใช้เวลา ๑๒ ชั่วโมง) นอกนั้นก็ไม่มีอะไรหนักหนา แต่แว่ว ๆ ว่า มีเส้นทางเลี้ยงภูคูนด้วยหละ
๒. ยาก ในความยากนั้น ก็รู้ ๆ อยู่ มักมีสิ่งดี ที่บางคนชอบ
เข้าลาว ต้องการทราบเส้นทาง โทร.หาคุณหางแฮ่ม ชาวจักรยานไทย ทำงานอยู่ที่เวียงจันทน์ โทร.089-0414478 บอกลุงเนตรแนะนำ.
อ่านถึงของที่เก็บไว้ในท่อนั่ง ก็สรุปว่า จะให้เวชไปแข่งแพ็กของที่ญี่ปุ่นจัดแข่งสารพัดแชมเปี้ยนได้แล้ว 555555
รับรองได้รางวัลชนะเลิศ ไว้ไปถึงกรุงเทพฯ จะเอาจักรยานพร้อมสัมภาระไปโชว์ 555
ขอบคุณ เปนวิทยาทาน สำหรับ เทคนิค. อย่างไม่ต้องใช้ประแจถอดเฟืองตัวใหญ่ ใช้แค่เศษโซ่จับเฟืองแทน รวมแล้วน้อยกว่าท่ีผมคาดไว้อีก. เดินทางต่อปลอดภัยครับ
มิเปนไรค่ะ เป็นคำถามท่ีไม่ค่อยมีใครตั้งแต่ดีใจท่ีคุณแมวเซาถามมาไม่อย่างนั้นก็ไม่เคยคิดท่ีจะเอาออกมาเรียง อีกอย่างคือเพิ่มความรู้ให้ตัวเองด้วยค่ะ บางชิ้นเวชเพิ่งจะรู้ว่ามันอยู่ตรงส่วนไหนของจักรยาน 🙂